แด่ครูด้วยดวงใจ โดย ชาตรี สำราญ ตอนที่ 6/3 รู้ได้อย่างไรว่า รู้


ครู พึงรำลึกไว้เสมอว่า ความรู้สร้างได้ด้วยตนเอง โดย

  • มั่นใจว่าความรู้มีอยู่แล้วในตัวผู้เรียน
  • ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ผู้เรียนมีปฎิสัมพันธ์ต่อกันและกัน
  • ผู้เรียนเรียนแบบร่วมมือ
  • ไม่มีคำตอบถูก - ผิด
  • เน้นการเปลี่ยนแปลงมโนมติ
  • ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายสิ่งที่เรียนรู้
  • ใช้การประเมินที่หลากหลาย
  • ผู้เรียนทำนายผลการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
  • ผู้เรียนเรียนรู้แบบกลุ่ม ร่วมอธิบายข้อค้นพบและข้อสรุป
  • ผู้เรียนกับครูร่วมตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ
  • ผู้เรียนสร้างขั้นตอนกิจกรรมเพื่อเรียนรู้เอง
  • ผู้เรียนเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอนกิจกรรมที่วางไว้ เพื่อท้าทายการเรียนรู้ของตน
  • ครูเป็นผู้เปลี่ยนแปลง ผู้เรียนเป็นผู้ทดลอง ผู้สอนและผู้เรียน เป็น ผู้วิจัย*
  • สุดท้ายแล้วผู้เรียนต้องบันทึกร่องรอยการเรียนรู้ของตนเป็น “ตำราเรียนที่ผู้เรียนเขียนเอง

*วิจัย คือประเมินผลความก้าวหน้าการเรียนรู้ของตน


การเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เรียนจากผู้รับมาเป็นผู้เรียนรู้ เขาจะต้อง

เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนฟังได้

เป็นผู้ร่วมจัดประสบการณ์การเรียนรู้

เป็นผู้ร่วมเรียนรู้

เป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง

เป็นผู้รู้จักจัดการข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้าได้

เป็นผู้พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ สรุป และคิดนอกกรอบได้

เป็นผู้พร้อมที่จะปะทะกับสถานการณ์จริง

เป็นผู้นำความรู้มาใช้แก้ปัญหาใหม่ได้

เป็นผู้ถือว่าการเรียนรู้คือชีวิต

เป็นผู้แสวงหาวิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาเพื่อการเรียนรู้


พฤติกรรมของผู้รักการเรียนรู้

  • ผู้เริ่มเรียนรู้ที่เริ่มจะรู้เรื่องที่เรียน มักจะมีปัญหามาถามบ่อยๆ ถามแบบเจาะลึกลงไปเรื่อยๆ
  • คำถามจะไม่วกวนอยู่ที่เดิม จะถามเพื่อรู้เรื่องไปข้างหน้า
  • ทุกคำตอบที่ได้มาจะสรุปเป็น เรื่องที่เรียนรู้เพิ่ม
  • เมื่อ อิ่ม ต่อเรื่องที่เรียนรู้เรื่องนั้น จะนิ่ง แต่นิ่งแบบรู้ แบบพร้อมที่จะขยายความรู้ที่ตนรู้ ให้ผู้อื่นรู้ต่อ และตนเองจะรู้แน่นขึ้นภายหลังที่อธิบายให้ผู้อื่นฟัง
  • การขยายความรู้จะชัดเจน อธิบายตรงเรื่องที่จะให้ผู้อื่นรู้ มีตัวอย่างประกอบการนำเสนอ หลากหลายตรงประเด็น สรุปบทเรียนได้ชัด มองเห็นภาพความรู้ความคิด

พฤติกรรมของผู้เรียนที่รู้จริง

  • สามารถสรุปสิ่งที่รู้เป็นความคิดรวบยอด แบบหลักการสัมพันธ์ได้อย่างชัดเจน
  • สามารถสร้างชิ้นงานอย่างมีคุณภาพ
  • สามารถอธิบายวิธีการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องทุกขั้นตอนอย่างชัดเจน
  • สามารถนำสิ่งที่รู้มาอธิบายได้ชัดเจน สมเหตุสมผล มีตัวอย่างประกอบหลากหลาย
  • สามารถบอกความรู้สึกที่มีต่อการเรียนรู้ได้

อ่านเป็นเล่มได่ที่นี่ครับ https://sites.google.com/site/chatreesamran/-2559

หมายเลขบันทึก: 610102เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2016 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2016 08:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท