นักสังคมสงเคราะห์สามารถนำหลักธรรมไปใช้ได้อย่างไร ep2


นักสังคมสงเคราะห์นำหลักธรรมไปใช้ในการพัฒนาจิตใจของผู้รับบริการ

นักสังคมสงเคราะห์นอกจากจะแก้ไขปัญหาของผู้รับบริการ โดยการแก้ไขนั้นก็จะต้องประยุกต์ธรรมะ หลักธรรม ของพระพุทธเจ้าในการให้บริการ ขณะเดียวกันนักสังคมสงเคราะห์ก็สามารถที่จะใช้ธรรมะในการพัฒนาจิตใจของผู้รับบริการ ได้ด้วย เช่น การชี้ให้เห็นความถูกผิดสมควรหรือไม่สมควรในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะการให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ ทั้งปวง สพฺพทาน ธมฺมทาน ชินาติ การชี้แนะให้เข้าใจหลักความเป็นจริงของชีวิตที่นำไปสู่ความสงบสุขแก่ตัว ครอบครัว และสังคมเพราะการสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์นั้น ถ้าสงเคราะห์แต่เพียงด้านวัตถุด้านเดียวจะไม่เพียงพอ เพราะไม่รู้จักอิ่ม แต่ ถ้าแนะนำทางที่ถูกต้องแก่การดำเนินชีวิตแล้วความเพียงพอก็จะเกิดมีแก่เขา เป็นการสงเคราะห์ที่ประเสริฐที่สุดที่มนุษย์จะ พึงให้แก่กันได้มีหลักธรรมอยู่ 2 ประการของพระพุทธเจ้าซึ่งสามารถนำมาชี้ให้ผู้รับบริการเห็นถึงสัจจะธรรมหรือความ ธรรมดาของโลก ได้แก่ 1. พึ่งตนเองดีกว่าพึ่งผู้อื่น 2. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว พึ่งตนเองดีกว่าพึ่งผู้อื่น พึ่งตนเองของผู้รับบริการซึ่งนักสังคมสงเคราะห์ชี้แนะว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้นนั้นให้วิเคราะห์ หาสาเหตุของปัญหาให้พึ่งตนเอง เมื่อไม่สามารถที่จะช่วยตนเองได้ก็จำเป็นจะต้องหาบริการทางสังคม แต่ในขณะนั้น ผู้รับบริการก็ต้องพยายามที่จะช่วยตัวเองด้วยการประสบปัญหาของผู้รับบริการไม่ได้หมายความว่าจะหมดความสามารถใน เรื่องต่างๆ และการที่ต้องมาพึ่งพาบริการจากสังคมก็ไม่ได้หมายความว่าเขาหมดความสามารถเช่นกัน แต่จะต้องไม่เกิด ความคิดที่ว่าจะพึ่งพาผู้อื่นอยู่เรื่อย ๆ เพราะจะกลายเป็นอ่อนแอ ทำอะไรไม่ได้ คนที่อ่อนแอจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ได้ด้วยความสงบสุข ในบางคราวก็อาจมีผู้อื่นคอยอุปถัมภ์ค้ำจุนเรา แต่เขาก็ช่วยได้ไม่นาน การพึ่งตนเองถ้าเราไม่พึ่งธรรมะ คือ เราไม่ประพฤติธรรม ชีวิตก็ไปไม่รอด มีความตกต่ำลงไปทุกวันทุกเวลา เพราะฉะนั้นจึงต้องพึ่งพาตนเอง ไม่มีอะไรมาดล บันดาลให้เราไม่มีเทวดาฟ้าดินที่ไหนมาดลบันดาลให้เรามั่งมี หรือยากจน ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นมาแต่ตัวของเราส่วนหนึ่ง และ ความแปรฝันของสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าเราไม่มีความประมาทแล้ว เราก็ไม่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ ในฐานะที่เป็นพุทธ บริษัทเราคงคิดช่วยตัวเองให้มาก พึ่งตัวเองให้มาก สิ่งต่าง ๆ ที่เราประสบมานั้น เป็นบทเรียนบางคนเคยกระทำผิดมา ล้มลุกคลุกคลานไม่สมหวัง ถือว่าเป็นเรื่อง ธรรมดา คามหลักอริยสัจของพระพุทธเจ้า เมื่อเวลามีความทุกข์มีปัญหา มีความพลาดหวังก็ต้องศึกษาว่าเพราะอะไร ผิด เพราะอะไร ต้องแก้ต่อไป ต้องสู้ต่อไป เพราะชีวิตคือการต่อสู้ ต่อสู้ทั้งภายนอกที่มากระทบเรา ต่อสู้ทั้งภายในคือ กิเลสที่เกิดขึ้นในใจของเรา คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ถ้าเรามีสติและปัญญาพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง คอยป้องกันไม่ให้อกุศลเกิดขึ้นไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับสิ่งยั่วยุ แล้วก็จะมีชีวิตอย่างสงบสุข ดังพุทธภาษิตที่ว่า“นตฺถิ สนฺติ ปร สุข สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี” ธรรมะทั้งหลายที่คอยควบคุมอารมณ์หรือป้องกันสิ่งที่มายั่วยุ อย่างเช่นโลกธรรม 12 8 มาทำให้หลงใหลตามแต่ถ้าเรามีธรรมะโอสถแล้วก็เหมือนกับเราได้ฉีดวัคซีนป้องกันหรือขับไล่ โรคร้ายให้มันออกไป จากตัวเรา สภาพชีวิตของเราก็จะดีขึ้นก็จะเป็น “ทนฺโต เสฏโฐ มนุสฺเสสุ ผู้ที่ฝึกตนเป็นผู้ประเสริฐที่สุด” และสามารถที่จะ ให้ความช่วยเหลือบุคคลอื่นได้ และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมนอกจากเรามีธรรมะแล้วก็ควรมอบธรรมะให้คนอื่นด้วยการ ให้ที่ประเสริฐคือ “สพฺพ ทาน ธมฺมทาน ชินาติ การให้ธรรมเป็นทานเป็นการให้ที่ชนะการให้ทั้งปวง” ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หลักธรรมนี้ใช้ให้เราเห็นว่าสุข ทุกข์ในชีวิตประจำวัน เป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของ ตนเอง เป็นส่วนชี้ให้เห็นถึงเหตุผลในการดำรง ชีวิต เพราะในทางพุทธศาสนาไม่ถือเรื่องโชคลาง ไม่มีใครลิขิตชีวิตของเราได้ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแต่เหตุผล และถือว่าเป็นเรื่องกรรม เป็นผลแห่งการกระทำซึ่งมีทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดี หมายความว่าเราพยายามทำแต่ความดี เพราะชีวิตของเราไม่มีใครที่จะมาลิขิต ตนเองนั้นแหละรู้ดีหรือชั่วควรทำหรือไม่ เราต้องปฏิบัติแต่ สิ่งที่ดีแม้คนอื่นจะไม่เห็น แต่เราก็เป็นผู้รับรู้เราทำไปแล้วเราจะมีแต่ความสุข จิตใจสะอาด สบายใจนั่นแหละ ผลของบุญหรือความดีที่เราได้ทำต้องใช้ธรรมะเป็นเครื่องนำทาง ถ้าคนเรามัวแต่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน ไม่เอื้อเฟื้อต่อกัน ฉกฉวยประโยชน์ให้ตนเองและครอบครัวโดยไม่คำนึงถึง ส่วนรวมสังคมนั้นก็จะอยู่ไม่ได้ การให้ข้อคิดในเรื่องการกระทำดีนี้จะช่วยให้ผู้รับบริการมีความเชื่อในเรื่องของการประกอบ ความดีงามดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า แม้จะประสบปัญหาความเดือดร้อน ก็คงจะประกอบความดาอยู่เสมอ จะประกอบด้วย คิดดี พูดดี ทำดี โดยไม่ข้องแวะกับความชั่ว ไม่ว่าจะประสบปัญหาใดๆ ก็ตาม และให้มีความเชื่อยู่เสมอว่าผลของความดี นั้น จะต้องตอบสนองในวันหนึ่ง ช่วงชีวิตต่อไปก็จะดีงามตลอดไป

หมายเลขบันทึก: 616085เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2016 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2016 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท