ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมะกับสังคมสงเคราะห์


ธรรมะ = สังคมสงเคราะห์
อริยสัจ 4 = กระบวนการ

ธรรมะคือสิ่งที่พระพุทธองค์ค้นพบแล้วนำมาบอกหรือ ถ่ายทอดให้กับเพื่อนมนุษย์เพื่อแนวทางในการดับทุกข์

พระพุทธองค์เป็น “บิดาแห่งสังคมสงเคราะห์พระองค์แรก” ธรรมะของพระพุทธองค์สามารถขจัด บรรเทา และป้องกันทุกข์ชาวโลกที่สนใจและใฝ่ธรรม และสามารถช่วยเหลือตนเองตามสภาพ และสถานะของแต่ละคน

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงประกอบอยู่ด้วยลักษณะอันเรียกว่า ไตรลักษณ์ หรือลักษณะ 3 ประการคือ

1. อนิจจัง แปลว่า ไม่เที่ยง มีหมายความว่า สิ่งทั้งหลายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไป ไม่มีความคงที่ตายตัว

2. ทุกขัง แปลว่า เป็นทุกข์ มีหมายความว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีลักษณะที่เป็นทุกข์มองดูแล้วน่าสังเวชใจ ทำให้เกิดความทุกข์ใจแก่ผู้ที่ไม่มีความเห็นอย่างแจ่มแจ้งในสิ่งนั้นๆ

3. อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน มีความหมายว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ไม่มีลักษณะอันใดที่จะทำให้เรายึดถือได้ว่ามันเป็นตัวเราของเรา ถ้าเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนถูกต้องแล้ว ความรู้สึกที่ว่า ไม่มีตน จะเกิดขึ้นมาเองในสิ่งทั้งปวง แต่ที่เราไปหลงเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนนั้น ก็เพราะความไม่รู้อย่างถูกต้องนั่นเอง

การสังคมสงเคราะห์ในทางพระพุทธศาสนามี 2 ประการ

1. อามิสบูชา การบูชายัญด้วยอามิส คือวัตถุสิ่งของต่างๆที่จำเป็นและมีประโยชน์ อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เงินทอง ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องประดับ ยานพาหนะ เป็นต้น

2. ธรรมบูชา การบูชายัญด้วยธรรม คือ การ ประพฤติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึง การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลัก ถูกต้องตามกระบวนการ วิธีการของการปฏิบัติ เช่น หลักย่อยสอดคล้องกับหลักใหญ่ และเข้าแนวกับธรรมที่เป็นจุดหมาย

“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”

การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง

หมายเลขบันทึก: 615373เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2016 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2016 12:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท