ประสิทธิผลของการลงทุนในนวัตกรรม



การลงทุนลงแรงไปกับการผลักดันนวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักภาพทางการแข่งขันแก่องค์กรนั้น เป็นที่ตอบได้ยากว่าผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ไม่ว่าจากยอดขาย ส่วนแบ่งทางการตลาด เสียงตอบรับของลูกค้า หรืออื่นๆ เป็นผลมาจากอุตสาหะของการสร้างนวัตกรรมหรือไม่ ซึ่งคงจะต้องวิเคราะห์กันในรายละเอียดของแต่ละองค์กรกันเอาเอง แม้ว่าจะมีแนวโน้มที่จะมีปัจจัยร่วมกันอยู่บ้างก็ตาม แต่แนวคิดหนึ่งที่คิดขึ้นจากการทำโครงการวิจัย ก็คือการพิจารณาสมรรถนะหรือระดับของความเป็นองค์กรนวัตกรรมร่วมกับประสิทธิผลของการดำเนินธุรกิจ ซึ่ง ROE หรือผลตอบแทนในส่วนของผู้ถือหุ้น ดูจะมีความหมาะสมและให้ความหมายนัยะได้ดี จากนั้น ก็อาจจะคิดต่อยอดไปถึงการแบ่ง Quadrant จัดกลุ่มว่าองค์กร อยู่ในกลุ่มใด โดยอาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่่

Quadrant 1: High Innovation Capability – High ROE (Hi-Hi)

Quadrant 2: Low Innovation Capability – High ROE (Lo-Hi)

Quadrant 3: High Innovation Capability – Low ROE (Hi-Lo)

Quadrant 4: Low Innovation Capability – Low ROE (Lo-Lo)

อ้างอิง : http://www.thanakrit.net/innovation-investment-cap...

หมายเลขบันทึก: 616344เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2016 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2016 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท