สุขภาวะ


“ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคล หรือประชาคมเหล่านี้ ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข

  1. ผู้สูงวัยติดเตียงยากจน มีปัญหากลืนลำบาก หกล้อมจนปวดหลังรุนแรง และไม่มีคนดูแล

ผู้ป่วยติดเตียง คือ เป็นผู้ป่วยที่จะนอนบุคคลที่มีความเจ็บป่วยและต้องนอนอยู่ในเตียงหรือบนที่นอนตลอดเวลา ในการพัฒนาศักยภาพสิ่งแรกที่คำนึงถึง คือ การให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยเพราะเขาจะมีความกังวลที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องเป็นภาระของคนอื่น ยิ่งผู้ป่วยมีปัญหาความยากจน จะต้องให้กำลังใจ พูดคุยให้เขารู้สึกว่า เขาไม่ได้เป็นภาระของครอบครัว และหาทางติดต่อกับชุมชน ให้มี รพ.สต. มาดูแลเพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ป่วยรวมทั้งการรักษาด้วย

ปัญหาการกลืน ควรได้รับการดูแลจากนักกิจกรรมบำบัดระยะแระผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอจากนักกิจกรรมบำบัด เพื่อให้สามารถกลืนอย่างปลอดภัย ถ้าหากอยู่ห่างไกลหรือมีความลำบากในการไปพบนักกิจกรรมบำบัด หลังจากนั้น ควรให้ เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. มาดูแลและประสานงานกับนักกิจกรรมบำบัด

หกล้มจนปวดรุนแรงและไม่มีคนดูแลจากปัญหาขาดคนดูแลอย่างใกล้ชิด และความยากจนอาจเป็นเหตุผลให้ผู้ป่วยต้องการที่จะทำอะไรได้ด้วยตัวเอง จึงฝืนร่างกายจนหกล้ม ดังนั้น ในการพัฒนาศักยภาพ อันดับแรกควรดูแลเรื่องสถานที่สำหรับผู้ป่วยควรเป็นห้องที่มีความปลอดภัยมีความสะอาด มีแสงสว่าง อากาศถ่ายเท สามารถจะได้ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอึดอัด และเรื่องผู้ดูแล หากไม่มีคนดูแลจะต้องฝึก และหาอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นได้อย่างปลอดภัย

2. วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่ผู้สูงวัยเลี้ยงดู

การพัฒนาศักยภาพในผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า สิ่งสำคัญ คือ ครอบครัวจะต้องให้กำลังใจ ให้เขามองโลกในแง่บวก ปัญหาตกงานอาจมาจากหางานไม่ได้จริงๆ หรือเลือกงาน ผู้บำบัดต้องพูดคุยให้ทราบถึงปัญหาที่แท้จริงเพื่อที่จะได้แก้ไขได้ตรงจุด หากตกงานเพราะเลือกงาน ก็พูดคุยให้เขายอมรับกับงานถึงแม้จะเป็นงานที่เงินเดือนน้อย อาจไม่ตรงกับสายที่จบมา อาจไม่มีหน้าไม่มีตา แต่ก็ทำให้เขามีรายได้บ้าง หากตกงานเพราะหางานไม่ได้จริงๆก็พูดคุยไม่ให้เขารู้สึกไม่ไร้คุณค่า ให้เขาหากิจกรรมที่สนใจทำเพื่อที่จะได้ดึงความสนใจไม่ให้คิดกังวลอยู่กับปัญหาการตกงาน ส่งเสริมทักษะที่เขาถนัด หากสามารถทำได้ดี เช่น งานฝีมือ ก็อาจจะนำมาเป็นอาชีพ และทำให้เขาหารายได้ได้

3.วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผลัดวันปะกันพรุ่ง และติดเกม

อันดับแรกจะต้องรู้สาเหตุของการไม่ไปโรงเรียนอาจจะสอบถามจากตัววัยรุ่นเองหรือ จากครอบครัว เพื่อน ครูอาจารย์ เมื่อทราบสาตุก็จะได้แก้ไขได้ตรงจุดว่าสาเหตุมาจากตัวของเขาเองหรือสิ่งแวดล้อม และพูดคุยให้เขาเห็นความสำคัญของการเรียน และส่งเสริมในด้านที่เค้ามีทักษะและพัฒนาในส่วนที่ด้อย เพื่อที่จะทำให้เขาอยากไปโรงเรียน อยากเรียน

อาการย้ำคิดย้ำทำ จะต้องทราบประวัติว่าสาเหตุเกิดจากอะไร อาจเกิดจากในด้านการทำงานของสมอง ในด้านระบบประสาทสื่อนำประสาท หรือในด้านพันธุกรรม และหาทางรักษาโดยการไปพบจิตแพทย์ เพราะหากเขามีอาการย้ำติดย้ำทำ จนส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันก็จะทำให้เขาไม่อยากทำกิจกรรมนั้นๆ และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการไม่อยากไปโรงเรียน ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิดและให้มีท่าทีที่เป็นปกติต่อเขา ไม่ต่อว่า เนื่องจากอาจทำให้เครียด และยิ่งกระตุ้นให้อาการเป็นมากขึ้นได้

ผลัดวันประกันพรุ่ง(student syndrome) เป็นโรคอย่างหนึ่ง คือจะมีลักษณะของการผัดวันประกันพรุ่งอย่างชัดเจน แม้ว่าอาการจะก่อให้เกิดผลเสีย แต่ส่วนมากต้นเหตุก็ไม่ได้มาจากความคิดเลวร้าย เขาจะเลื่อนการทำงานที่รับผิดชอบอยู่ออกไปเรื่อยๆจนนาทีสุดท้าย โดยมีข้ออ้างต่างๆนานา ในการพัฒนาเราจะต้องพูดคุยให้ทราบถึงสาเหตุของการกระทำ และแนะนำให้แบ่งงาน ที่จะทำ เรียงลำดับความสำคัญอันไหนควรทำก่อน ให้เขาทบทวนตัวเองในแต่ละวันว่า วันนี้ทำอะไรเสร็จแล้วบ้าง ให้จดบันทักไว้ และให้ลงมือทำตามตารางที่ตั้งไว้ หากปล่อยไว้จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย เช่น ไม่สามารถที่จะทำงานให้เสร็จได้ ไม่มีการวางแผนในชีวิต

ติดเกม จะต้องทราบถึงสาเหตุของการติดเกมว่าเขาติดเกมเพราะอะไรเช่น ขาดการควบคุมตนเอง ผู้ปกครองไม่มีเวลาให้ ปล่อยประละเลย หรือเพื่อนชักชวน สิ่งสำคัญที่สุดคือผู้ปกครองจะต้องดูแลใกล้ชิด มีการพูดคุยสร้างความสนิทสนมกับเขา หากิจกรรมอื่นๆให้ทำเพื่อที่จะเบี่ยงเบนความสนใจเขาให้ไม่เข้าร้านเกม มีการตั้งกฎกติกา ไม่ควรดุด่า แต่ควรใช้เหตุผลในการพูดคุย หากไม่สารมารถแก้ปัญหานี้ได้ก็จะส่งผลให้เขาสมาธิสั้น มีปัญหาการเรียน ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากทำงานที่ได้รับมอบมาย จนมีการผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ จนทำให้เกิดความเครียดตามมา

4. วัยเด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน

เด็กสมาธิที่เกิดจากความผิดปกติของสมองซึ่งมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก การพัฒนาศักยภาพของเด็กโดยเริ่มจากการที่ครอบครัวเข้าใจในสิ่งที่เขาเป็น จะต้องรู้วิธีการรับมือ การดูแล จะต้องควบคุมอารมณ์อย่างตวาดตําหนิเด็ก หรือลงโทษรุนแรงเมื่อเขาทำผิด เพราะถ้าหากใช้ความรุนแรงกับเด็กเขาจะกลายเป็นเด็กที่ก้าวร้าว

นอกจากครอบครัวแล้วคุณครูก็มีส่วนช่วยเหลือเด็กได้ โดยการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะคอยเตือนให้ตั้งใจเรียน คอยอธิบายแบบค่อยเป็นค่อยไป หาข้อดีในตัวเขาออกมาและส่งเสริมให้เขาทำ คอยเป็นกำลังใจให้เขาปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น

การที่เด็กสมาธิสั้นไม่ชอบออกจากบ้านอาจเป็นเพราะคนอื่นมองเขาแปลก หรือดุเมื่อเขาทำอะไรลงไป สังคมอาจไม่ยอมรับ เขาเข้ากับกลุ่มเพื่อนไม่ได้ ดังนั้น เขาจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากครอบครัว คุณครู และ เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อจะให้สามารถเข้าสังคมได้

เอกสารอ้างอิง

จริยาวัตร คมพยัคฆ์.(2528).การดูแลผู้ป่วยในเตียง.สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2559

จาก: https://www.doctor.or.th/article/detail/5967

พิชัย อิฏฐสกุล.(2557).โรคซึมเศร้า.สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2559.

จาก: http://www.manarom.com/article-detail.php?id=666672

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.(ม.ป.ป).โรคย้ำคิดย้ำทำ.สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2559.

จาก:http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowled...

พนม เกตุมาน.(2550).การป้องกันและช่วยเหลือเด็กติดเกม.สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2559.

จาก: http://www.psyclin.co.th/new_page_46.htm

ชาญวิทย์ พรนภดล.(ม.ป.ป).มารู้จักและช่วยเดก็สมาธิสั้นกันเถอะ.สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2559.

จาก:http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/psychiat...

หมายเลขบันทึก: 616287เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2017 00:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท