กิจกรรมบำบัดกับเศรฐกิจพอเพียง


กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) เป็นวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีโดยอาศัยกิจกรรมเป็นสื่อ เป้าหมายเบื้องต้นของกิจกรรมบำบัด คือ การส่งเสริมให้บุคคลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ผู้พิการทางกาย เด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการหรือการเรียนรู้ ผู้ป่วยจิตเวช ผู้สูงอายุ ฯลฯ สามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มความสามารถ ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะต้องอาศัยความรู้หลายๆด้าน เพื่อช่วยลดข้อจำกัดทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคมของบุคคลเหล่านั้น อีกทั้งยังอาจต้องช่วยปรับ/ให้คำแนะนำในการปรับสภาพแวดล้อม เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มศักยภาพ กิจกรรมบำบัดสามารถเรียกอีกอย่างได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะชีวิตของมนุษย์

เศรษฐกิจพอเพียง


“เศรษฐกิจพอเพียง”
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

อาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้

  1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกิน โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
  3. การมีภูมิคุ้มกันทีดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

เงื่อนไข

การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ต้องอาศัย ทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน

  • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา ให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
  • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนัก ในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติ ปัญญาในการ ดำเนินชีวิต

การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก "พึ่งตนเอง" คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองในเรื่องของปัจจัยสี่ให้ได้ในระดับหนึ่ง

การพัฒนาตนเองให้สามารถ "อยู่ได้อย่างพอเพียง" คือ ดำเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุล คือ มีความสุขที่แท้ ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน จนต้องเบียดเบียนตนเอง หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและ
ความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำกิจกรรมบำบัดเกี่ยวข้องอย่างไรกับเศรษฐกิจพอเพียง?

วิชาชีพกิจกรรมบำบัดจะต้องมีความรอบคอบและระมัดระวังในการรักษาผู้ป่วย

  • ความพอประมาณ : ในเวลารักษาฟื้นฟูผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์เกี่ยวกับความสามารถของผู้ป่วย เวลารักษาก็ต้องเลือกว่าสิ่งที่ให้ไปมีความพอดี ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป เพื่อไม่ให้เกินกำลังความสามารถและน้อยเกินที่จะพัฒนาผู้ป่วย
  • ความมีเหตุผล : ในแต่กิจกกรมที่นักกิจกรรมบำบัดให้ผู้ป่วยได้ทำนั้นจะต้องเป็นกิจกรรมที่มีความหมายและมีประโยชน์จากการพิจารณาด้วยหลักของเหตุและผล
  • การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว : เตรียมรับผลของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางมาทำการรักษาได้ นักกิจกรรมก็ต้องมีความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงโดยอาจจะเดินทางไปที่บ้านของผู้ป่วยหรือให้กิจกรรมทำที่บ้านได้ง่ายๆ

โดยการจะทำทุกหลักได้ก็ต้องเมื่อต้องมีเงื่อนไขอยู่ 2 ประการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ

  • ความรู้ : นักกิจกกรมบำบัดจะต้องใช้ความรู้ที่ได้จากการเรียนและการศึกษาด้วยตนเองซึ่งงอาจจะมาจากประสบการณ์หรือการอ่านหนังสือ มาประยุกต์ใช้เพื่อรักษาผู้ป่วย
  • คุณธรรม : นักกิจกรรมบำบัดที่ดีควรจะต้องมีความปรารถนาดีต่อผู้ป่วย และประสงค์ที่จะให้ผู้ป่วยได้หายจากอาการทางโรคได้เร็วที่สุด มีความขยันหมั่นเพียรที่จะศึกษาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ และ มีความอดทนและความมุ่งมั่นในการรักษาผู้ป่วย แม้ว่าผู้ป่วยไม่สามารถทำตามสิ่งที่เราคิดได้ก็ต้องใจเย็น และเข้าใจถึงสภาพร่าางกายของผู้ป่วย

นางสาวภัคณพิชญ์ พานทอง 5923012 คณะกายภาพบำบัด สาขากิจกรรมบำบัด


หมายเลขบันทึก: 614663เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2016 01:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2016 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท