Wheelchair กับ Parkinson's (OT333)


วันนี้ดิฉันมีโอกาสได้ลองแสดงบทบาทเป็นผู้รับบริการมีพยาธิภาพที่เป็น Parkinson's disease + Lower limb injury ซึ่งมีอาการสั่นและเกร็งที่มือและขา ในขณะเดียวกันต้องนั่ง wheelchair ด้วย โดยต้องเริ่มขับเคลื่อน wheelchair จากคณะไปยังตึกบัณฑิตชั้น 2 เพื่อไปถ่ายรูป ซึ่งระยะทางค่อนข้างไกลมาก และเนื่องจากดิฉันเพิ่งเคยมีโอกาสได้ลองนั่ง wheelchair และได้ลองขับเคลื่อนไปด้วยตนเองในระยะทางไกลๆ ครั้งแรก การที่ต้องแสดงบทบาทให้สมจริง สั่นและเกร็งขณะขับเคลื่อนจริงๆ ทำให้รู้สึกว่าเมื่อยล้ามือและแขนทั้ง 2 ข้างมากๆ บวกกับอาการที่ร้อน จึงรู้สึกเหนื่อยและไม่อยากจะนั่งต่อแล้ว ขนาดเราเป็นที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงยังรู้สึกว่าการขับเคลื่อน wheelchair ด้วยตนเองเป็นสิ่งที่ยากและเหนื่อยมากจริงๆ ด้วยระยะทางที่ไกลและพื้นถนนที่ไม่ค่อยเอื้อต่อ wheelchair เท่าที่ควร เพราะมีทางยกระดับมากมาย บางที่ไม่มีทางลาดสำหรับ wheelchair ทำให้ต้องอ้อมไปอีกไกล ประตูลิฟต์ก็แคบเกินไป รวมถึงในลิฟต์มีพื้นที่ไม่เพียงพอสำหรับกลับ wheelchair ทำให้ดิฉันยิ่งรู้สึกลำบากเข้าไปอีก เนื่องด้วยเวลาที่จำกัด ดิฉันจึงรีบพยายามไปจนถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้

ในทางกลับกัน ขากลับมาที่คณะได้ลองสลับบทบาทกับเพื่อนโดยให้เพื่อนเป็นผู้รับบริการ Parkinson's disease และดิฉันรับบทบาทเป็นนักกิจกรรมบำบัด ซึ่งจากการที่เราได้ลองนั่ง wheelchair มาก่อนแล้ว ทำให้เราได้เข้าใจว่ามันยากลำบากแค่ไหนสำหรับผู้รับบริการ ระหว่างทางกลับมาที่คณะ ในฐานะที่ดิฉันเป็นนักกิจกรรมบำบัด จึงได้มีการพูดคุยสนทนากับเพื่อนที่กำลังแสดงบทบาทอยู่ เพื่อให้เพื่อนได้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น มีการแนะนำช่วยเหลือ จัดท่าทางในกรณีที่มีสิ่งกีดขวางบริเวณทางที่ต้องสัญจร เมื่อมาได้ถึงครึ่งทางเพื่อนมีอาการเหนื่อยล้า ดิฉันจึงให้หยุดพักก่อนและมีการให้กำลังเพื่อน เพื่อให้เพื่อนสู้ต่อไปจนถึงคณะ และแล้วพวกเรา 2 คน ก็เดินทางมาจนถึงคณะ แล้วขึ้นมายังห้องเรียนได้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้

สรุปคาบเรียนนี้นอกจากเราจะได้รู้ความเหมาะสมของเส้นทางว่าเป็น UD หรือไม่แล้ว ยังทำให้เราได้รับรู้และเข้าใจถึงความยากลำบากของผู้รับบริการที่อยู่ในพยาธิสภาพดังกล่าว ซึ่งได้เพิ่ม empathy ในตัวของดิฉันมากขึ้นอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 613952เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2016 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2016 00:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท