ระบบสารสนเทศร้านสะดวกซื้อ 7-11


ประวัติ ความเป็นมา 7-11


ร้านสะดวกซื้อในนาม เซเว่น อีเลฟเว่นได้เปิดประวัติศาสตร์เป็นร้านค้าปลีกครั้งแรกในปี พ.ศ.2470เป็นร้านค้าปลีกในชุมชนชื่อ บริษัท เซาท์แลนด์ไอซ์ (เซาท์แลนด์คอร์ปอเรชั่น) ณ เมืองดัลลัสมณรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนำสินค้าอุปโภคบริโภค ประเภทนม ขนมปัง และไข่เข้ามาจำหน่ายและเปลี่ยนชื่อร้านใหม่เป็นชื่อว่า โทเท็ม สโตร์ (Tote’m Store) จึงถือว่าเป็นจุดกำเนิดร้านค้าเพื่ออำนวยความสะดวกเป็น ครั้งแรกและได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น เซเว่น อีเลฟเว่น เป็นครั้งแรกโดยนำเวลาในการเปิด – ปิด คือ 7.00-23.00 น. ทุกวันไม่มีวันหยุด ซึ่งปัจจุบัน เซเว่น อีเลฟเว่นได้ขยายปีสาขากว่า 24,000 ทั่วโลกและกลายเป็นสัญลักษณ์ของร้านสะดวกซื้อที่มีมาตรฐานการบริการที่ดีเยี่ยมและทรงประสิทธิภาพ ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า จนเป็นร้านสะดวกซื้อที่เป็นขวัญใจของชุมชน เครือเจริญโภคภัณฑ์ผู้กำเนิด เซเว่น อีเลฟเว่น ในเมืองไทยเครือซี.พี. มีความสนใจในเรื่องธุรกิจการตลาด และการจัดจำหน่ายโดยยึดหลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจ คือการผสมผสานความร่วมมือระหว่าง คน กับ เทคโนโลยี อย่างสอดคล้องทั้งสามด้าน คือ กาลเวลา สถานที่ และประเภทสินค้า ต้องมี “เทคโนโลยี ตลาด และเงินทุน” และธุรกิจที่ทำนั้นต้องตอบสนองผู้บริโภคเป็นสำคัญ มีนโยบายสำคัญอีกข้อหนึ่งคือการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเป็นเพราะวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และไม่ปิดกั้นทางธุรกิจขององค์กร เครือ ซี.พี.นั้นเห็นว่าถ้าองค์กรไหนที่มีเทคโนโลยีและเก่งเป็นที่ยอมรับและมีความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ เป็นบริษัทชั้นนำของโลก

“เซเว่น อีเลฟเว่น” ได้ถือกำเนิดขึ้นในเมืองไทย โดยที่เครือซี.พี.ได้ตัดสินใจเซ็นสัญญาซื้อสิทธิ์ประกอบกิจการค้าปลีก (License) จากบริษัทเซาท์แลนด์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซีพี ออล จำกัด) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 และเริ่มเปิดดำเนินการสาขาแรกที่ถนนพัฒนพงศ์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่1มิถุนายน พ.ศ.2532 ภาระเร่งด่วนในการที่จะนำเซเว่นอีเลฟเว่นมุ่งสู่ความสำเร็จนั้นก็คือการสรรหาคนเก่งสู่องค์กร การขยายสาขา และ โฆษณาประชาสัมพันธ์เล็งเห็นความสำคัญของร้านค้าปลีกตามแหล่งชุมชนใกล้บ้านที่มีมาตั้งแต่อดีต จึงนำธุรกิจแบบดั้งเดิมมาผสม ผสานกับระบบการจัดการที่มีคุณภาพและทันสมัย คุณก่อศักดิ์นั้น มีวิสัยทัศน์ในการบริการงานว่า การทำงานกันเป็นทีมเท่านั้นถึงจะประสบความสำเร็จได้ เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เซเว่นอีเลฟเว่นนั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค เป็นเพราะว่าได้นำกลยุทธ์สำคัญ ที่เน้นให้บริการแบบอบอุ่นและเป็นกันเองโดยหยิบยกเอาวัฒนธรรมไทยในการไหว้และคำกล่าวทักทาย“สวัสดี”เปิดการขายและปิดการขายด้วยการ“ขอบคุณ” ทุกครั้งสร้างมิติใหม่ในการค้าของร้านสะดวกซื้อบริการ “เคาน์เตอร์เซอร์วิส” เป็นแห่งแรกของประเทศไทยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการชำระค่าสาธารณูปโภคทุกประเภทได้แก่ ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และบริการจากการผ่อนสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะทำให้ลูกค้านั้นประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทั้งยังชำระได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีการติดตั้งเครื่อง ATM ไว้ที่ร้านสาขาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทั่วไป

ระบบสารสนเทศนำมาประยุกต์ใช้สำหรับ 7-11

ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ได้ชื่อว่าเป็น ร้านค้าปลีกประเภทคอนวีเนียนสโตร์ มีสาขามากมายอยู่แทบทุกหัวมุมของถนน ในแต่ละปีเซเว่นอีเลฟเว่นจะเปิด สาขาไม่ต่ำกว่า 200 สาขา ถึงกับมีการ จดสถิติไว้ว่ามีสาขาเซเว่นอีเลฟเว่นเปิด ใหม่ทุกๆ 40 ชั่วโมง การบริหารสินค้า การจัดส่งสินค้า ที่จะต้องถึงมือร้านค้าทั่วประเทศให้เร็ว ที่สุด บริหารคลังสินค้าไม่ให้มีสต็อกมากเกินไป และแผนตลาดที่สอดคล้อง กับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้มากที่สุด คือโจทย์ที่เซเว่นอีเลฟเว่นต้องหาคำตอบให้ได้ "ข้อมูลการขาย" ที่สามารถเรียก ใช้งานได้ทันที จึงเปรียบเสมือนเป็น "หัวใจ" ของการทำธุรกิจร้านค้าแบบคอนวีเนียนสโตร์ และการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์ก็จำเป็นต้องพึ่งพาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) มาช่วยบันทึกข้อมูล และประมวลผลข้อมูลให้ทันท่วงที ถึงกับมีการเปรียบเทียบอย่างไม่เป็นทางการว่า ธุรกิจที่ใช้ไอทีเป็นอันดับ สองรองจากบรรดาธนาคาร ก็คือ ธุรกิจ ค้าปลีกนี่เอง ทางเซเว่นอีเลฟเว่นจึงคิดว่าจะทำอย่างไรกับข้อมูลการขายทุกรายการที่มาจากลูกค้าทั้ง 1,300 แห่งทั่วประเทศที่ต้องเอามาประมวลผลจึงได้มีรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ของบริษัทเทเลคอม เอเชีย คอร์ปอเรชั่น (ทีเอ)คือคุณ วิเชาว์ รักษ์พงศ์ไพโรจน์ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ เรื่องนโยบายด้านไอทีให้กับธุรกิจค้าปลีกมาช่วยในการวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น "หัวใจ" ของการบริหารร้านเซเว่นอีเลฟ เว่น ทางร้านเซเว่นอีเลฟเว่นต้องเรียนรู้เรื่องราวธุรกิจค้าปลีก ที่ไม่ใช่เพียงแค่การอาศัยความรู้วิศวกรรมติดตั้งเครือข่ายให้เสร็จ แต่เขาต้องเรียนรู้ถึงการบริหาร การขายทำอย่างไรจึงจะบริหารข้อมูล ขายอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารระบบจัดส่งสินค้าให้เหมาะสมที่สุด โมเดลของการบริหารไอทีของเซเว่นอีเลฟเว่นในไทย ได้ถูกจัดวางไปตามกิจกรรมหลักในการทำธุรกิจในแต่ ละวัน ซึ่งจะเกี่ยวพันกับหน่วยงาน 4ส่วนหลัก คือ ร้านค้า สำนักงานใหญ่ ศูนย์จัดส่งสินค้า และผู้ผลิตสินค้า (Suppliers)แต่ความซับซ้อนของความต้อง การใช้ไอทีไม่ได้มีมากไปกว่า การมีเพียง อุปกรณ์ 2 ชิ้น คือ เครื่องบันทึกเงินสด และพีซีอย่างละเครื่องเท่านั้น

ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นทุกแห่งจะมี


เครื่องบันทึกเงินสด ( Electronic Cash Register หรือ ECR) หน้าที่ของมันคือ นอกจากคำนวณเงินที่ขายสินค้าได้ เครื่องนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลดิบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรง เพราะทันทีที่สินค้าถูกขายออกไป ข้อมูล ทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวสินค้าที่ขายได้ทุกชิ้น ประเภท ยี่ห้อ ราคา จำนวน ข้อมูล เหล่านี้จะถูกส่งไปยังเครื่องพีซี ที่ตั้งอยู่ หลังร้าน


เครื่องพีซี จะทำหน้าที่จัดการข้อมูลภายในร้านทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหารเงิน บริหารสินค้า ในทุกๆ เย็น ข้อมูลเหล่านี้จะส่งผ่าน (On-line) โทรศัพท์และโมเด็ม (Modem) ไปยังคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานใหญ่ ในแต่ละวันข้อมูลนับล้านๆคำสั่ง เหล่านี้จะถูกส่งผ่านจากเครื่องพีซีจาก ร้านของเซเว่นอีเลฟเว่นทั้ง 1,300 สาขา วิ่งสายโทรศัพท์ผ่านโมเด็มมายังสำนัก งานใหญ่ เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเหล่านี้


บาร์โค้ด-Barcode หรือรหัสแท่ง ลักษณะเป็นแท่งขนานดำ-ขาว หมายถึง ระบบสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายประจำตัวสินค้าซึ่งเป็นเลขรหัส เป็นภาษาสากลที่ใช้เพื่อสื่อหรือบ่งบอกถึงประเทศผู้ผลิต บริษัทที่ผลิต ชนิดของสินค้า ราคาสินค้า เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการในการตรวจสอบสินค้า ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การเก็บ การจัดจำหน่าย กำหนดนโยบายการตลาด ประโยชน์ของบาร์โค้ด ด้านผู้ผลิต ได้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า ข้อมูลยอดขาย และส่งเสริมการขายได้รวดเร็ว ควบคุมการขายได้ดี ป้องกันสินค้าขาด ด้านผู้ค้าส่ง กระตุ้นทั้งระบบให้รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อสินค้า การรับ-ส่งสินค้า ควบคุมสินค้าคงคลัง ด้านผู้ค้าปลีก ป้องกันการติดราคาผิด เก็บเงินได้เร็วขึ้น ประหยัดแรงงานพนักงาน บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ด้านผู้บริโภค ป้องกันการผิดพลาดเวลาชำระเงิน ได้รับบริการเร็วขึ้น มีรายละเอียดของสินค้าที่ซื้อ


เครื่องอ่านบาร์โค้ด (barcode reader) ตัวเลขของรหัสสินค้าที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของระบบสินค้าคงคลังจะมีจำนวนหลักค่อนข้างมาก เมื่อต้องการเรียกใช้หรือตรวจสอบโดยการป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์จะทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย จึงเกิดแนวคิดในการพิมพ์รหัสสินค้าออกมาเป็นแบบแท่งรหัสสีดำและขาวต่อเนื่องกันไปเรียกว่า บาร์โค้ด ซึ่งนำไปใช้พิมพ์ในรหัสสินค้าอุปโภคและบริโภคทั่วไป เพื่อสะดวกในการเช็คสินค้าคงเหลือรวมไปถึงการคิดเงินนั่นเอง เครื่องอ่านรหัสเราเรียกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ด มีหลายรูป เช่น แบบมีด้ามจับคล้ายปืน
หรือบางแบบก็ฝังในแท่นของเครื่องเก็บเงินสดเลย พบเห็นได้ตามจุดบริการขาย (POS - Point Of Sale)ในร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป


ตู้ATM "เอทีเอ็ม-ATM" ย่อมาจาก Automatic Teller Machine คือระบบถอนเงินหรือฝากเงินธนาคารโดยอัตโนมัติ เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร ระบบเอทีเอ็มคือระบบคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูลกับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมืองทั่วประเทศและทั่วโลกได้ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ในเกือบทุกหนแห่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ


เคาน์เตอร์เซอร์วิส เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการชำระค่าสาธารณูปโภคทุกประเภทได้แก่ ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และบริการจากการผ่อนสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะทำให้ลูกค้านั้นประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทั้งยังชำระได้ตลอด 24 ชั่วโมง


บานประตูเลื่อนอัตโนมัติ เป็นประตูที่ใช้ระบบเซ็นเซอร์ฝังไว้ภายในและภายนอกหน้าทางเข้าและออกของ ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น เมื่อมีผู้มาใช้บริการเดินเข้า-ออก ระบบเซ็นเซอร์ก็จะทำงานโดยสั่งให้ประตูบานเลื่อนเปิดออกและเมื่อผู้ใช้บริการเดินพ้นจากหน้าประตูก็จะปิดทำให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปลักษ์หน้าร้าน ให้ทันสมัย สวยงาม เพิ่มความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการ


กล้องวงจรปิด ระบบกล้องวงจรปิด คือ CCTV ( Closed Circuit Television System ) ก็คือระบบของ กล้องที่มีไว้บันทึกภาพเคลื่อนไหว ที่นำไปติดไว้ตามที่ต่างๆ มายังส่วนที่เรียกว่า เครื่องบันทึกภาพและเสียงที่เรียกว่า เครื่อง DVR ( Digital Video Recorder ) ซึ่งตัว DVR ก็จะสามารถต่อกับตัว Monitor ได้เพื่อที่เอาไว้สอดส่องอยู่ตลอดเวลาส่วนมากระบบ กล้องวงจรปิด CCTV มักจะนำไปใช้ในระบบ เพื่อการรักษาความปลอดภัย ของสำนักงาน และ ห้างร้านต่างๆ รวมไปถึง ที่อยู่อาศัยต่าง ๆนอกจากนั้นยังมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของพนักงาน และตรวจสอบพฤติกรรมของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ


อ้างอิง :

http://k-pom-kpom.blogspot.com/2010/12/blog-post.h...

หมายเลขบันทึก: 613111เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2016 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2016 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท