ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจบริการอาหาร


S & P

นอกจากนี้ เอส แอนด์ พี ยังได้ขยายจุดขายไปยังสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ โรงพยาบาล และธนาคาร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า อีกทั้งบริษัทฯ ยังมีการผลิตและจำหน่ายสินค้าเบเกอรี่ อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกและแฮม เส้นพาสต้าภายใต้ชื่อ S&P ผ่านสาขาร้านอาหารและเบเกอรี่ และซุปเปอร์มาเก็ต รวมทั้งส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ ปัจจุบันมีโรงงานทั้งหมด 4 แห่ง ได้รับการรับรองจาก GMP(Good Manufacturing Practice) ที่รับรองหลักเกณฑ์การผลิตที่ดี และห้องปฏิบัติการได้รับ ISO-IEC17025 อันแสดงถึงมาตรฐานในขบวนการผลิตจาก สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรมอีกทั้งบริษัทยังให้บริการอื่นๆ อาทิ บริการจัดเลี้ยงนอกสถานที่ บริการอาหารปิ่นโต บริการจัดส่งอาหารถึงบ้าน(สำหรับเขกรุงเทพฯ และปริมณฑล) สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์www.snpfood.c

สารสนเทศที่นำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ เอส แอนด์ พี
เนื่องจากด้วยจำนวนสาขาที่มากมายกว่า 200 สาขาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ และในต่างประเทศ ประกอบกับธุรกิจของเอส แอนด์ พี ค่อนข้างมีความหลากหลายทั้งด้านการผลิต และการจัดจำหน่าย เช่น การผลิตเพื่อขายเอง ผลิตส่งออก ผลิตให้ผู้อื่นนำไปขายต่อ จึงทำให้ระบบไอทีตลอดจากข้อมูลต่างๆ ของเอส แอนด์พี มีความซับซ้อนสูงตามไปด้วย ขณะเดียวกันด้วยจำนวนผู้ใช้ที่มีจำนวนนับพันรายทำให้เอส แอนด์ พี ต้องรับภาระหนักในเรื่องของการลงทุนทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าไลเซนส์ซอฟต์แวร์ ซึ่งหากใช้ซอฟต์แวร์แบบปิดทั้งหมดจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้สูงมาก ดังนั้น เอส แอนด์ พี จึงได้นำโปรแกรม โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้และได้กลายเป็นกลยุทธ์ด้านการลงทุนทางด้านไอทีขององค์กรแห่งนี้มาจนถึง ปัจจุบัน

ซึ่งกลยุทธ์การลงทุนทางด้านไอทีของเอสแอนด์พีนอกเหนือจากระบบหลักที่เป็นซอฟต์แวร์แบบปิดแล้ว ระบบอื่นๆ ที่เหลือต้องเป็นโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ทั้งหมด

พัฒนาการด้านไอทีของเอส แอนด์ พี
พัฒนาการด้านระบบไอทีของเอส แอนด์พี เกิดขึ้นจาก 2 ทิศทาง โดยทิศทางแรกมาจากสำนักงานส่วนหน้า (ฟรอนต์ออฟฟิศ) ที่เริ่มมีการนำ “ระบบ POS (point of sale)” และ “ระบบคอลล์เซ็นเตอร์” มาใช้งาน เริ่มต้นจากการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์จนกระทั่งปัจจุบันเป็นการส่งผ่าน “ระบบ VPN (Virtual Private Network)” คือ เมื่อคอลล์เซ็นเตอร์ได้รับคำสั่งซื้อเข้ามาก็สามารถสั่งให้ระบบพิมพ์ใบสั่งซื้อที่เครื่องพิมพ์ของสาขาซึ่งมีพรินต์เซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่ได้ทันที

การสั่งซื้อผ่าน “ระบบคอลล์เซ็นเตอร์




การสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ www.snpfood.com

ระบบไอทีอีกส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากสำนักงานส่วนหลัง (แบ็กออฟฟิศ) นั้นเติบโตมาจากระบบวางแผนด้านวัตถุดิบ (Material Resource Planning –MRP) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นแกนกลางของระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) ที่ปัจจุบันทางเอส แอนด์ พี ได้แปลงระบบให้ทำงานผ่านเว็บ (web-based) แล้วที่เว็บไซต์ www.snpfood.com


บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำ เว็บไซต์เพื่อเป็นสื่อโฆษณาทางหนึ่ง ของบริษัทฯ ไว้เผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัทฯ ข่าวและกิจกรรมทั้งภายในและที่ได้มีส่วนร่วมกับสังคมภายนอก นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ทำการจดทะเบียนพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กับกระทรวงพานิชย์ เพื่อบริการลูกค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce ด้วยความ มั่นใจ มีการชำระเงินผ่าน “ CREDIT CARD ONLINE” เพิ่มความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ในบางช่วงบริษัทฯ ได้จัดโปรโมชั่นสำหรับลูกค้าทาง อินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะ

การชำระเงิน CREDIT CARD ONLINE

หลักเกณฑ์ในการเลือกใช้โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์

ในแง่ของหลักเกณฑ์การเลือกใช้โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์เพื่อนำมารับมือกับความท้าทายต่างๆ โอเพ่นซอร์สไม่สามารถใช้แทนทุกสิ่งทุกอย่างได้ เพราะฉะนั้นเราจึงยังคงใช้ระบบ ERP ตัวเดิมต่อไป เพียงแต่อัพเกรดให้ทำงานผ่านเว็บได้ ซึ่งทำให้สามารถผนวกกับโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนเว็บซึ่งเชื่อมต่อ อยู่รอบๆ ระบบ ERP ได้ดียิ่งขึ้นในระดับ near-realtime

ประโยชน์ที่ เอส แอนด์ พี ได้รับจากการนำเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้

- โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์หลากหลายชนิดมาเชื่อมต่อให้ทำงานรอบๆ แอพพลิเคชั่นหลักตัวเดิมได้สะดวกยิ่งขึ้น

- ช่วยลดต้นทุนและค่าใช่จ่ายต่างๆ

- การทำงานเป็นระบบ ระเบียบมากขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #กรณีศึกษา
หมายเลขบันทึก: 613122เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2016 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2016 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท