ณัฐสุชารายงาน


วันที่ 8/9/2559 [ptot333 Activites of daily living and rehabilitation – wheelchair]

เรื่องมีอยู่ว่า จริงๆก็เป็นวันพฤธรรมดาๆวันหนึ่งที่มีเรียนปกติ ซึ้งเวลาเรียนปกติในคาบเรียนก็จะมีการให้ลงมือปฏิบัติอยู่แล้วในท้ายคาบหรือระหว่างการเรียน แต่ว่า!วันนี้พอเรารู้ว่ามีเรียนการนั่งรถเข็น เราก็รอ...ว่าวันนี้เราจะได้เล่นอะไร5555 พอเรียนพวกโครงสร้าง อุปกรณ์ ส่วนต่างๆเกี่ยวกับรถเข็นเสร็จ[เสร็จคาบบรรยายไป] ก็ได้เวลาทำมิชชั่น5555 มิชชั่นที่ได้รับวันนี้คือจับคู่กับเพื่อน2คน(เราจับคู่กับวรรณา) ให้ผลัดกันรับบทบาท บทบาทคือ1.สาวสวยผู้เป็นอัมพาทครึ่งซีก(ซ้าย) 2.นักกิจกรรมบำบัด ยังไม่หมดแค่นั้น คือสาวสวยคนนั้นก็อยากไปทำธุระกรรมทางการเงินที่ธ.กรุงไทยสาขามหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา โดยที่เราจะเป็นสาวสวยผู้เป็นอัมพาทครึ่งซีกก่อน วรรณาเป็นนักกิจกรรมบำบัด ตอนแรกคือตื่นเต้นมาก พอได้รถเข็นมาแล้วก็เอาไปหมุนล้อแข่งกับเพื่อนสนุกสนาน คิดว่ามันสบายเราแข็งแรงอยู่แล้ว

---- เวลาลงปฎิบัติจริง -----

สถานที่เริ่มต้น : หน้าคณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

พออาจารย์บอกให้เริ่มทุกคนก็หมุนล้อค่อยๆลงทางลาดไป กลุ่มเราเป็นกลุ่มสุดท้ายแต่ประเด็นอยู่ที่เราพอเป็นอัมพาทครึ่งซีกใช้ได้แค่แขนขวา ทำให้รถเข็นหมุนเป็นวงกลม ไม่ตรงไปข้างหน้า ทำให้เวลาหมุนล้อไปได้แปบๆก็ต้องตั้งลำรถเข็นใหม่ ลำบากแค่ลงทางลาดหน้าคณะก็ลำบากมาก ปลายเท้าจะกระแทกกับกำแพงด้านข้างบ่อยครั้ง และทางลาดสำหรับลงในครั้งสุดท้าย(เป็นโครงเหล็ก)ก็เกือบหน้าคว่ำทำให้นักกิจกรรมบำบัดต้องมาช่วยเข็นลง ต้องให้นักกิจกรรมบำบัดช่วยบ่อยมาก เพราะว่าทางในมหาวิทยาลัยต้องมีการข้ามถนนบ่อย เราพยายามที่จะลองข้ามด้วยตัวเองแต่ก็เกรงใจรถที่จอดรอ เนื่องจากรถเข็นมันหมุนวน ต้องตั้งรถใหม่ และด้วยคาบเรียนนี้เรียนช่วงบ่าย แดดจึงร้อนมาก พร้อมกับความเหนื่อยล้าของแขนข้างเดียวที่ต้องหมุนล้อไปมาตลอดเวลา เราก็ไม่คิดว่าจะเหนื่อยขนาดนี้มาก่อนทั้งๆที่เราออกกำลังกายพวกวิ่ง ว่ายน้ำ ยกเวท หรือเล่นกีฬาที่ใช้แขนค่อนข้างบ่อย แต่เหนื่อยมากปวดแขน ต้องมีการหยุดพักหลายครั้ง ระหว่างการเดินทางนักกิจกรรมบำบัดก็มีการถามตลอดทางว่าเหนื่อยหรือถ้าไม่ไหวก็ให้บอกได้ และอุปสรรค์สำคัญที่สุดที่คิดมาของคู่เราคือสะพานข้ามคลองที่ไม่ได้สร้างมาเพื่อรถเข็น เป็นสะพานที่มีขนาดกว้างก็จริงแต่มีรถจอดด้วย ทางขึ้นลงค่อนข้างลาดชัน พื้นผิวขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อและมีหินเป็นส่วนประกอบของพื้นผิวสะพาน คือเราลองที่จะขึ้นด้วยตัวเองแต่ก็ไม่สามารถพาตัวเองขึ้นไปได้ นักกิจกรรมบำบัดจึงเข้ามาช่วยแต่ด้วยความที่ตัวเล็กกว่าทำให้คุณลุงร.ป.ภ.แถวนั้นเข้ามาช่วยเข็นขึ้นไป และทางลงของสะพานต้องระมัดระวังมากมีหลุมขนาดใหญ่จำนวนมาก และพื้นผิวที่เป็นหินขรุขระมาก ซึ่งจริงๆมีทางที่ดีกว่านี้และไม่ต้องข้ามสะพานแต่ต้องอ้อมประมาณ2เท่าตัวของทางนี้ พอเรามาถึงหน้าธ.กรุงไทย ทำให้เรารู้เลยว่าปัญหาที่สำคัญจริงๆเลยคือรถจอด ท้ายรถเลยขึ้นมาเป็นฟุตบาทจนกินพื้นที่ฟุตบาทไปครึ่งหนึ่ง ทำให้ต้องลุกและพับรถเข็นผ่านแทน เพราะไม่มีทางอื่นที่สามารถขึ้นได้แล้ว พื้นต่างระดับของธ.ก็ค่อนข้างสูงไม่สามารถยกล้อข้ามขึ้นมาได้ ประตูทางเข้าของธ.จะอยู่อีกฝั่งของทางลาด แต่ตรงทางลาดมีกรวยมาตั้งอยู่ไม่สามารถหลบได้พ้น ทำให้นักกิจกรรมบำบัดต้องไปนำกรวยที่วางอยู่ออกให้ พอสุดทางลาดขึ้นมาเรียบร้อย ก็พึ่งรู้ว่าปากกระตูธ.หันเข้าหาน้ำ(คลองที่ข้ามสะพานมาในตอนแรก) ค่อนข้างรู้สึกกลัว กลัวตกน้ำลงไปถามเข็นไม่ดีก็อาจจะตกน้ำได้



ขากลับก็ให้วรรณามาเป็นสาวสวยผู้เป็นอัมพาทครึ่งซีก แล้วเราเป็นนักกิจกรรมบำบัด ซึ่งเวลานั้นนักศึกษาปี1ก็เลิกเรียนพอดี คนจึงเยอะมาก ตอนแรกวรรณาก็ดูเหมือนจะตื่นเต้นด้วยตื่นคนเยอะด้วยพยายามจะไปให้เร็วที่สุด ซึ่งบางจุดที่ยากทางขรุขระเราก็ได้เข้าไปช่วย แต่บ้างอย่างเดิมตอนแรกเราคิดว่าวรรณาต้องผ่านไม่ได้แน่ๆ แต่วรรณาก็สู้แล้วก็อดทนจนผ่านไปได้ เช่น ระยะที่ใช้เดินทาง ที่เราทำในต้องแรกมีการหยุดพักเรื่อยๆ มันทำให้เรารู้สึกถึงของการมีเป้าหมายที่ชัดเจน ความต้องการจะต้องกลับคณะให้เร็วที่สุด ความเขิลอายที่ต้องมาอยู่ในสถานการณ์ที่มีคนมากมาย ก้มหน้าก้มตาหมุนล้อให้เร็วที่สุด เราจึงต้องเดินใกล้ๆชวนคุย หาอะไรเล่นหรือทำด้วย แล้วคอยระวังความปลอดภัยเพราะตอนนั้นก็จะมีรถจักรยานและจักรยานยนต์วิ่งกันอย่างต่อเนื่อง


แล้วก็เพราะว่าเราได้เล่นบทบาทก่อนทำให้เราเหมือนเข้าใจพอจะเดาได้แล้วก็เต็มใจที่จะช่วยเหลืออย่างเต็มที่เมื่อเขาไม่สามารถทำได้จริงๆ เป็นกิจกรรมที่สนุกมาก ได้ลองนั่ง ลองเข็นตัวเอง ต้องสำรวจเส้นทาง วิเคราะห์เส้นทาง ฝึกสังเกตรอบข้าง สังเกตตัวผู้รับบริการ ได้รับรู้สิ่งแวดล้อมในมอด้วยลักษณะที่ต่างไป


คำสำคัญ (Tags): #กิขกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 613974เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2016 02:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2016 02:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท