Happy Brian และ KM 3.0 กับการสร้างคุณค่าในทิศทาง Thailand 4.0


Happy Brian และ KM 3.0 กับการสร้างคุณค่าในทิศทาง Thailand 4.0

สุขภาวะตามหลักการ Happy 8 (Happy Body, Happy Brain, Happy Heart, Happy Money, Happy Society, Happy Relax, Happy Soul, Happy Happy Family) ของ สสส. ที่มีความสอดคล้องกับสุขภาวะขั้นพื้นฐานตามความต้องการและแรงจูงใจของมนุษย์ และเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของมนุษย์ (Quality of Life) ที่สามารถสร้างความพร้อมพื้นฐานให้มนุษย์เป็นทุนมนุษย์ที่มีความสุขและมีคุณภาพ สุขภาวะในมิติ Happy Brain เป็นสุขภาวะมิติหนึ่ง ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างคุณค่าในศตวรรษที่ 21 ที่เป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Based Economy) ซึ่งองค์การต่างๆ ต้องอาศัยการขับเคลื่อนสถานะเศรษฐกิจด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม ในการสร้างความแตกต่าง สร้างคุณค่าใหม่ของสินค้าและบริการ ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในวงกว้าง โดยทุกภาคส่วนสามารถเสริมสร้างสุขภาวะในมิติ Happy Brain ได้ด้วยการประยุกต์วิธีการต่างๆในพัฒนาทุนมนุษย์ ที่มีความสอดคล้องกับการสร้าง "ทุนทางปัญญา" (Intellectual Capital) อันมีองค์ประกอบย่อยที่มีความสัมพันธ์กันได้แก่

1. พัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) อันมีองค์ประกอบของ องค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (รวมกับเป็น สมรรถนะ)

2. พัฒนาทุนความสัมพันธ์ (Relational Capital) หรือ ทุนทางสัมคม (Social Capital) อันประกอบด้วยเครือข่ายของทุนมนุษย์ที่หลากหลาย และสามารถผสานคุณค่าร่วมกันเป็นคุณค่าใหม่ หรือพลังร่วม (Synergy) ด้วยพลังของการสร้างเครือข่าย เช่น ชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs), เครือข่ายวิจัย (Research Network) เป็นต้น

3. พัฒนาทุนโครงสร้าง (Structural Capital) หรือ ทุนองค์การ (Organizational Capital) อันประกอบด้วยโครงสร้างต่างๆในองค์กรที่เอื้อให้ทุนมนุษย์และทุนความสัมพันธ์สามารถสร่างคุณค่าได้อย่างราบรื่น เช่น วัฒนธรรมองค์กร ค่านิยม คุณค่าร่วม (Core Value) คลังความรู้ บรรยากาศความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น

ซึ่งองค์ประกอบของทุนทางปัญญาที่มีความสำคัญที่สุด ได้แก่ ทุนมนุษย์ ที่มีองค์ความรู้, ประสบการณ์, ทักษะ และความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในตัว ซึ่งจะเป็นทุนที่ยั่งยืน ในการนำมาประยุกต์ต่อยอดในการสร้างทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ได้ตลอดเวลา นำมาซึ่งสุขภาวะที่ดีของบุคลากรและองค์กร โดยเฉพาะการสร้างเสริมสุขภาวะในมิติ Happy Brain นั้น การพัฒนาองค์ประกอบทุนปัญญา เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนามนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ โดยเฉพาะในยุคยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ และจากการที่ประเทศไทยมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศตามแนวคิด Thailand 4.0 ที่เน้นการขับเคลื่อนและพัฒนาทุกภาคส่วนด้วยองค์ความรู้ (Knowledge) นวัตกรรม (Innovation) ที่มีอยู่ในทุนมนุษย์ที่เป็น "คนไทย 4.0" ในการร่วมกันเป็นหน่วยย่อย ร่วมกันปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ให้เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เพื่อให้สามารถทำให้หลุดพ้นจาก "กับดักรายได้ปานกลาง" และ"กับดักความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง" ไปสู่ความมั่งคั่ง (Happy Money) ที่ยั่งยืนได้ ซึ่ง ทุนทางปัญญา อันมีทุนทางความรู้เป็นฐานสำคัญ คือคำตอบ และแต่ละองค์การ สามารถสร้างได้ด้วยวิธีการดังนี้

1. เสริมสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Creation) , แบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing, Happy to Share) จัดการความรู้ (Knowledge Management) ที่หมุนเกลียว เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ ให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีปัญญา มุ่งเน้นจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทบุคคล เทคโนโลยี และเครื่องมือการบริหาร ในศตวรรษที่ 21 ที่เรียกว่า KM 3.0

2. กิจกรรมสร้างและพัฒนาเครือข่าย ผสานพลังจากการรวมปัญญาของทุนมนุษย์ที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาทุนความสัมพันธ์/ทุนทางสังคม ให้เกิด Synergy ใหม่ ที่สร้างคุณค่าใหม่แบบเท่าทวี เช่น เครือข่ายวิจัย, ชุมชนนักปฏิบัติ เป็นต้น

3. สร้างวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing) เพื่อพัฒนาทุนโครงสร้างในองค์การ ที่เอื้อต่อการพัฒนาทั้งบุคลากร และศักยภาพขององค์กรไปด้วยกัน

จากการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับองค์ประกอบของการพัฒนาทุนทางปัญญา และการพัฒนาสุขภาวะของมนุษย์ ดังกล่าว ผู้เขียนได้ตั้งสมมติฐานว่าด้วยทุนทางปัญญา และสุขภาวะของมนุษย์ ที่มีความเกี่ยวข้องกันในเชิงความสามารถในการตอบสนองความต้องการของมนุษย์

ผู้เขียนจึงขอนำเสนอโมเดลเชิงสมมติฐาน ว่าด้วยการพัฒนาสุขภาวะของมนุษย์ ด้วยการประยุกต์การพัฒนาองค์ประกอบทุนทางปัญญา ที่มีความเชื่อมโยงกับทฤษฏีแรงจูงใจและความต้องการของมนุษย์ ปรับเปลี่ยน จากการเน้นวิธีลงทุนด้านเงินทุนหรือทรัพยากรที่ทำมากได้น้อย เช่น อุตสาหกรรมหนักที่เป็นอยู่ในแบบประเทศไทย 3.0 เปลี่ยนเป็นทำน้อยได้มาก ด้วยการม่งเน้นลงทุนในด้านทุนทางปัญญา และองค์ความรู้ เป็นปัจจัยสำคัญแทน เช่น นำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หรือ/และ นำมาขับเคลื่อนการรับใช้สังคม เป็นต้น

แนวคิดดังกล่าวในการพัฒนาองค์ประกอบทุนทางปัญญา เพื่อตอบสนองต่อสุขภาวะของมนุษย์ แสดงได้ตามโมเดลสมมุติฐานดังต่อไปนี้



คงพล มนวรินทรกุล

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

หมายเลขบันทึก: 612659เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2016 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2016 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท