ารพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการสอนแบบโครงงาน ของครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดชนาธิปเฉลิม) สังกัดเทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล


ผลงาน การพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการสอนแบบโครงงาน

ของครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดชนาธิปเฉลิม) สังกัดเทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ผู้วิจัย นายธีรพัฒน์ ง๊ะสมัน

ปีที่วิจัย 2558

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อวิจัยและพัฒนารูปแบบการอบรมครู ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการฝึกอบรมในระยะที่ 1 ของการพัฒนา ได้แก่ การประเมินประสิทธิภาพก่อนการพัฒนา และประเมินประสิทธิผลด้านผลผลิตหลังการพัฒนา เพื่อประเมินประสิทธิผลของการฝึกอบรมในระยะที่ 2 ของการพัฒนา ได้แก่ การประเมินประสิทธิผลด้านผลผลิตหลังการพัฒนา และประเมินประสิทธิผลด้านผลกระทบของการพัฒนา และเพื่อประเมินประสิทธิผลด้านผลกระทบของการฝึกอบรม เมื่อสิ้นสุดระยะที่ 3 ของการพัฒนา ได้แก่ ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมชมการแสดงผลงานโครงงาน และความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อประสิทธิภาพของรูปแบบและกระบวนการฝึกอบรมที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดชนาธิปเฉลิม) เทศบาลเมืองสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2558 จำนวน 42 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 540 คน ครูผู้สอนในสังกัดเทศบาลเมืองสตูล จำนวน 73 คน และครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 47 คน ตัวแปรอิสระ (Independent variable) ได้แก่ รูปแบบและกระบวนการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการสอนแบบโครงงาน โดยใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่อง การสอนแบบโครงงาน ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบและกระบวนการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการสอนแบบโครงงาน โดยใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่อง การสอนแบบโครงงาน

ผลการวิจัย

  • การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการฝึกอบรมในระยะที่ 1 ของการพัฒนา พบว่า ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่อง การสอนแบบโครงงานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 86.00/86.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 85/85 ครูผู้สอนมีสมรรถภาพความรู้ความเข้าใจด้านการสอนแบบโครงงาน หลังการใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเองผ่านเกณฑ์การประเมินสมรรถภาพด้านความรู้ คือได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 93.00 โดยภายหลังการฝึกอบรมด้วยตนเองแล้ว ครูมีสมรรถภาพด้านความรู้สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อระบบของการฝึกอบรมในระดับมาก และครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อประสิทธิผลของการฝึกอบรมด้านความรู้ที่ได้รับและความสามารถในการนำไปใช้ในระดับมาก
  • การประเมินประสิทธิผลของการฝึกอบรมในระยะที่ 2 ของการพัฒนา พบว่า ประสิทธิผลด้านผลผลิตหลังการพัฒนา ครูผู้สอนร้อยละ 85 มีผลงานนวัตกรรมผ่านการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพของนวัตกรรมที่กำหนด ประสิทธิผลด้านผลผลิตหลังการพัฒนา ครูผู้สอนจะมีผลการนำความรู้ไปใช้ในระดับมากขึ้นไป ประสิทธิผลด้านผลกระทบของการพัฒนา นักเรียนร้อยละ 65 มีทักษะการทำโครงงานผ่านการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด และประสิทธิผลด้านผลกระทบของการพัฒนา ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้เรียนรู้จากการสอนแบบโครงงานอยู่ในระดับดี
  • การประเมินประสิทธิผลด้านผลกระทบของการฝึกอบรม เมื่อสิ้นสุดระยะที่ 3 ของการพัฒนา พบว่า ประสิทธิผลด้านผลกระทบของการฝึกอบรม ผู้เข้าร่วมชมการแสดงผลงานโครงงานจะมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการจัดแสดงผลงานโครงงานในระดับดี และครูผู้สอนจะมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของรูปแบบและกระบวนการฝึกอบรมที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นในระดับดี
หมายเลขบันทึก: 612797เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2016 19:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2016 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท