ปรัชญางานสังคมสงเคราะห์


ปรัชญางานสังคมสงเคราะห์

การสังคมสงเคราะห์มีรากฐานมาจากความรู้สึกห่วงใยที่คนในสังคมมีต่อเพื่อนมนุษย์อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเดือดร้อนและ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ในระยะเริ่มแรกคำว่าสังคมสงเคราะห์ยังไม่ปรากฏชัดเจน เป็นเพียงความคิดในการอุทิศตนเพื่อ ประโยชน์ของส่วนรวมโดยได้รับอิทธิพลจากคำสอนทางศาสนาต่างๆ อาทิ ศาสนายิวและคริสต์ศาสนาในอังกฤษและ อเมริกาซึ่งเป็นต้นกำเนิดของวิชาชีพนี้ ต่อมาจึงได้มีวิวัฒนาการมาเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ มีการตั้งโรงเรียนสังคม สงเคราะห์ ผลิตนักสังคมสงเคราะห์ (Social worker) เป็นนักวิชาชีพในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทั้งในยุโรปและอเมริกา อาจกล่าวได้ว่า ปรัชญาพื้นฐานของการสังคมสงเคราะห์ที่เป็นสากล (รวมทั้งของประเทศไทย) นั้นเป็นความคิดใน ลักษณะการกุศล (Charity) การอุทิศตนเข้าช่วยเหลือผู้เดือดร้อนตามคำสอนของศาสนา แต่ต่อมาในยุคที่วิชาการทางสังคม วิทยาและมานุษยวิทยาและจิตวิทยาได้กำเนิดขึ้นราวทศวรรษที่ 1930 นักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์ในสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาแนวคิดในการมองธรรมชาติของมนุษย์ในด้านดี และเน้นการให้ความสำคัญกับศักยภาพ สิทธิ และศักดิ์ศรีของ มนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ในยุคนี้เริ่มมีคำว่า “Work with, not work for” เกิดขึ้นก็คือการท างานสังคมสงเคราะห์มิใช่การทำให้ แต่เป็นการท างานด้วยกัน หรือเป็นการช่วยมนุษย์ในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างเท่าเทียม มิใช่ถือว่าเขาต่ำชั้น หรือด้อย คุณค่ากว่าเราคำกล่าวอีกชุดหนึ่งที่สะท้อนปรัชญาของการสังคมสงเคราะห์คือ “การช่วยเขาเพื่อให้ช่วยตนเองได้(help them to help themselves)” คำกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นความเชื่อที่ว่า “มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะพึงตนเองได้ ใน บางครั้งมนุษย์อาจประสบปัญหาบางประการ จนไม่อาจแก้ไขได้ด้วยตนเอง ” แต่การช่วยให้เขาพ้นจากปัญหาก็มีหลายวิธี นักสังคมสงเคราะห์จะเลือกวิธีที่ผู้รับการช่วยเหลือ (Client) บางครั้งเรียกว่าผู้รับบริการหรือผู้ใช้บริการ ไม่สูญเสียความเป็นมนุษย์ไปบางครั้งปัญหาทำให้คนที่เผชิญปัญหาอยู่เกิดความรู้สึกท้อแท้ นักสังคมสงเคราะห์ก็จะกระตุ้นและสนับสนุนให้ผู้ใช้บริการเกิดความมั่นใจขึ้นมีกำลังใจที่จะแก้ไขปัญหาได้ ตลอดจนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง นั่นคือ การพึ่งตนเองได้ กลับมาอีกครั้งหนึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น ตั้งอยู่บนปรัชญาพื้นฐานที่เชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ กล่าวโดยสรุป ปรัชญาพื้นฐานของการสังคมสงเคราะห์เป็นการผสมผสานระหว่างค่านิยมเชิงคุณธรรมอย่างน้อย 2 แนว คือ 1 ค่านิยมเรื่องความรับผิดชอบถือเป็นหน้าที่(ตามคำสอนทางศาสนา) ที่จะช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก 2 ทัศนะในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่มีศักยภาพ มีสิทธิ และมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน

หมายเลขบันทึก: 616084เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2016 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2016 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท