SOA


SOA

Service-oriented architecture(SOA ออกเสียงเป็น "sō-uh" หรือ "es-ō-ā")  แสดงถึงมุมมองของสถาปัตยกรรมซอพต์แวร์ ถูกกำหนดโดยใช้รูปแบบของ loosely coupled (  ) เพื่อการบริการของซอพต์แวร์ เพื่อสนับสนุนความต้องการของกระบวนการทางธุรกิจ และซอพต์แวร์ที่สนับสนุนต่อยูสเซอร์ ในสภาวะแวดล้อมของ SOA ทรัพยากรบนระบบเครือข่ายสามารถหาประโยชน์ของบริการได้อย่างอิสระ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้โดยปราศจากความรู้เกี่ยวกับหลักการในการพัฒนาบนแพลทฟอร์มต่างๆ

service-oriented architecture เป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่สนใจเทคโนโลยีใดๆ โดยเฉพาะ และอาจถูกพัฒนาโดยใช้บนขอบเขตที่กว้าง ของความสัมพันธ์บนระบบพื้นฐานที่หลากหลาย เช่น RPC, DCOM, ORB หรือ Web Services

SOA สามารถพัฒนาโดยปราศจากโปรโตคอลใดๆ เช่น ใช้ระบบไฟล์เพื่อสื่อสารกับข้อมูลให้ตรงกัน สำหรับกำหนดส่วนติดต่อที่เลือกไว้ระหว่างการประมวลผลของข้อมูลที่ตรงกันของหลักการ SOA ปัจจัยหลักคือความเป็นอิสระของบริการกับการกำหนดส่วนติดต่อซึ่งสามารถเรียกเพื่อกระทำงานเหล่านั้นในทางพื้นฐาน ปราศจากความรู้ที่มีในบริการนั้นสำหรับการเรียนแอพพลิเคชั่น ปราศจากปราศจากความรู้ความเข้าใจของแอพพลิเคชั่นว่าแท้จริงแล้วบริการนั้นมันทำงานอย่างไร

SOA สามารถพิจารณาถึงรูปแบบของสถาปัตยกรรมบนระบบสารสนเทศซึ่งสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นที่ก่อให้เกิดการรวมกันระหว่างบริกการทาง loosely coupled และ interoperable บริการเหล่านี้กระทำบนพื้นฐานของรูปแบบที่ถูกกำหนด เช่น WSDL ซึ่งเป็นอิสระกับแต่ละแพลทฟอร์มและภาษาโปรแกรม การกำหนดส่วนติดต่อ มีการแบ่งแยกแต่ละส่วนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งจะไม่ส่งผลกับส่วนอื่นๆ และสามารถจัดการได้ง่าย เพื่อกำหนดตามการบริการแต่ละภาษา
ระบบ SOA-compliant เป็นอิสระกับการพัฒนาเทคโนโลยีและแพลทฟอร์มต่างๆ เช่น Java, .NET เป็นต้น บริการที่เขียนในภาษา C# ที่รันบนแพลทฟอร์มของ .Net และบริการที่เขียนในภาษา Java ที่รันบนแพลทฟอร์มของ Java EE สามารถใช้บนแอพพลิเคชั่นเดียวกันร่วมกันได้ เนื่องจาก แอพลิเคชั่นทำการรันได้บนทั้งสองแพลทฟอร์มซึ่งสามารถใช้งานบริการเพื่อรันบน Web Services อื่นๆได้ ซึ่งแสดงถึงความง่ายและสะดวกที่นำกลับมาใช้ใหม่

SOA สนับสนุนการรวบรวมหลายแพลทฟอร์มให้เป็นหนึ่งเดียว ภายในระบบที่มีความซับซ้อน แต่ SOA ไม่ทำการระบุหรือจัดให้มีวิธีการหรือเป็นเฟรมเวิร์คสำหรับเอกสารต่างๆหรือบริการนั้นๆ

ในภาาษาระดับสูง เช่น BPEL และรายละเอียดปลีกย่อย เช่น WS-Coordination เป็นส่วนขยายเพื่อส่งเสริมหลักการการบริการ โดยจัดให้มีวิธีการเพื่อกำหนดและสนับสนุน orchestration เพื่อปรับเปลี่ยนบริการโดยทั่วไปให้ใช้งานได้กับบริการทางธุรกิจ ซึ่งสามารถนำกลับมารวมไว้ด้วยกันในกระบวนการ workflow และทางธุรกิจ ซึ่งถูกพัฒนาใน composite applications หรือ portals

อ้างอิง

http://en.wikipedia.org/wiki/Service-oriented_architecture

 

 

Elements of SOA, by Dirk Krafzig, Karl Banke, and Dirk Slama. Enterprise SOA. Prentice Hall, 2005

Elements of SOA, by Dirk Krafzig, Karl Banke, and Dirk Slama. Enterprise SOA. Prentice Hall, 2005

คำสำคัญ (Tags): #soa
หมายเลขบันทึก: 61127เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 02:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 00:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท