​พระราชบัญญัติ วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๕๖


พระราชบัญญัติ วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๕๖

หลายคนเคยถามผมและสงสัยว่าสังคมสงเคราะห์คืออะไร งานสังคมสงเคราะห์ เป็นงานที่สำคัญ อย่างยิ่งกับสังคม สังคมสงเคราะห์ สามารถนิยามได้หลายต่อหลายความหมาย สังคมสงเคราะห์เป็นการ นำศาสตร์และศิลป์ มาใช้ในการให้การช่วยเหลือหรือบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ที่ประสบปัญหาหรือได้รับความเดือดร้อน ซึ่งการช่วยเหลือของสังคมสงเคราะห์ เป็นการช่วยให้เหลือให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งหลายต่อ หลายคนคิดว่า เรียนไปทำงานอะไร จริงแล้วเราสามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชน และงานสังคมสงเคราะห์ยังมีกฎหมายคุ้มครอง มีใบประกอบอาชีพ ซึ่งการเรียนสังคมสงเคราะห์โอกาสตกงานนั้นน้อยมาก เพราะงานสังคมสงเคราะห์เป็นวิชาชีพเฉพาะด้าน เหมือน แพทย์ พยาบาล ที่เป็นวิชาชีพ เนื้อหาในวันนี้ผมจะนำเสนอในเรื่องของ พระราชบัญญัติ วิชาชีพ สังคมสงเคราะห์ เป็นเนื้อหาบางส่วนที่ผมหยิบยกมาเสนอให้ได้ทราบกันเบื้องต้น

เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ มกราคม ๒๕๕๖

พระราชบัญญัติ

วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๕๖

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสังคมสงเคราะห์

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ หน้า ๑ เล่ม ประกอบกับมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนญูแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๕๖”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

“วิชาชีพสังคมสงเคราะห์” หมายความว่า วิชาชีพที่ต้องใช้ความรู้และทักษะทางสังคมสงเคราะห์ ในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาของบุคคล ครอบครัว กลุ่มคน หรือชุมชน เพื่อให้กระทำหน้าที่ทางสังคมและดํารงชีวิตได้อย่างปกติสุข

“วิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต” หมายความว่า วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ที่ต้องขึ้นทะเบียน และได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์

“ผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์” หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพที่ต้องใช้ความรู้ และทักษะทางสังคมสงเคราะห์ในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาของบุคคล ครอบครัว กลุ่มคน หรือชุมชน เพื่อให้กระทำหน้าที่ทางสังคมและดํารงชีวิตได้อย่างปกติสุข “ผู้ประกอบวิชาชีพ สังคมสงเคราะห์รับอนุญาต” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต จากสภาวิชาชีพสงสังคมสงเคราะห์ “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาตของ สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ “ข้อบังคับ” หมายความว่า ข้อบังคับสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ “สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสภาวิชาาชีพ สังคมสงเคราะห์ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ และออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงและระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์

สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมมาตรฐาน จรรยาบรรณ ส่งเสริม และพัฒนาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือหรือบริการทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ให้สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์มีฐานะเป็นนิติบุคคลสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ สังคมสงเคราะห์รับอนุญาต (๒) กําหนดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ (๓) จัดทําหลักสูตรสําหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นที่สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์มอบหมายให้ดําเนินการฝึกอบรมในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ (๔) ออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต (๕) ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ รับอนุญาตสาขาต่าง ๆ

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันการปฏิบัติหน้าที่ ของนักสังคมสงเคราะห์ มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นและครอบคลมุไปหลายด้าน ประกอบกับมีกฎหมายหลายฉบับได้กําหนดหน้าที่ของนักสังคมสงเคราะห์ ในการปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน โดยเฉพาะผู้ประสบปัญหาใน การดํารงชีวิตให้สามารถกระทําหน้าที่ทางสังคมและดํารงชีวิต ได้อย่างปกติสุข สมควรให้มีองค์กรควบคุม การประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ในรูปของสภาวิชาชีพ เพื่อควบคุมมาตรฐานและจรรยาบรรณการประกอบ วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้และมาตรฐานการประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์มีคุณภาพและมาตรฐาน และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ จึงจําเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้

ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลบางส่วนที่ผมได้มานำเสนอ หากท่านใดสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลนี้เพิ่มเติมสามารถเข้าไปได้ที่แหล่งอ้างอิงด้านล่างได้เลยครับ

แหล่งอ้างอิง

http://support.thaicyberu.go.th/proceeding/swpc201...

หมายเลขบันทึก: 616525เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2016 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2016 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท