การศึกษาประชากรของนกน้ำและการประเมินความเหมาะสมของควนขี้เสี้ยน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ในการจัดตั้งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์


เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยเป็น 1 ในพื้นที่ชุ่มน้ำ 42 แห่ง ที่สหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ขึ้น บัญชีไว้ในฐานะที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในภูมิภาคเอเชีย และเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายของแหล่งที่อยู่อาศัยประเภทน้ำจืดที่เอื้อ ต่อการเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ รวมทั้งสัตว์อื่นๆด้วย ทั้งนี้ประเทศไทยได้ร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์ และได้เสนอพื้นที่บริเวณควนขี้เสี้ยน ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทะเลน้อย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย มีเนื้อที่ประมาณ 3,085 ไร่ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ (Ramsar site) แห่งแรกของประเทศ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2542 โดยประเทศไทยเป็นประเทศภาคีสมาชิกลำดับที่ 110 บริเวณป่าเสม็ดควนขี้เสี้ยน เป็น 1 ใน 2 ของพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยที่พบการทำรังวางไข่รวมกันเป็นกลุ่ม ใหญ่ของนกน้ำ ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับนกน้ำนี้ เป็น 1 ใน 3 เกณฑ์ ที่ใช้จำแนกพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผู้ใดศึกษาในรายละเอียดในบริเวณดังกล่าวโดยเฉพาะด้านประชากรและการ ใช้พื้นที่เพื่อทำรังวางไข่ของนกน้ำ จากผลการศึกษาในครั้งนี้คาดว่า จะสามารถนำไปใช้ประกอบการประเมินความเหมาะสมของควนขี้เสี้ยนในการจัดตั้ง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์และเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนอนุรักษ์นกน้ำในเขต ห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยในโอกาสต่อไป

คณะผู้วิจัย – วัชราภรณ์ แก้วดี, กำธร ธีรคุปต์ และชวาล ทัฬหิกรณ์
หมายเลขบันทึก: 61510เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากได้เพลงทะเลน้อยจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท