วิถีความเป็นอยู่ภาคใต้


วิถีความเป็นอยู่ภาคใต้

ที่อยู่อาศัย จะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ใกล้ท่าน้ำ ลำคลอง อ่าว
และทะเล เพื่อสะดวกในการสัญจรและการทำมาหากิน คนไทยภาคใต้จะมีคติในการตั้งบ้านเรือน เช่น
ปลูกบ้านโดยมีตีนเสารองรับเสาเรือนแทนการขุดหลุมฝังเสา เพื่อสะดวกในการโยกย้ายและเป็นการ
ป้องกันมด ปลวก มีคติห้ามปลูกเรือนขวางตะวัน เพราะจะขวางเส้นทางลมมรสุมซึ่งอาจทำให้หลังคา
ปลิวและถูกพายุพัดพังได้ง่าย วัสดุที่นำมาสร้างคือสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น บ้านเรือนมีหลายลักษณะ
มีทั้งบ้านเรือนเครื่องผูก หลังคาทรงจั่วและทรงปั้นหยา มีใต้ถุนเตี้ยเพราะมีลมพายุเกือบทั้งปี
หากปลูกเรือนสูงอาจต้านทานแรงลม ทำให้เรือนเสียหายได้

เรือนไทยภาคใต้

ลักษณะทั่วไป

เรือนส่วนใหญ่จะวางเสาไว้บนตอหม้อตีนเสาซึ่งจะก่ออิฐฉาบปูนเมื่อต้องการจะทำการย้ายบ้านก็จะ ปลดกระเบื้องลงตีไม้ยึดโครงสร้างเสาเป็นรูปกากบาทแล้วใช้คนหามย้ายไปตั้งในที่ที่ต้องการนำกระเบื้องขึ้นมุงใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ในการก่อสร้างรูปทรงของเรือนเป็นเรือนไม้ ใต้ถุนสูงประมาณคนก้มตัวลอดผ่านได้ เสาทุกต้นไม่ฝังลงดินเพราะว่าดินมันชื้น และก็จะทำให้เสาผุเร็ว แต่จะตั้งอยู่บนแผ่นปูนหรือแผ่นหินเรียบ ๆ ที่ฝังอยู่ ในดินให้โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินไม่เกิน 1 ฟุต เพื่อกันมิให้ปลวกกัดตีนเสาและกันเสาผุจากความชื้นของดิน

เรือนไทยภาคใต้ที่พบเห็นทั่วไปในภาคใต้แบ่งออกเป็น

•เรือนเครื่องผูก

หลังจากชวนไปปลูกเฮือนไทยทางเหนือกันมาแล้ว คราวนี้จะชวนคนที่รักแสงแดด เกลียวคลื่นสีคราม ชอบอากาศชุ่มชื้นอุดมไปด้วยฝน ไปปลูกเรือนไทยทางใต้กันบ้างนะคะ

ถ้าอยากปลูกกันแบบเรื่อนไทยง่ายๆดั้งเดิม เรือนไทยทางใต้ก็คล้ายกับทางเหนือ คือแบ่งเป็น ๒ แบบ ได้แก่ เรือนเครื่องผูก กับ เรือนเครื่องสับ ค่ะ

เรือนเครื่องผูก มักเป็นกระท่อมแบบง่ายๆ ใช้ไม่ไผ่เป็นโครงสร้างแล้วผูกด้วยหวาย หลังคามุงจากหรือแฝก ไม่นิยมกั้นฝาห้อง แต่จะใช้ม่านกั้นห้องนอนแทนให้เป็นสัดส่วน ไม่มีรั้ว ปลูกติดๆกันเป็นหมู่บ้าน เพื่อจะได้ช่วยเหลือกันใกล้ชิด ว่ากันว่าเพราะพ่อบ้านเป็น 'ชาวเล' ต้องออกทะเลเป็นประจำทีละหลายๆวัน ปล่อยแม่บ้านและลูกๆเอาไว้ทางบ้านตามลำพัง ก็ต้องอาศัยความใกล้ชิดของชุมชน เพื่อดูแลและช่วยเหลือหากมีภัยต่างๆให้ ดีกว่าจะปลูกบ้านอยู่โดดเดี่ยวห่างจากผู้อื่น

•เรือนเครื่องสับ

ส่วนเรือนเครื่องสับ เป็นบ้านสำหรับคนฐานะดีขึ้นกว่าแบบแรก การสร้างซับซ้อนกว่าเรือนเครื่องผูก ปลูกด้วยไม้เคี่ยมหรือไม้หลุมพอ เพราะไม้สักอย่างทางภาคเหนือหายากแทบไม่มีเลย ยกใต้ถุนสูงพอคนลอดได้ ที่แตกต่างจากภาคอื่นคือไม่ขุดหลุมลงเสาเอก แต่จะใช้แท่งหินหรือคอนดรีตฝังลงในดิน ให้พื้นบนโผล่ขึ้นเหนือดินแล้ววางเสาบ้านลงบนแท่น แล้วใช้ไม้เนื้อแข็งอย่างไม้ตง ร้อยทะลุจากโคนเสาหัวบ้านไปจนถึงโคนเสาท้ายบ้านเพื่อยึดไว้ให้มั่นคง ตัวเรือนมีความยาวเป็นสองช่วงของความกว้าง มีพื้นระเบียงลดต่ำกว่าตัวเรือนใหญ่ และมีนอกชานลดต่ำกว่าพื้นระเบียงอีกที หลังคาจั่วตั้งโค้งแอ่นติดไม้แผ่นปั้นลมแบบหางปลา มุงกระเบื้อง และมีกันสาดยื่นออกไปกว้างคลุมสามด้าน สมกับอยู่ในสถานที่ฝนชุก ระเบียงก็มีชายคาคลุมไว้เช่นกัน แล้วแยกเรือนครัวออกไปต่างหาก เรือนพวกนี้จะสร้างเพิ่มเป็นเรือนหมู่ก็ได้ค่ะ ประมาณ ๓-๔ เรือน สำหรับลูกหลานเมื่อแต่งงานแยกออกไปอยู่อีกเรือนหนึ่ง

•เรือนก่ออิฐฉาบปูน

โดยเอกลักษณ์ของเรือนภาคใต้อยู่ที่หลังคาเรือนและ เสาเรือนจะเป็นเสาไม้ตั้งบนฐานคอนกรีตเหตุเพราะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเกิดพายุลมแรงเสมอ จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ลักษณะเรือนไทยเป็นเรือนยกพื้นสูง แต่ว่าไม่สูงจนเกินไป พอที่จะเดินลอดได้

หลังคาเรือนไทยภาคใต้มี 3 ลักษณะคือ

บ้านหลังคาจั่ว เป็นรูปจั่วตรงมุงด้วยกระเบื้อง ประดับเชิงชายและช่องลมด้วยไม้ฉลุ ตัวเรือนใต้ถุนยกสูง มีระเบียงและนอกชาน

บ้านหลังคาปั้นหยา เป็นบ้านใต้ถุนสูง หลังคามุงกระเบื้อง รูปทรงลาดเอียงสี่ด้านไม่มีจั่ว ตรงรอยตัดเหลี่ยมหลังคาครอบด้วยปูนกันฝนรั่วลงบ้าน เป็นแบบหลังคาที่แข็งแรง ต้านลมพายุได้ดีค่ะ มักพบมากแถวสงขลา

ฝรั่งเรียกทรงหลังคาแบบนี้ว่า "ทรงฮิปส์"

บ้านหลังคามนิลา หรือเรียกว่าแบบ บรานอร์ เป็นบ้านหลังคาจั่วผสมหลังคาปั้นหยา คือส่วนหน้าจั่วอยู่ข้างบนสุดแต่สร้างค่อนข้างเตี้ย ด้านล่างลาดเอียงลงมา รับกับหลังคาด้านยาวซึ่งลาดเอียงตลอด เป็นเรือนใต้ถุน

สูงเหมือนสองแบบแรกแถมท้ายด้วยความเชื่อของชาวใต้ในการปลูกบ้าน ถ้าใครสนใจจะปลูกเรือนจริงๆ ลองเชื่อไว้ก็ไม่เสียหายอะไรนะคะ หลายข้อก็มีเหตุผลสมควรในตัว หลายข้อก็คล้ายๆภาคกลางนี่เอง แสดงว่าเป็น

ความเชื่อที่แพร่หลายกันทั่วไป

- ห้ามปลูกเรือนบนจอมปลวก

- ห้ามปลูกคร่อมตอ

- ห้ามสร้างบนทางสัญจร

- เลือกพื้นดินที่ดินสีออกแดง ดูสะอาด กลิ่นไม่เหม็นสกปรก

- อย่าเลือกปลูกบนดินเลนสีดำ หรือที่เฉอะแฉะ

- ปลูกบ้านเดือน ๑๐ จะดี ปลูกเดือน ๔ ไม่ด

- บันไดบ้านหันไปทางทิศเหนือหรือตะวันออกถึงจะดี

- จำนวนขั้นบันได ถือเลขคี่เป็นหลัก อย่าเป็นเลขคู่

- ห้ามปลูกเรือนคร่อมคู คลอง หรือแอ่งน้ำ


อาชีพของชาวภาคใต้

ชาวภาคใต้ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนา ทำไร่ ทำสวน จับสัตว์น้ำ และทำประมงชายฝั่งทะเล ทั้งนี้แล้วแต่ทำเลที่ตั้งบ้านเรือนด้วย เช่น ผู้ที่อยู่ที่ราบเชิงเขา ที่ราบระหว่างเขา จะมีอาชีพทำสวนยางพาราและ

ทำสวนผลไม้ ทำไร่ยาสูบ (ยากลาย) ส่วนผู้ที่อยู่ที่ราบลุ่ม มีอาชีพทำนา จับสัตว์น้ำ และพวกที่อยู่ริมชายฝั่งทะเล ก็จะทำนา จับสัตว์น้ำ และทำประมงชายฝั่ง เป็นต้น

การทำนา


ชาวนาใช้ไถ คราด แอก มีเครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าว เช่น แกะ เคียว ตรูด ครกสี ครกสากตำข้าว แสกหาบข้าว กระด้งฝัดข้าว กระด้งมอญ สอบจูดนั่งใส่ข้าวเปลือก คนภาคใต้นิยมใช้แกะเก็บข้าวทีละรวง สามารถเก็บข้าวได้

หมด มีหล้อ(เกราะ) แขวนคอวัวควาย เสียงหล้อดังเป็นการแสดงตำแหน่งที่อยู่

การทำสวนยางพารา

เครื่องมือมีถ้วยหรือพรกยาง มีดตัดยาง ตะเกียงแก๊ส หินลับมีด หมวก ถังน้ำยาง รางยาง จักรรีดยาง น้ำยาฆ่ายาง ชาวสวนจะตื่นตั้งแต่ตี 2 - 3 ออกกรีดยาง ตอนย่ำรุ่งอากาศเย็นสบายน้ำยางจะไหลออกมา

การทำไร่ยาสูบ


ชาวใต้มีพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง จะใช้เวลาทำไร่ยาสูบหลังจากเก้บเกี่ยวข้าวแล้วและปลูกในพื้นที่ก่อนปลูกยางพารา เครื่องมือในการฝานใบยาสูบ มีขื่อฝานยา มีดฝานยา แผงตากยา และโอ่งเก็บยา

การทำสวนผลไม้

มีเครื่องมือไม่มากนัก เช่น จอบ เสียม มีด พร้า กรอมเก็บผลไม้ ไม้ขอย ตะกร้า โยงผูกด้วยตะขอไม้สำหรับผูกกิ่งไม้ เมื่อขึ้นเก็บบนต้นสูง มีเชือกยาวสำหรับหย่อนตะกล้าให้คนข้างล่างและยังมีผ้าแล่สะพายไหล่สำหรับใส่

พืชผักและผลไม้บางชนิด มีเข่งและโตร๊ะสำหรับใส่ผลไม้

การเลี้ยงสัตว์


ชาวภาคใต้จะเลี้ยงสัตว์ไว้ข้างบ้านส่วนใหญ่จะเลี้ยงไก่เพื่อเก็บไข่ไก่ปรุงอาหาร มีเครื่องมือได้แก่รังไข่ กรอมไก่


การจับสัตว์น้ำจืด


เมื่อน้ำหลากใช้ไซ ส้อน ยอ โมร่ ไปดักจับปลาจับกุ้ง ส่วนแห เบ็ดทง เบ็ดราว ตะข้อง สุ่ม เจ้ย ใช้จับปลาตามหนองน้ำ ลำคลอง ปลาจึงเป็นอาหารหลักของคนใต้

การประมงชายฝั่ง

ชาวประมงใช้เบ็ดราวผูกไซดักปลา มีการจับปลาดุกทะเลในรูด้วยในบริเวณน้ำตื้น (โดยใช้เครื่องมือ ไซ สวิง ไม้พาย ส่วนเวลากลางคืนเมื่อน้ำใสออกหาปลา ใช้ฉมวกแทงปลา ส่วนบริเวณป่าชายเลน และลำคลองจะดักปลา

ด้วยแร้ว จับกุ้งด้วยฉมวกยามว่างชาวใต้ชอบเลี้ยงนกเขา นกกรงหัวจุกไว้ฟังเสียงนกร้อง เช้าจะชักกรงนกขึ้นบนเสาสูงให้นกเขาตากแดด ชอบแขวนรังนกเพื่อให้นกเขาอยู่อาศัย แขวนลูกลมกังหันไม้ฟังเสียงลมกังวาลยาม

ลมพัด และเล่นว่าวชนิดต่าง ๆ เมื่อลมว่าวมาวิถีชีวิตชาวใต้แต่ดั้งเดิม เป็นชีวิตที่สงบเรียบง่ายแต่มีหลักคิด อุดมการณ์ และยุทธวิธีอันทันสมัยทันเหตุการณ์ เหมาะกับสภาพพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่เป็นที่น่าเสยดายว่า

สิ่งดีๆ เหล่านี้กำลังเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสวัตถุนิยมของสังคมปัจจุบัน จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนจะต้องช่วยกันฉุดรั้งและพัฒนาไปในทางที่ถูกที่ควรซึ่งจะเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน

ภาคใต้

กลุ่มชนโบราณที่เคยอาศัยและตั้งถิ่นฐานในภาคใต้ คือ "ชนชาวถ้ำ" และ "ชนชาวน้ำ"

ชนชาวถ้ำ ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ป่าเขา โดยเข้าป่าล่าสัตว์ตามแบบดั้งเดิม ชนกลุ่มนี้คือ

บรรพบุรุษของพวกเซมัง หรือ ซาไก หรือเงาะป่า

ชนชาวน้ำ อาศัยอยู่ในแนวชายฝั่งทะเลตามอ่าวหรือถ้ำบนเกาะ คือ พวกโอรังลาโอด หรือ
โปรโต-มาเลย์ หรือชาวเลที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน

หมู่บ้านชาวเล หมู่เกาะสุรินทร์

เนื่องจากทำเลที่ตั้งของภาคใต้เป็นคาบสมุทร ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินทางระหว่างมหาสมุทร
อินเดียและทะเลจีนใต้ จึงมีชนต่างชาติเข้ามาพำนักอาศัยและเกิดการผสมผสานทางเชื้อชาติ ได้แก่
ชาวอินเดีย ชาวจีน และชาวตะวันออกกลาง
หมายเลขบันทึก: 615649เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2016 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2016 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท