ผ้าขาวเปื้อนหมึก
กานนา สงกรานต์ กานต์ วิสุทธสีลเมธี

ปัญหาการใช้ภาษาไทยในนักเรียนชาวเขา


ปัญหาการใช้ภาษาไทยในนักเรียนชาวเขา

อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ บอกเป็นไทย ใครจะเชื่อ

การเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งให้นักเรียนได้มีความรู้และศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้ภาษาถิ่นในโรงเรียนจึงแพร่หลาย ดังนั้นครูที่สอนนักเรียนในท้องถิ่นที่มีภาษาถิ่นของตนเองในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ต้องตระหนักถึงการใช้ภาษาไทยมากกว่าเดิม เพราะมักพบปัญหานักเรียน พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยไม่คล่อง

ซึ่งที่ครูจะแก้ปัญหาได้ คือการนำหลักของภาษาศาตร์มาใช้ ครูต้องมีความเข้าใจเรื่อง เสียงในภาษา ฐานที่เกิดของเสียง เพื่อแก้ไขปัญหาอ่านออกเสียงเพี้ยน

เผยผลสำรวจปัญหาการใช้ภาษาไทยของคน ไทยพบว่าอยู่ในขั้นวิกฤต “เขียนผิด พูดผิด จับใจความผิด ฟังผิด อ่านผิด” ชี้กลุ่มวัยรุ่น ดารา นักแสดง นักร้อง นักการเมือง และสื่อมวลชน ต้นตอให้เกิดปัญหาการใช้ภาษาไทยเพี้ยน

นายนพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า 29 ก.ค. เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ศูนย์วิจัยฯ จึงได้ทำวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับวันภาษาไทยแห่งชาติ และปัญหาในการใช้ภาษาไทย : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวน 2,452 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 18-23 ก.ค.2551 ผลการสำรวจพบประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.1 ไม่ทราบว่าวันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันใด มีเพียงร้อยละ 9.9 ที่ทราบและตอบถูกว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 ก.ค.ของทุกปี

ครั้นถามว่าภาษาไทยมีพยัญชนะกี่ตัว พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.5 ทราบ และตอบได้ถูกต้องว่ามี 44 ตัว ในขณะที่ร้อยละ 21.5 ระบุไม่ทราบ ถามว่าภาษาไทยมีสระทั้งหมดกี่รูป พบว่าร้อยละ 86.7 ไม่ทราบ มีเพียงร้อยละ 13.3 เท่านั้นที่ระบุทราบและตอบว่ามี 21 รูป ขณะที่ร้อยละ 73.7 ไม่ทราบว่าภาษาไทยมีวรรณยุกต์กี่รูป มีเพียงร้อยละ 26.3 เท่านั้นที่รู้ว่ามี 4 รูป 5 เสียง นอกจากนี้ เมื่อถามถึงปัญหาการใช้ภาษาไทยที่ผู้ถูกศึกษามักจะประสบด้วยตนเอง พบว่า ร้อยละ 54.5 ระบุ เขียนผิด รองลงมาคือร้อยละ 27.2 ระบุ พูดผิด ร้อยละ 27.2 เท่ากันระบุ จับใจความ เข้าใจผิด ร้อยละ 20.2 ระบุ ฟังผิด และร้อยละ 19.1 ระบุ อ่านผิด ตามลำดับ

ทั้งนี้ กลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.5 ระบุกลุ่มวัยรุ่น รองลงมาคือร้อยละ 48.5 ระบุกลุ่มดารา นักแสดง ร้อยละ 34.6 ระบุกลุ่มนักร้อง ร้อยละ 31.8 ระบุกลุ่มนักการเมือง และร้อยละ 19.6 ระบุสื่อมวลชน เมื่อถามถึงรายการโทรทัศน์ที่ช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยได้อย่างดีในสายตา ประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ ร้อยละ 60.7 ระบุเป็นรายการคุณพระช่วย รองลงมาคือร้อยละ 18.3 ระบุเป็นรายการกระจกหกด้าน ร้อยละ 8.3 ระบุรายการชิงช้าสวรรค์

การแก้ไขปัญหาภาษาไทยเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงนี้ พบว่า ร้อยละ 89.8 ต้องเร่งแก้ไข ขณะที่ร้อยละ 10.2 ไม่ต้องเร่งแก้ไข และร้อยละ 23 ระบุควรมีรายการโทรทัศน์ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้มากขึ้น ร้อยละ 19 ระบุสอนวิชาภาษาไทยให้มากขึ้น ร้อยละ 18.4 ระบุอนุรักษ์การพูด การอ่านแบบไทยๆ ร้อยละ 15.6 ระบุจัดประกวดการใช้ภาษาไทย แข่งขันคัดลายมือ แข่งขันแต่งกลอน ร้อยละ 15 ระบุส่งเสริมการอ่าน การพูดภาษาไทยในสถาบันการศึกษา และร้อยละ 8.8 ระบุจัดการแข่งขันอ่านร้อยแก้ว ร้อยกรองระดับประเทศ ตามลำดับ

ปัญหาการใช้ภาษาไทย

ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า เนื่องในวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ถือได้ว่า ภาษาไทยเป็นทั้งวัฒนธรรม เอกลักษณ์และความภูมิใจของคนไทย ที่เคยวิจัยพบว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อความสุขของคนไทย

ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงได้ทำวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับวันภาษาไทยแห่งชาติ และปัญหา

ในการใช้ภาษาไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 2,452 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนิน

โครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 18-23 กรกฎาคม 2551 พบประเด็นแรกที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.1 ไม่ทราบว่า วันภาษา

ไทยแห่งชาติตรงกับวันใด มีเพียงร้อยละ 9.9 ที่ทราบและตอบถูกว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี

เมื่อถามประชาชนที่ถูกศึกษาว่า ภาษาไทยมีพยัญชนะกี่ตัว พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.5 ทราบและตอบได้ถูกต้องว่ามี 44 ตัว ในขณะที่

ร้อยละ 21.5 ระบุไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า ภาษาไทยมีสระทั้งหมดกี่รูป พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.7 ไม่ทราบ มีเพียงร้อยละ 13.3

เท่านั้นที่ระบุทราบและตอบว่ามี 21 รูป นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.7 ไม่ทราบว่า ภาษาไทยมีวรรณยุกต์กี่รูป ในขณะที่เพียงร้อยละ 26.3 เท่า

นั้นที่รู้ว่ามี 4 รูป 5 เสียง

ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.4 ไม่สามารถให้ความหมายของ ร้อยแก้ว ได้ว่าคืออะไร ในขณะที่เพียงร้อยละ 7.6 เท่านั้นที่บอก

ความหมายของ ร้อยแก้วได้ เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.6 ไม่สามารถบอกความหมายของ ร้อยกรอง ได้ว่าคืออะไร มีเพียงร้อยละ 10.4

เท่านั้นที่สามารถบอกความหมายของร้อยกรองได้

ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามว่าพยัญชนะในภาษาไทยตัวใดที่ชอบมากที่สุด พบว่า พยัญชนะที่ประชาชนชอบมากที่สุดหรือร้อยละ 29.3 ระบุเป็น

พยัญชนะ ก.ไก่ รองลงมาหรือร้อยละ 11.2 ระบุเป็น ส. เสือ อันดับสามหรือร้อยละ 7.8 ระบุเป็น ร.เรือ อันดับที่สี่ หรือร้อยละ 4.2 ระบุเป็น

อ.อ่าง และอันดับห้า หรือร้อยละ 3.2 ระบุเป็น ม.ม้า ตามลำดับ ส่วนร้อยละที่เหลือ ระบุพยัญชนะตัวอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม พยัญชนะในภาษาไทยที่ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกสับสนมากที่สุด คือร้อยละ 15.8 ระบุเป็น พยัญชนะ “ฎ” และร้อย

ละ 14.5 ระบุเป็น พยัญชนะ “ฏ” ในขณะที่รองๆ ลงมาคือ ร้อยละ 7.5 ระบุเป็น “ร” และ ร้อยละ 6.0 ระบุเป็น “ฬ” ร้อยละ 5.6 ระบุ

เป็น “ฐ” และร้อยละ 4.1 ระบุเป็น “ฑ” ตามลำดับ

นอกจากนี้ เมื่อถามถึงปัญหาการใช้ภาษาไทยที่ผู้ถูกศึกษามักจะประสบด้วยตนเอง พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.5 ระบุ เขียนผิด

รองลงมาคือร้อยละ 27.2 ระบุ พูดผิด ร้อยละ 27.2 เท่ากันระบุ จับใจความ เข้าใจผิด ร้อยละ 20.2 ระบุ ฟังผิด และร้อยละ 19.1 ระบุ อ่าน

ผิด ตามลำดับ

สำหรับ กลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.5 ระบุกลุ่มวัยรุ่น รองลงมาคือร้อย

ละ 48.5 ระบุ กลุ่มดารานักแสดง ร้อยละ 34.6 ระบุกลุ่มนักร้อง ร้อยละ 31.8 ระบุกลุ่มนักการเมือง และร้อยละ 19.6 ระบุสื่อมวลชน

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงรายการโทรทัศน์ที่ช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยได้อย่างดีในสายตาประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่

หรือร้อยละ 60.7 ระบุเป็นรายการคุณพระช่วย รองลงมาคือร้อยละ 18.3 ระบุเป็นรายการกระจกหกด้าน ร้อยละ 8.3 ระบุรายการชิงช้าสวรรค์

ร้อยละ 6.4 ระบุรายการถ้าคุณแน่อย่าแพ้ ป.4 ร้อยละ 5.6 ระบุรายการภาษาไทยวันละคำ และร้อยละ 5.0 ระบุรายการจดหมายเหตุกรุงศรี และ

ร้อยละ 10.7 ระบุรายการอื่นๆ เช่น เกมทศกัณฑ์ รายการทุ่งแสงตะวัน รายการคนค้นฅน และรายการกบนอกกะลา เป็นต้น

เมื่อถามถึงการแก้ไขปัญหาภาษาไทยเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.8 ระบุต้องเร่งแก้ไข

ในขณะที่ร้อยละ 10.2 ระบุไม่ต้องเร่งแก้ไข โดยร้อยละ 23.0 ระบุ ควรมีรายการโทรทัศน์ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้มากขึ้น รองลงมาคือร้อยละ

19.0 ระบุ สอนวิชาภาษาไทยให้มากขึ้น ร้อยละ 18.4 ระบุอนุรักษ์การพูด การอ่านแบบไทยๆ ร้อยละ 15.6 ระบุจัดประกวดการใช้ภาษาไทย แข่งขัน

คัดลายมือ แข่งขันแต่งกลอน ร้อยละ 15.0 ระบุส่งเสริมการอ่าน การพูดภาษาไทยในสถาบันการศึกษา และร้อยละ 8.8 ระบุจัดการแข่งขันอ่านร้อย

แก้ว ร้อยกรองระดับประเทศ ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน ยังกล่าวด้วยว่า สิ่งที่ทำให้คนไทยรู้สึกรักและต้องการรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย

ซึ่งพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.4 ระบุศิลปวัฒนธรรม รองลงมาคือร้อยละ 61.7 ระบุ ภาษาไทย ร้อยละ 59.6 ระบุ การช่วยเหลือมีน้ำใจต่อกัน

ร้อยละ 53.8 ระบุความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ ร้อยละ 53.5 ระบุ การเคารพผู้อาวุโส ร้อยละ 53.1 ระบุความรักชาติ ร้อยละ 51.9 ระบุความ

สามัคคี ในขณะที่ร้อยละ 43.5 ระบุการให้อภัย และร้อยละ 28.4 ระบุความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษและกฎแห่งกรรมตามลำดับ

ดร.นพดล กรรณิกา กล่าวต่อว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการใช้ภาษาไทยกำลังอยู่ในขั้นวิกฤต เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักภาษา

ไทยได้ดีพอ ไม่รู้ว่ามีสระ และ วรรณยุกต์ของภาษาไทยกี่รูป กี่เสียง คนไทยจำนวนมากยังเขียนภาษาไทยผิด พูดผิด จับใจความผิด ฟังผิด อ่านผิด และ

ที่สำคัญคือ กลุ่มคนที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการใช้ภาษาไทยคือกลุ่มวัยรุ่น ดารา นักแสดง นักร้อง นักการเมือง และสื่อมวลชน ประชาชนโดยส่วนใหญ่

ต้องการให้แก้ไขปัญหา และอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในกลุ่มประชาชนอย่างเร่งด่วนโปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวันภาษาไทยและภาษาไทยของประชาชน

2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาในการใช้ภาษาไทย

3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นสำคัญอื่นๆ เกี่ยวกับวันภาษาไทยและการใช้ภาษาไทย

4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยว กับวันภาษา

ไทยแห่งชาติและปัญหาในการใช้ภาษาไทย:กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ

สำรวจในระหว่างวันที่ 18-23 กรกฎาคม 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากร

เป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้น

ภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,452

ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ใน

การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบ

ถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 97 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 50.6 ระบุเป็นหญิง

ในขณะที่ร้อยละ 49.4 ระบุเป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.2 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 24.3 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี

ร้อยละ 29.3 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี

ร้อยละ 21.3 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี

และร้อยละ 15.9 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 77.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี

ร้อยละ 20.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

ร้อยละ 1.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 30.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 25.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 15.4 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.3 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 8.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 6.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ในขณะที่ร้อยละ 4.5 ไม่ระบุอาชีพ

ทั้งนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 16.8 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 38.9 ระบุมีรายได้ 5,001—10,000 บาท

ร้อยละ 11.2 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท

ร้อยละ 7.5 ระบุมีรายได้ 15,001—20,000 บาท

ร้อยละ 8.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน

และร้อยละ 17.0 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ

ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบเกี่ยวกับวันภาษาไทย

ลำดับที่ การทราบเกี่ยวกับวันภาษาไทย ค่าร้อยละ

1 รับทราบว่า คือ วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี 9.9

2 ไม่ทราบ 90.1

รวมทั้งสิ้น 100.0

ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย

ลำดับที่ องค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย ทราบค่าร้อยละ ไม่ทราบค่าร้อยละ

1 พยัญชนะไทย 78.5 21.5

2 สระในภาษาไทย 13.3 86.7

3 วรรณยุกต์ในภาษาไทย 26.3 73.7

4 ความหมายของร้อยแก้ว 7.6 92.4

5 ความหมายของร้อยกรอง 10.4 89.6

ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพยัญชนะในภาษาไทยที่ชอบมากที่สุด (ตอบได้เพียงตัวเดียว)

ลำดับที่ พยัญชนะในภาษาไทยที่ชอบมากที่สุด ค่าร้อยละ

1 พยัญชนะ “ก” 29.3

2 พยัญชนะ “ส” 11.2

3 พยัญชนะ “ร” 7.8

4 พยัญชนะ “อ” 4.2

5 พยัญชนะ “ม” 3.2

6 พยัญชนะ “น” 3.1

7 พยัญชนะ “จ” 2.7

8 พยัญชนะ “ง” 2.6

9 พยัญชนะ “ท” 2.6

10 พยัญชนะ “ธ” 2.6

11 พยัญชนะอื่นๆ 30.7

รวมทั้งสิ้น 100.0

ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพยัญชนะในภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด

ลำดับที่ พยัญชนะในภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด ค่าร้อยละ

1 พยัญชนะ “ฎ” 15.8

2 พยัญชนะ “ฏ” 14.5

3 พยัญชนะ “ร” 7.5

4 พยัญชนะ “ฬ” 6.0

5 พยัญชนะ “ฐ” 5.6

6 พยัญชนะ “ฑ” 4.1

7 พยัญชนะ “ฅ” 3.9

8 พยัญชนะ “ฒ” 3.3

9 พยัญชนะ “ศ” 3.0

10 พยัญชนะ “ฌ” 2.8

11 พยัญชนะ “ซ” 2.6

12 พยัญชนะ “ส” 2.6

13 พยัญชนะอื่นๆ 31.3

รวมทั้งสิ้น 100.0

ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาการใช้ภาษาไทยที่มักจะประสบพบเจอ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่ ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่ตนเองมักจะประสบพบเจอ ค่าร้อยละ

1 เขียนผิด 54.5

2 พูดผิด 27.2

3 จับใจความ เข้าใจผิด 27.2

4 ฟังผิด 20.2

5 อ่านผิด 19.1

6 อื่นๆ ได้แก่ ภาษาวิบัติ/พูดเหมือนลิ้นพันกัน/พูดภาษาไทยสำเนียงต่างประเทศ 1.7

ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่ กลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ค่าร้อยละ

1 กลุ่มวัยรุ่น 77.5

2 ดารานักแสดง 48.5

3 นักร้อง 34.6

4 นักการเมือง 31.8

5 สื่อมวลชน 19.6

6 ผู้ดำเนินรายการวิทยุ 16.6

7 พิธีกรรายการโทรทัศน์ 14.1

8 ผู้ประกาศข่าว 11.5

9 ครูอาจารย์ 8.0

ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายการโทรทัศน์ที่ช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยได้อย่างดี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่ รายการโทรทัศน์ที่ช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยได้อย่างดี ค่าร้อยละ

1 รายการคุณพระช่วย (ช่อง 9) 60.7

2 รายการกระจกหกด้าน (ช่อง 7) 18.3

3 รายการชิงช้าสวรรค์ (ช่อง 9) 8.3

4 รายการถ้าคุณแน่อย่าแพ้ ป. 4 (ช่อง 3) 6.4

6 รายการจดหมายเหตุกรุงศรี (ช่อง 7) 5.0

7 อื่นๆ อาทิ รายการเกมทศกัณฑ์ /รายการทุ่งแสงตะวัน /รายการคนค้นฅน /รายการกบนอกกะลา 10.7

ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้

ลำดับที่ การเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้ ค่าร้อยละ

1 ต้องเร่งแก้ไข 89.8

2 ไม่ต้องเร่งแก้ไข 10.2

รวมทั้งสิ้น 100.0

ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมที่จะช่วยรณรงค์ให้คนไทยหันมานิยมใช้ภาษาไทยและใช้ได้อย่างถูกต้อง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่ กิจกรรมที่จะช่วยรณรงค์ให้คนไทยหันมานิยมใช้ภาษาไทยและใช้ได้อย่างถูกต้อง ค่าร้อยละ

1 มีรายการโทรทัศน์ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้มากขึ้น 23.0

2 สอนวิชาภาษาไทยให้มากขึ้น/จัดอบรมเพื่อแบ่งปันความรู้ทางภาษา 19.0

3 อนุรักษ์การพูด-การอ่านแบบไทยๆ 18.4

4 จัดประกวดการใช้ภาษาไทย/แข่งขันคัดลายมือไทย /แข่งขันแต่งกลอน 15.6

5 ส่งเสริมการอ่าน-การพูดแบบไทยในโรงเรียน/สถานศึกษา 15.0

6 จัดการแข่งขันการอ่านร้อยแก้ว-ร้อยกรอง/การท่องอาขยานระดับประเทศ 8.8

7 สนับสนุนการร้อง-ฟังเพลงไทยเดิม หรือเพลงไทยลูกทุ่ง 7.2

8 อื่นๆ อาทิ บังคับให้วิชาภาษาไทยเป็นวิชาบังคับจนถึงระดับปริญญาตรี/การจัดเวทีสาธารณะ

เกี่ยวกับภาษาไทย/การจัดเข้าค่ายภาษาไทย 7.2

ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ทำให้รู้สึกรักและต้องการรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย

(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่ สิ่งที่ทำให้รู้สึกรักและต้องการรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย ค่าร้อยละ

1 ศิลปวัฒนธรรม 65.4

2 ภาษาไทย 61.7

3 การช่วยเหลือ มีน้ำใจต่อกัน 59.6

4 ความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ 53.8

5 การเคารพผู้อาวุโส 53.5

6 ความรักชาติ 53.1

7 ความสามัคคี 51.9

8 การให้อภัย 43.5

9 ความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษและกฎแห่งกรรม 28.4

บทความ

เรื่อง ปัญหาการใช้ภาษาไทยของครูและนักเรียน

ในวิถีแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารไร้พรมแดน ท่ามกลางสังคมที่มีค่านิยมยอมรับนับถือวัตถุมากกว่าคุณค่าของจิตใจนั้น หลายๆสิ่งกำลังเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่มีขีดจำกัด ในขณะที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังดำดิ่งลงสู่ห้วงเหวแห่งหายนะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็คือ ความเป็นไทยและภาษาไทย ภาษาชาติของเรานั่นเอง ที่กำลังถูกค่านิยมของคนรุ่นใหม่รุกรานจนแทบไม่หลงเหลือเค้าเดิมอยู่เลย

ปัญหาการใช้ภาษาไทยนั้นเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆจนในขณะนี้ลุกลามไปทุกหย่อมหญ้า แม้แต่ในสถานศึกษาอันเป็นแหล่งหล่อหลอมความรู้ก็มิได้ละเว้น ภาษาไทยกลายเป็นวิชาที่น่าเบื่อของผู้เรียน และสุดท้ายผู้เรียนจึงได้รับความรู้แบบงูๆปลาๆที่จะนำไปใช้ต่อไปอย่างผิดๆ หากเราจะแยกปมปัญหาการใช้ภาษาไทยในโรงเรียนนั้น สามารถแยกเป็นประเด็นใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเด็น คือ

๑.ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจาก ครู เนื่องจากครู คือ ผู้ประสาทวิชา เป็นผู้ให้ความรู้แก่ศิษย์ ดังนั้นความรู้ในด้านต่างๆ เด็กๆจึงมักจะได้รับมาจากครูเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ครูบางคนนั้นมีความรู้แต่ไม่แตกฉาน โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความละเอียดอ่อน และมีส่วนประกอบแยกย่อยอย่างละเอียดลออ เมื่อครูไม่เข้าใจภาษาไทยอย่างกระจ่าง จึงทำให้นักเรียนไม่เข้าใจตามไปด้วย จนในที่สุดพาลเกลียดภาษาไทยไปในที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นอยู่มากมายในปัจจุบัน

ความเป็นครูนั้น แน่นอนการสอนย่อมสำคัญที่สุด ครูบางคนมีความรู้อยู่ในหัวเต็มไปหมดแต่กลับสอนไม่เป็น ซึ่งครูส่วนใหญ่มิได้ยอมรับปัญหานี้ บางคนสักแต่ว่าสอน แต่ไม่เข้าใจเด็กว่าทำอย่างไร อธิบายอย่างไร เด็กซึ่งเปรียบเสมือนผ้าข้าวนั้นจะซึมซับเอาความรู้จากท่านไปได้มากที่สุด การทำความเข้าใจเด็กจึงเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญไม่แพ้ภูมิความรู้ที่มีอยู่ในตัวครูเลย ครูจึงควรหันกลับมายอมรับความจริง และพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเองให้เหมาะสมกับที่เป็นผู้รู้ที่คนทั่วไปยอมรับนับถือ

๒. ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากนักเรียน ในสังคมยุคไซเบอร์ ซึ่งสามารถเข้าไปใช้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ทุกภาคส่วน “ เด็ก” ซึ่งเป็นวัยที่อยากรู้อยากลองจึงมิได้ให้ความสนใจเพียงแค่การศึกษาค้นคว้าข้อมูลการศึกษาเท่านั้น หากแต่สนใจกับภาคบันเทิงควบคู่ไปด้วย และโดยแท้จริงแล้ว มักจะให้ความสำคัญกับประเด็นหลังมากกว่าการค้นคว้าความรู้เสียด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กนั้นเป็นปมปัญหาสำคัญยิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตนั้นเริ่มลุกลามมาจากโปรแกรมแชทรูมและเกมออนไลน์ ซึ่งดูคล้ายเป็นการสนทนากันธรรมดา แต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสแล้ว มิใช่เลย การสนทนาอันไม่มีขีดจำกัดของภาษาทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ดังเช่นที่พบตามหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน และในขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาให้แก่วงการภาษาไทยด้วย นั่นคือการกร่อนคำ

และการสร้างคำใหม่ให้มีความหมายแปลกไปจากเดิม หรืออย่างที่เรียกว่าภาษาเด็กแนวนั่นเอง ดังจะขอยกตัวอย่าง ดังนี้

สวัสดี เป็น ดีครับ ดีค่ะ

ใช่ไหม เป็น ชิมิ

โทรศัพท์ เป็น ทอสับ

กิน เป็น กิง

จะเห็นได้ว่าคำเหล่านี้ถูกคิดขึ้นและใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเหตุผล ๒ ประการ คือ เพื่อให้ดูเป็นคำที่น่ารัก และพิมพ์ง่ายขึ้น โดยที่ผู้ใช้ไม่คำนึงถึงว่า นั่น คือการทำลายภาษาไทยโดยทางอ้อม เพราะหลายๆคนนำคำเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวันเสียด้วยซ้ำ ดังจะเห็นได้ว่า เด็กบางคนนำภาษาเหล่านี้มาใช้ในโรงเรียนจนแพร่หลาย นั่นคือความมักง่ายที่นำพาความหายนะมาสู่วงการภาษาไทยที่ไม่ควรมองข้าม

ปัญหาการใช้ภาษาไทยเป็นปัญหาที่ลุกลามใหญ่โตกลายเป็นไฟลามทุ่งอยู่ทุกวันนี้ หากไม่ได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ภาษาไทยอันถือเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทยนี้อาจจะบอบช้ำเสียจนเกินเยียวยา การปลูกฝังจิตสำนึกและความตระหนักแก่ทุกคนในชาติจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะทุกสิ่งที่มนุษย์ยึดถือปฏิบัติล้วนมาจากจิตสำนึกทั้งสิ้น เมื่อกระทำได้ดังนี้แล้ว ไม่ว่าวิถีชีวิตแบบไหน หรือค่านิยมสมัยใหม่ประเภทใดก็ไม่สามารถทำลายภาษาไทยของเราได้อย่างแน่นอน

ระบบเสียงในภาษาไทย

ระบบเสียงในภาษาไทย แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ เสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ เสียงสระ หรือเสียงแท้ คือเสียงที่เปล่งโดยให้ลมออกทางช่องปาก และไม่กระทบหรือถูกปิดกั้น จากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง ในช่องปาก เสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น

1.1 สระแท้หรือสระเดี่ยว มี 18 เสียงดังนี้

ระดับลิ้น (ปลายลิ้น ) สระหน้า (กลางลิ้น) สระกลาง (โคนลิ้น) สระหลัง

ระดับสูง อิ อี อึ อื อุ อู

กลางสูง เอะ เอ เออะ เออ โอะ โอ

กลางต่ำ แอะ แอ - - เอาะ ออ

ต่ำ - - อะ อา - -

1.2 สระเลื่อน หรือ สระประสม มี 3 เสียงดังนี้ สระเอีย (= อี + อา) สระ เอือ (= อือ + อา) และสระ อัว (= อู + อา) สระประสมเกิดจากการเลื่อนของลิ้น ในระดับสูง ลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" ในบางตำรา จะเพิ่มสระเลื่อนเสียงสั้น มักเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติ หรือไม่ ก็เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น เช่น ผัวะ ยัวะ เปรี๊ยะ เกี๊ยะ เจี๊ยะ

1.3 สระเกิน คือสระที่มีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วย ไม่จัดว่าเป็นสระที่แท้จริง คือ ฤ(=ร+อึ) ฤา(=ร+อื) ฦ (=ล+อื) อำ (=อะ+ม) ไอ ใอ (=อะ+ย)

เอา (=อะ+ว)

ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องเสียงสระ

1. เสียงสระสั้น - ยาวของเสียงสระเดี่ยว สามารถแยกความหมายของคำให้แตกต่างกัน เช่น มิด - มีด, เข็ด - เขต, อึด - อืด, อุด - อูฐ, หด - โหด

2. ฤ ฤา ฦ ฦา อำ ไอ ใอ เอา ถือเป็นสระเกิน คือสระที่มีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วย ดังนั้น สระเกินเหล่านี้ จึงไม่สามารถมีตัวสะกดได้อีก

3. เมื่อประสมคำเข้ากันแล้ว รูปสระอาจจะลดรูปหรือเปลี่ยนรูปได้ เช่น

• ลดรูปวิสรรชนีย์ (สระอะ) เช่น อนุชา พนักงาน ณ ธ

• เปลี่ยนรูปวิสรรชนีย์เป็นไม้ผัด (ไม้หันอากาศ) เมื่อมีตัวสะกด เช่น กัก กัด กัน และเป็นตัว ร หัน เช่น สรร สวรรค์

• เปลี่ยนรูปสระออ ในบางคำ เช่น บ่ จรลี ทรกรรม พร กร (ส่วนมากเป็น ตัว ร สะกด)

• เปลี่ยนรูปสระเอะ แอะ เป็นไม้ใต่คู้ เช่น เล็ก เก็ง แข็ง บางคำเพียงแต่ลดรูป เช่น เพชร เป็นต้น

• ลดรูปสระโอะ เช่น คน กก กง กด กบ ลด นก จด ขด นนท์

• เปลี่ยนรูปสระเอาะ โดยใช้ตัว อ กับไม้ใต่คู้แทน เช่น ล็อคเกต หรือเพียง แต่ลดรูป เช่น นอต เป็นต้น

• เปลี่ยนรูปสระเออ เป็นรูปสระอิแทนรูป อ เช่น เกิน เริง เชิด เพลิง

• ลดรูป อ ในสระเออ ในคำที่สะกดด้วยแม่เกย เช่น เกย เขย เคย (ปัจจุบัน ยังมีคำที่เขียนเต็มรูปอยู่บ้าง เช่น เทอม เทอญ เป็นต้น)

• ลดรูปไม่ผัดในสระ อัว ในคำที่มีตัวสะกด เช่น ควง ขวด เพราะฉะนั้น เวลาพิจารณาเรื่องเสียงสระ ต้องไม่ลืมนึกถึงการลดรูป หรือเปลี่ยนรูปสระด้วย

• เสียงสระบางเสียงใช้รูปสระแทนได้หลายรูป เช่น เสียง ไอ อาจเขียน ใน ไน นัย ทำให้ความหมายต่างกัน

• เสียงสระบางเสียงใช้อักษรแทนได้หลายรูปเช่น เสียง อำ อาจเขียน ทำ ธรรม

ตำแหน่งของเสียงพยัญชนะ ปรากฏได้ใน 2 ตำแหน่ง คือ

1. ตำแหน่งต้นคำ พยัญชนะทุกเสียงในภาษาไทยปรากฏในตำแหน่งต้นคำ โดยปรากฏเพียงตัวเดียวเช่น สวน อ่าง หู และปรากฏ 2 เสียง คือควบเสียง / ร /

/ ล // ว / เป็นเสียงควบกล้ำ เช่น กราด กลาด กวาด

2. ตำแหน่งพยางค์ท้าย เสียงพยัญชนะที่ปรากฏในตำแหน่งพยางค์ท้าย 8 เสียง ได้แก่ / ป / - แม่กบ / ต / - แม่กด / ก / - แม่กก / ง / - แม่กง / น / - แม่กน / ม / - แม่กม / ย / - แม่เกย / ว / - แม่เกอว

พยัญชนะไทยมีทั้งหมด 21 เสียง และแทนด้วยตัวอักษรถึง 44 รูป ในระบบเขียนจึงมักเกิดปัญหาว่า จะใช้อักษรตัวไหนเขียนแทนเสียงนั้น ๆ หากไม่รู้ความหมายเสียก่อน

พยัญชนะต้น

• เสียง / ข / มีรูป ข ค ฆ เช่น ไข่ คน เฆี่ยน

• เสียง / ช / มีรูป ฉ ช ฌ เช่น ฉาน ชาน ฌาน

• เสียง / ถ / มีรูป ฐ ฒ ถ ท ธ (ฑ ในบางคำ) เช่น ฐาน เฒ่า ถุง ท่าน ธง มณโฑ

ตัวสะกด

มาตราแม่ กก ใช้ ก ข ค ฆ สะกดได้ เช่น โกรก เลข อัคนี เมฆ

มาตราแม่ กง ใช้ ง สะกด เช่น หมาง ยุง

มาตราแม่ กด ใช้ จ ฎ ฏ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ ซ ส ศ ษ สะกดได้แก่ อัจฉรา บงกซ กฎ ปรากฏ

มาตราแม่ กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ สะกดได้แก่ กัน กัญญา ญาณ

มาตราแม่ กบ ใช้ บ ป พ ฟ ภ สะกดได้แก่ อบ บาป

มาตราแม่ กม ใช้ ม สะกด เช่น กรรม

มาตราแม่ เกย ใช้ ย สะกด เช่น ขวย รวย

มาตราแม่ เกอว ใช้ ว สะกด เช่น วาว

รูปพยัญชนะที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกดเลย คือ ฉ ฌ ผ ฝ อ ห ฮ

ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องเสียงพยัญชนะ

1. เสียงพยัญชนะมี 21 เสียง แต่แทนด้วยรูปพยัญชนะ 44 รูป จึงมีปัญหาเกี่ยวกับการเขียน

2. รูปพยัญชนะมีลักษณะผูกพันกับเสียงวรรณยุกต์ การที่เราจัดอักษรสูง กลาง ต่ำ แสดงว่า ตัวพยัญชนะของเรา เมื่อผสมสระแล้ว จะเกิดเสียงวรรณยุกต์ติดตามมา

3. รูปพยัญชนะบางตัวไม่ออกเสียง

• พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับ เช่น สงฆ์ วงค์ จันทร์

• พยัญชนะที่ตามหลังพยัญชนะสะกดบางคำ เช่น สมุทร พุทธ

• ร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอักษรควบไม่แท้ เช่น ทรง ทราบ ทรวง เสด็จ

• ร หรือ ห ที่นำหน้าพยัญชนะสะกดบางคำ เช่น ปรารถนา พรหม

• ห หรือ อ ที่นำอักษรเดี่ยว เช่น หลาย หลาก อย่า อยู่

4. ตัวอักษรเรียงกัน 2 ตัว บางครั้งออกเสียงควบ บางครั้งออกเสียง สระแทรก เช่น จมปลัก ปรักหักพัง

5. ตัว "ว" ทำหน้าที่ได้หลายอย่าง เช่น สระอัว เช่น กลัว รวย

• พยัญชนะควบ เช่น ควาย ขวาด พยัญชนะต้น วูบ วาบ

• อักษรนำ เช่น หวั่น ไหว พยัญชนะท้าย เช่น ราว ร้าว

6. เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี คือ เสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ที่เปล่งออกมาพร้อมกับเปล่งเสียง สระเสียง ต่ำนี้ ทำให้ความหมายต่างกัน เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย มี 5 เสียง คือ สามัญ เอก โท ตรี และจัตวา

ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องเสียงวรรณยุกต์

คำไทยบางคำออกเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ หรือมีเสียงวรรณยุกต์แต่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ มีหลักสังเกต คือ

1. คำที่ออกเสียงไม่ตรงรูปวรรณยุกต์ คือ อักษรต่ำ คำเป็นและคำขยาย ถ้ามีรูปวรรณยุกต์ เอก

จะออกเสียงเป็นเสียงโท และถ้ามีรูปวรรณยุกต์ โท จะออกเสียงเป็นเสียงตรี

2. คำที่ออกเสียงวรรณยุกต์ แต่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ คือ คำที่เป็นพื้นเสียงของอักษรทั้ง 3 หมู่ ได้แก่

• อักษรสูง คำเป็น พื้นเสียงจัตวา คำตายพื้นเสียง เอก

• อักษรต่ำ คำเป็น พื้นเสียงสามัญ คำตายเสียงยาว พื้นเสียงโท

บรรณานุกรม

อกสารอ้างอิง

ทองใบ สุดชารี. (2542). วิเคราะห์แนวความคิด ทฤษฎี และการประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี :

สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

ธิติภพ ชยธวัช. (2548). แม่ไม้บริหาร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ซี.พี. บุ๊ค แสตนดาร์ด.

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2542). การสื่อสารรณรงค์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมนุษย์เน้นการ

เจาะจงกลุ่ม. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์รั้วเขียว.

นิตยา เงินประเสริฐศรี. (2544). ทฤษฎีองค์การ : แนวการศึกษาเชิงบูรณาการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์.

พัชรี เชยจรรยา และคนอื่น ๆ. (2541). แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.

ระวีวรรณ ประกอบผล. (2540). “องค์ประกอบและกระบวนการของการสื่อสาร” ใน เอกสารการสอน

ชุดวิชา หลักและทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 1 – 8. หน้า 134 – 140. พิมพ์ครั้งที่ 13. นนทบุรี :

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานุกรม พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

วันชัย มีชาติ. (2548). พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2547). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เพียร์สัน

เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

วิโรจน์ โสวัณณะ. (2545). คู่มือสู่ความสำเร็จอันไร้ขอบเขต. กรุงเทพฯ : สำนักงานนิตยสารโลกทิพย์.

เสนาะ ติเยาว์. (2538). การสื่อสารในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โอภส์ แก้วจำปา. (2547). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

นายนพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

สุจิตราภรณ์ จุสปาโล มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

หมายเลขบันทึก: 616490เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2016 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2016 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท