R2R Education to Transformation


นึกถึงคำว่า reductionism ของ อ.หมอแทนค่ะ...ใคร่ครวญตาม

R2R ไม่ว่า Process หรือ Method จะมาในแนวไหนแต่ท้ายสุดผู้ทำวิจัยต้องเกิดสภาวะนอบน้อมและอ่อนโยน

มองโลกมองปัญหาด้วยความเข้าใจมากกว่าการเป็นเครื่องจักรในการผลิต Paper วิจัย...

อ.หมอสุธีเคยถามความเห็นมาสักพักต่อ R2R Edu สัญจร...ในทัศนะส่วนตัวมองว่า ...น่าจะเกิดปรากฏการณ์การรวมตัวและเคลื่อนไหว...อะไรบางอย่างที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีแห่งการเรียนรู้ ที่นำ R2R มาเป็นเครื่องมือในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น---R2R to Transformation...ทั้งผู้สอนและผู้เรียน

สิ่งสุดท้ายที่อยากเห็นคือ การตื่นรู้และเบิกบานอันเป็นผลจากการใช้เครื่องมือชิ้นนี้(R2R)...

ทำให้นึกถึงผลงาน R2R ของ ผศ.ดร.ภญ.นันทวรรณ จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่นำ R2R มาใช้โดยให้นักศึกษาคณะเภสัชที่ขึ้นฝึกงานทำ R2R ร่วมกับเภสัชกรที่อยู่ รพ. ฟังเรื่องเล่า(story telling)แล้วเห็นพลังของการเรียนรู้ทั้งผู้เป็นครูและนักเรียนเลยค่ะ


(ปัจจุบันเราทำวิจัยตามภาพ)

การขับเคลื่อน R2R ต้องนำไปสู่การช่วยให้เกิด Tranformation...เครื่องมือที่นำมาใช้ได้ดีมากๆ คือ Dialogue และ Reflection...--รวมไปถึง share&learning บางทีอาจารย์อาจต้องโน้มลงเปลี่ยนจากผู้บอกความรู้(สอนทฤษฎี)มาเป็น Facilitator ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง


แต่ถ้าเปลี่ยนมาเป็นภาพที่สองเกลียวความรู้จะเกิดหมุนติ้วๆ ในตัวบุคคล(อ.หมอแทนคงต้องมาช่วยเล่าต่อนะคะ)

....

อ.หมอแทน:

เห็นด้วยกับอาจารย์กะปุ๋มนะครับ R2R ไม่มี paradigm ที่ชัดเจน เพราะสลับกลับไปกลับมา ผสมผสานกันลงตัว ผ่านกระบวนการ Reflection

คือ ผมกลัวการ ที่ paradigm fixed จะไปปิดโอกาสการเรียนรู้หน่ะครับ

ที่ว่าไม่มี paradigmที่ชัดเจน นั้น

เพราะ R2R เป็น mixed methods ที่เกิดการหมุนวนของข้อมูลทั้ง quan & Qual ผ่านการทำ reflection นะครับ (ถ้าจะให้ใช้การนำเสนอว่าด้วย methodology)

ตรงนี้จะทำให้คนทำงานสบายใจมากขึ้น และเกิดการเรียนรู้ไปด้วยครับ

สำหรับผู้สอนเอา จะเข้าใจกนะบวรการคิดและวิธีสอนไปด้วยในตัว

งานวิจัยจบ กระบวนการคิดจึงไม่จบ

---

พ.ท.ดร.นพ.ทนงสรรค์ เทียนถาวร

2-08-2559

#KMR2RtoTransformation


คำสำคัญ (Tags): #r2r#km#transformation#r2r education
หมายเลขบันทึก: 611695เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2016 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2016 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท