การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT)


DLIT

DLIT ชื่อเต็ม Distance Learning Information Technology ชื่อภาษาไทย การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เจ้าของ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ผู้รับผิดชอบ สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน (สทร.) ผู้ร่วมดำเนินการ คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ครูและนักเรียนใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ โดยมีการจัดรูปแบบ เนื้อหา วิธีการและเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับยุคสมัย และสภาพปัญหาของโรงเรียน ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีสื่อในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งคลังสื่อประกอบการสอนและคลังข้อสอบ นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้มีการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาคุณภาพครู นำไปสู่การพัฒนาเยาวชนและการศึกษาอย่างยั่งยืน

2. เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาค เท่าเทียม กลุ่มเป้าหมาย

โลโก้ DLIT และควาหมาย


สัญลักษณ์มาจาก เครื่องหมาย “มากกว่า” ในคณิตศาสตร์สื่อความหมายว่า DLIT เป็นมากกว่า การศึกษาทางไกลและเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นวิธีการ แต่ DLIT คือ “คุณภาพ” ที่อยู่ในการศึกษา ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศอีกแง่มุมหนึ่ง สัญลักษณ์นี้มองได้เป็น หนังสือที่เปิดออก คล้ายกำลังบิน สื่อความหมายถึง ความพร้อมในการเรียนรู้อย่างอิสระ ทุกที่ ทุกเวลา ทุกเครื่องมือและทุกคน

คุณลักษณะเฉพาะของ DLIT

  1. Accurate ถูกต้อง
  2. User-friendly ใช้ง่าย เข้าใจง่าย
  3. Joyful มีความสนุกสนาน ชมหรือนำไปใช้แล้วทำให้มีความสุข
  4. Quality มีคุณภาพ
  5. Broad coverage มีความหลากหลายที่ตอบสนองความต้องการของครูทุกด้าน

คำอธิบายแต่ละรูปแบบของ DLIT

DLIT ประกอบด้วยกิจกรรม 5 รูปแบบ รายละเอียดมีดังนี้

1. DLIT Classroom ชื่อภาษาไทย ห้องเรียน DLIT (1) การถ่ายทอดการจัดการเรียนรู้หัวข้อเรื่องที่ยาก 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ได้แก่ 1) ภาษาไทย 2) คณิตศาสตร์3) วิทยาศาสตร์4) สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม 5) ภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากครูต้นแบบของโรงเรียนชั้นนำไปยังห้องเรียนปลายทาง เพื่อใช้เปิดสอนแทนหรือสอนควบคู่ไปกับครูในห้องเรียนปลายทาง โดยเฉพาะกรณีที่ครูปลายทางไม่ใช่ครู ตรงกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือครูประสบปัญหาการสอนหัวข้อเรื่องที่ยากมาโดยตลอด เมื่อเปิดห้องเรียน DLIT นักเรียนจะสามารถเรียนจากครูต้นแบบได้ซึ่งครูปลายทางสามารถชมวีดิทัศน์ห้องเรียน DLIT ได้ล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมสื่อหรือเอกสารต่างๆ ไว้เรียนไปพร้อมๆ กับครูต้นแบบ นอกจากการเผยแพร่ห้องเรียนคุณภาพ จากครูต้นแบบไปยังโรงเรียนปลายทางแล้ว ครูและนักเรียนปลายทางสามารถถามคำถามและพูดคุยกับครู ต้นแบบได้ผ่านเว็บไซต์ในส่วนของการถามตอบกับครูต้นแบบแต่ละคน โดยมีเนื้อหาประกอบด้วยหัวข้อเรื่อง ที่ยากใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ (2) การถ่ายทอดการสอนจากห้องเรียนต้นทางในโรงเรียนชั้นนำถ่ายทอดสดผ่านเครือข่ายยูทูบใน ช่องทางที่จัดไว้เป็นการเฉพาะไปยังห้องเรียนปลายทาง โดยโรงเรียนสามารถจัดตารางสอนในวิชานั้นๆ ให้ตรงกับห้องเรียนต้นทาง

2. DLIT Resources ชื่อภาษาไทย คลังสื่อการสอน คลังสื่อประกอบการสอนสำหรับครูนำไปใช้ในห้องเรียน แล้วทำให้นักเรียนเรียนรู้อย่างสนุกสนานและ เข้าใจบทเรียนมากขึ้นแก้ปัญหาเนื้อหาที่สอนยาก เป็นนามธรรม ไม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว มีการเชื่อมโยง และการติดตามผลที่ต้องการภาพวีดิทัศน์ในการทำให้เข้าใจรวมไปถึงแก้ปัญหาครูที่ไม่มีความพร้อมในการ ค้นหาและตัดต่อสื่อวีดิทัศน์ DLIT Resources คือสื่อประกอบการสอนที่ตรงกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูสามารถ น าไปใช้ในขั้นน าเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอนและขั้นสรุป ครูอาจจะใช้สื่อน าไปสู่ค าถาม หรือใช้สื่อเพื่อเฉลยคำตอบ คลังสื่อการสอน DLIT มีในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น วีดิทัศน์ประเภทสารคดี, วีดิทัศน์ประเภท Animation, Learning Object, Game และ Infographic เป็นต้น แหล่งที่มา 4 ด้านคือ (1) สื่อการสอนที่สพฐ.และหน่วยงานอื่นๆ มีอยู่แล้ว โดยได้ทำการรวบรวม จัดหมวดหมู่และเผยแพร่ (2) สื่อการสอนที่ผลิตใหม่ (3) สื่อการสอนที่ครูผลิตขึ้นเอง (4) สื่อการสอนจากต่างประเทศ โดยจะทำการรวบรวม คัดเลือก จัดหาให้ถูกต้องตามลิขสิทธิ์และ บรรยายเสียงภาษาไทย

3. DLIT Digital Library ชื่อภาษาไทย ห้องสมุดดิจิทัล เป็นคลังข้อมูลสำหรับนักเรียนในการค้นคว้าเนื้อหาที่นอกเหนือจากหนังสือเรียนและหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยจะเป็นห้องสมุดที่ความหลากหลายทั้งรูปแบบและเนื้อหา ในด้านรูปแบบ จะมีทั้งหนังสือ วีดิทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ในด้านเนื้อหา มีการแบ่งหมวดหมู่ที่ ตอบสนองความต้องการของนักเรียนในการเรียนรู้แบบโครงงาน รายวิชาเพิ่มเติม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ไม่แบ่งหมวดหมู่ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยในช่วงแรกของ DLIT จะเป็นการแนะนำเว็บไซต์ไทยและสากล ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีส าหรับนักเรียน และจะด าเนินการให้เป็นห้องสมุดดิจิทัลที่มีเนื้อหามากขึ้น แบ่งหมวดหมู่ ที่สะดวกต่อการค้นคว้าและการใช้งาน

4. DLIT Professional Learning Community (PLC) ชื่อภาษาไทย การพัฒนาวิชาชีพครู จากแนวคิด คุณภาพของเยาวชนจะไม่มากไปกว่าคุณภาพของครูการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งส าคัญมาก จึงได้ดำเนินการให้มีปัจจัยส าคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง คือ (1) สื่อวีดิทัศน์ที่ทำให้ครูได้เห็นแบบปฏิบัติการสอนที่ดีของครูคนอื่น เพื่อเป็นการเรียนรู้จากต้นแบบ ซึ่งสื่อวีดิทัศน์นี้น ามาจากรายการต่างๆ ของโทรทัศน์ครูที่มีแบบปฏิบัติการสอนที่ดีของครูไทยและครูทั่วโลก (2). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ Professional Learning Community ด้วย กิจกรรมแบ่งปันและเรียนรู้หรือ Share and Learn ทั้งกิจกรรมทางตรง(พบปะ) และกิจกรรมออนไลน์ (3) ระบบชี้แนะและพี่เลี้ยง หรือ Coaching and Mentoring โดยใช้กระบวนการของ Lesson Study และ Buddy

5. DLIT Assessment ชื่อภาษาไทย คลังข้อสอบ เป็นการรวบรวมคลังข้อสอบที่หลากหลาย ตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 และข้อสอบอื่นๆ เช่น O-NET, N.T., PISA เพื่อเป็นการประเมินตนเองได้ตลอดภาคเรียนและเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ตรงกับความสามารถ เฉพาะบุคคล


การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล
















ระบบคลังข้อสอบ

• ออนไลน์และออฟไลน์

• เน้นการประเมิน ความรู้ความเข้าใจ และทักษะ ระหว่างเรียน (Formative Assessment)

• ครอบคลุมตั้งแต่ชั้น ป.1ถึง ม.6 ทุกสาระ และ ทุกมาตรฐาน

แหล่งอ้างอิง

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าถึงได้จาก http://www.learn.in.th/wp-content/uploads/2015/10.

เอกสารประกอบการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง 18-19 กันยายน 2558.

จัดทำโดย

1. นางสาวพิมพร แคล้วคลาด รหัสนักศึกษา 58561802095

2. นางอโนทัย ทองส่องแก้ว รหัสนักศึกษา 58561802097

คณะครุศาสตร์ สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ระนอง

หมายเลขบันทึก: 611762เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2016 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2016 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท