เคยเขียนสร้างป่าไม่ต้องปลุกต้นไม้...กลับต้องมารับผิดชอบโครงการปลูกป่า (ซะงั้น)


โครงการ CSR: ความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการปลูกป่า

เคยเขียนก่อนหน้านั้นว่า อย่าปลูกป่าให้เปลืองงบเลย ธรรมชาติปล่อยไว้อย่าไปรบกวนมัน เดี๋ยวมันจะรักษาตัวเอง แต่แล้วอยู่ ๆ ให้ต้องมารับผิดชอบติดตามโครงการปลูกป่าของสำนักงานซะงั้น....

ภายใต้โครงการปลูกป่า ภายใต้โครงการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของรัฐวิสาหกิจ (Corporate Social Responsibility : CSR) เข้าใจว่าหลายๆ องค์กรทั้งส่วนหน่วยงานรัฐ เอกชน ต่างมีโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่าโครงการ CSR

แจกขนม แจกผ้าห่ม แจกอุปกรณ์กีฬา บริจาคโลหิต ปลูกต้นไม้ ทาสี สร้างห้องน้ำ กวาดลานวัดก็ว่ากันไปตามนโยบายแต่ละองค์กรและงบประมาณที่ได้จัดสรร

ในแต่ละปีองค์กร (ของเรา) ได้ดำเนินการหลายโครงการทั้ง บริจาคโลหิต มอบอุปกรณ์กีฬา ซึ่ง สำนักงานจังหวัดแต่ละจังหวัดได้ดำเนินการเป็นประจำเกือบทุกปี แต่จะมีโครงการใหญ่ร่วมกันจากสำนักงานใหญ่ (ส่วนกลาง)จะกำหนดขึ้นในแต่ละภาค

ในปีนี้ (ปี 58) เขตภาคเหนือจัดโครงการน้อมใจถวาย 6 ล้านกล้า ฟื้นฟูป่าอนุรักษ์ เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อลดภาวะโลกร้อน ร่วมกับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ต.บ่อเกลือเหนือ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน เนื้อที่ 60 ไร่ บนระยะทาง 90 กิโลเมตร ความชัด เฉลี่ย 30 องศา คดเคี้ยวหักศอกซ้อนๆ ซ้ำๆ ใช้เกียร์หนึ่งสลับเกียร์สอง เป็นระยะ ผู้ไม่คุ้นชินก็จงระมัดระวังในระดับขั้นสูงสุด

ขบวนพนักงานของ จังหวัดภาคเหนือทั้งหมดระดมพล ไปช่วยกันปลูกตามที่สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ฯ ได้จัดเตรียมไว้ให้ ซึ่งพื้นที่จำนวน 60 ไร่ ของโครงการเป็นพื้นที่ที่ได้ขอบริจาคคืนด้วยความสมัครใจจากเจ้าของที่เคยทำทำข้าวไร่เดิม

บอกไปแล้วไม่ค่อยเห็นด้วยกับการปลูกป่า แต่เรามาดูกระบวนการโครงการเพื่อการปลูกป่าครั้งนี้ ได้กำหนดรูปแบบในวงเงิน 350,000 บาท ได้ทำอย่างไร

ปีที่ 1 (2558)

ขั้นเตรียมการ ดำเนินการปลูกป่าต้นน้ำ ปลูกหวายเพื่อการสร้างป่า จำนวน 60 ไร่

สำรวจพื้นที่/รังวัดเขตแนว/จัดหากล้า/เตรียมพื้นที่ปลูก/ทำแนวกันไฟ

ขั้นดำเนินการ ดำเนินการปลูกป่า พร้อมใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม

ดำเนินการแผ้วถางวัชพืช ใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 1 ภายในสิงหาคม

ดำเนินการแผ้วถางวัชพืช ใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 ซ่อมแซมต้นที่ตาย ภายในเดือนกันยาย

ทำแนวกันไฟ

ปีที่ 2 (2559) ดำเนินการซ่อมแซมแนวกันไฟ จัดเวรยามเฝ้าระวังไฟ (เดือนพฤศจิกายน-เมษายน)

ถางวัชพืช พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ปลูกซ่อม เดือน พฤษภาคม

สำรวจ ซ่อมแซม พรวนดิน ใส่ปุ๋ย รอบ 2 เดือนกันยายน

ปีที่ 3 (2560)

ดำเนินการซ่อมแซมแนวกันไฟ จัดเวรยามเฝ้าระวังไฟ (เดือนพฤศจิกายน-เมษายน)

ถางวัชพืช พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ปลูกซ่อม เดือน พฤษภาคม

สำรวจ ซ่อมแซม พรวนดิน ใส่ปุ๋ย รอบ 2 เดือนกันยายน

กระบวนการ ขั้นตอนต่างๆ ใช้การจ้างบุคคลในพื้นที่ปฏิบัติการเป็นผู้ปฏิบัติการ ในฐานะผู้รับสัญญาจ้าง โดยการปฏิบัติเสร็จแต่ละครั้งจะมีตัวแทนจาก สำนักงาน (หนึ่งในนั้นคือผู้เขียน) ต้องไปตรวจรับทุกครั้งว่าผู้รับสัญญาจ้างได้ดำเนินการตามสัญญามั้ย เมื่อทำเรียบร้อย จะดำเนินการจ่ายเงินเป็นงวดๆ








- พื้นที่พร้อม..................พื้นที่พร้อม ผู้บริหาร พนักงาน จะรออะไรอีก ก็ลุยกัน (พ.ค.58)


1 ปีไว เหมือนโกหก.........ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ป่าดาวรุ่งเริ่มกลับมาอีกครั้ง ในฐานะผู้ตรวจรับ ก็ซาบซึ้ง

แล้วผลการตรวจรับแปลงปลูกป่าแต่ละครั้ง ปรากฏว่า

หมายเหตุ....บันทึกภาพเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2559 ภาพคนละมุมนะคับบบบ


แต่ความจริงคือ ต้นไม้ที่บรรจงปลูก ผ่านการดูแล รักษา ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืชให้


ที่เห็นนี้คือบางส่วนที่เหลือของต้นไม้ที่ได้ช่วยกันปลูกและอยู่รอดพ้น.....


แล้วที่เหลือจากนั้น.....คือ


.....โปรดสังเกตช่องว่าง ที่ว่างเปล่า...มีไม้หลักบ้างอย่างเดียวดาย เพราะต้นไม้ไปลาจากไปแล้ว

แล้วก็มีการปลูกซ่อม ตามสัญญา


สรุปโครงการ.................. จากดำเนินการมาแล้ว 1 ปี ยังไม่จบโครงการซึ่งยังเหลืออีกหนึ่งปี ตามสัญญา สรุปด้วยตัวเองแบบไร้หลักการใด ๆ ในฐานะผู้ติดตาม ตรวจรับงาน ว่า โครงการปลูกป่าฯ นี้โดยรวมถือว่าประสบผลสำเร็จ พื้นที่ๆ ที่ไม่มีป่าเริ่มกลับมาเขียวขจีให้ชื่นใจ

แต่เชิงลึกแล้ว

-ป่าดาวรุ่งที่เริ่มเติบใหญ่ ล้วนเกิดจากสารพันนานาชนิดพันธุ์พืช ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยใช้เวลาในหนึ่งฤดูฝน

-ต้นไม้ที่บรรจงปลูก ถางแนว พรวนดิน ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช.........ขอแค่ไม่ตายก็ถือว่าเป็นบุญกุศลคนปลุกแล้วคับ เรื่องโตค่อยว่ากัน เป็นเรื่องของอนาคต

-ปัจจัยสำคัญสุดคือความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ผ่านไปยังชาวบ้านที่มีส่วนร่วมเห็นความสำคัญจนร่วมบริจาคคืนพื้นที่ แล้วเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลป่าผืนนั้น แม้ต้นไม้ที่ปลูกไม่โต แต่แนวกันไฟหน้าแล้ง ช่วยได้เซฟชีวิตป่านั้น

-งบประมาณที่จ่ายไปเป็นค่าดูแลป่า ก็คือรายได้ของชาวบ้านผู้เคยถางป่าเพื่อทำการเกษตรเลี้ยงชีพมาเป็นการดูแลป่าเพื่อการจุนเจือเศรษฐครอบครัวแทน

-คนในเมือง คนปลายน้ำ ได้ผืนป่าคืน ได้ป่าต้นน้ำ ได้ความเขียวขจีคืนป่า พร้อมกับคนในพื้นที่ คนต้นน้ำ มีรายได้จากการดูแลป่าให้ แฟร์ๆ ผลประโยชน์ร่วมกันมั้ยละ

เพราะฉะนั้น สรุปของสรุปอีกทีคือ

1.การปลูกป่า อย่าเพียงแค่สร้างกระแส ถ่ายรูป ออกข่าว แล้วจบเลย ..............ไม่ได้ผล

2.ต้นไม้เพาะกล้า ต้นไม้ต่างถิ่น ยังไงการเจริญสู้ ไม้ธรรมชาติที่ขึ้นเองไม่ได้

3.ป่าอย่าปลูกเลย ให้มันเจริญเติบโตของมันเอง........แต่สำคัญอย่าไปรบกวนมันอีก ไม่ต้องใช้งบสักบาท

4.ถ้าจะใช้งบ คือทำแนวกันไฟน่าจะดีกว่า เพราะสำคัญต่อผืนป่าที่กำลังฟื้นฟู...

5.ความจำเป็นในการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ เพราะยังไงเสียคนพวกนี้ต้องอยู่พื้นที่ การดูแลติดตาม ได้ดียิ่งกว่าหน่วยงานไหนๆ ทั้งราชการและเอกชนใดๆ

6.ชาวบ้านมีความต้องกินต้องใช้ จะให้ดูแลป่าต้นน้ำฟรี คงจะใจดำ เอาเปรียบกันเกิน เพราะฉะนั้นตั้งงบประมาณให้ชาวบ้านเพื่อการดูแลป่าซะเลย รวมถึงองค์กร หน่วยงาน มูลนิธิต่างๆ ด้วย

หมายเลขบันทึก: 610230เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2016 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2016 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท