หลักการสังคมสงเคราะห์


หลักการสังคมสงเคราะห์ มี 7 หลักการ ดังนี้

  • หลักการปัจเจกบุคคล คือ ลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ของบุคคลแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างกันทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านกรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู ประสบการณ์ชีวิต เช่น บางคนพูดเสียงดัง บางคนพูดเสียงเบา เป็นต้น นั่นเป็นเพราะการเลี้ยงดู หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวของเขาได้หล่อหลอมให้เขาเป็นคนที่มีลักษณะเฉพาะตัวนั่นเอง
  • หลักการยอมรับ คือ การยอมรับผู้ใช้บริการว่าเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ยอมรับในตัวของผู้ใช้บริการ เพราะว่ามนุษย์ทุกคนมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน เข้าใจในการกระทำและท่าทางที่ผู้ใช้บริการแสดงออกมาอย่างไม่มีอคติ เช่น ผู้ใช้บริการแต่งตัวสกปรก เพราะหน้าที่การงานที่ผู้ใช้บริการอาจจะต้องแต่งตัวแบบนี้ นักสังคมสงเคราะห์ก็ต้องเข้าใจและยอมรับในสภาพที่ผู้ใช้บริการเป็น เป็นต้น
  • หลักการตัดสินใจด้วยตนเอง ผู้ใช้บริการมีสิทธิที่จะเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิต หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง นักสังคมสงเคราะห์มีหน้าที่เพียงแนะนำปัญหา และสร้างทางเลือกหลายทางเลือกให้ผู้ใช้บริการได้ตัดสินใจด้วยตนเอง โดยจะสะท้อนปัญหาของผู้ใช้บริการและทำให้ผู้ใช้บริการสามารถจัดการกับปัญหาของตนเองได้
  • หลักการไม่ประณามหรือตำหนิติเตียนผู้ใช้บริการ ผู้ใช้บริการอาจจะทำในสิ่งที่ผิดพลาด นักสังคมสงเคราะห์ก็ต้องช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของผู้ใช้บริการ จะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ใช้บริการ ไม่ตำหนิติเตียนหรือประณามการกระทำของผู้ใช้บริการ ไม่ควรซ้ำเติมผู้ใช้บริการ เพราะบางสิ่งผู้ใช้บริการอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  • หลักการรักษาความลับ นักสังคมสงเคราะห์จะต้องรักษาความลับของผู้ใช้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความมั่นใจในตัวนักสังคมสงเคราะห์ และไม่ควรนำเรื่องราวของผู้ใช้บริการไปเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ แต่ถ้าจะเปิดเผยควรขออนุญาตและบอกจุดประสงค์ในการเปิดเผยเรื่องราวของผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งการได้รับอนุญาตจากผู้ใช้บริการด้วย
  • หลักการตระหนักในตนเอง มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตัว มีความแตกต่างกันทั้งในด้านรูปร่าง หน้าตา ลักษณะท่าทาง อุปนิสัยนิสัยใจคอ ความรู้สึกทางด้านจิตใจ การแสดงออก นักสังคมสงเคราะห์ควรพึงระลึกอยู่เสมอในการปฏิบัติงานว่าตนคือนักสังคมสงเคราะห์ ควรแยกแยะให้ออกระหว่างเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว เช่น ถ้าเจอผู้ใช้บริการที่เป็นคนรู้จักและไม่เคยถูกกันมาก่อน นักสังคมสงเคราะห์ควรตระหนักว่าตนคือนักสังคมสงเคราะห์ และคนที่ไม่ถูกกับเราคือผู้ใช้บริการ เป็นต้น
  • หลักการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการ คือการให้ผู้ใช้บริการได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยนักสังคมสงเคราะห์จะอยู่ข้างๆผู้ใช้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการรู้สึกว่ายังมีคนอยู่ข้างๆเขา และทำให้ผู้ใช้บริการไม่เครียดจนเกินไป
หมายเลขบันทึก: 613704เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2016 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2016 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท