เกี่ยวกับ Story Telling


ใครเคยรู้สึกว่า มีอะไรบางอย่างอยู่ในใจ แต่ไม่สามารถพูดได้ หรือ บอกเล่าให้ใครๆ ได้เข้าใจบ้างรึป่าว??

มีใครเคยอยากจะอธิบายให้ใครฟัง หรือรับรู้ แต่ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร??

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ มันยากที่จะพูดหรือจะเขียนออกมาจากความรู้สึก หรือ ความคิดของเรา

บางครั้งเรากลัว หรือไม่กล้าที่จะแสดงว่า เรามีความรู้มากน้อยขนาดไหน

การใช้เครื่องมือ เช่นที่กำลัง ใช้อยู่นี้ เป็นเครื่องมือที่ดี ในการที่จะทำกิจกรรมดังเช่นที่กล่าวมาแล้ว

การอธิบาความรู้โดยการเล่าเรื่องเป็น สิ่งที่ ทำได้ง่ายโดยหลักการ แต่ว่ายากในทางปฏิบัติ แต่ว่า

การใช้ blog เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เรามีทักษะในด้านนี้

อันที่จริงความรู้ของคนเรามาจากความรู้ทางอ้อมและความรู้ทางตรง
ความรู้ทางอ้อม คือ ความรู้ที่ได้มาจากพ่อแม่ ในห้องเรียน จากคุณครู อาจารย์
จากผู้ที่มีประสบการณ์ และความรู้ที่อ่านในตำรา ในการเขียนบทความ หรือ Blog
ที่เราๆ ท่านๆ เขียนอยู่นี้ ล้วนต้องผ่านการอ่านการค้นคว้า  รวบรวมข้อมูลข่าวสารจาก
ตำรับตำรา นำมาแปล รวบรวม เรียบเรียง คัดลอก คัดกรองหาข้อเท็จจริง จากนั้นก็นำมา
จัดระบบ ปรับขั้นตอนเป็นความเข้าใจ บวกข้อคิดและประสบการณ์ที่เป็นจริงของตนเอง
มาร้อยเรียงเป็นคำพูด และเป็นตัวหนังสือออกมา

 บทความหรือข้อเขียนจะเป็นระบบ เนื้อหาสมบูรณ์ รอบด้าน และมีสำนวนภาษา
ที่ไพเราะ ไหลลื่น น่าอ่าน มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับระดับความรอบรู้ ความสามารถ รวมทั้ง
ลีลาของคนเขียนแต่ละท่าน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนัก...แต่ยังมีเรื่องที่ยากยิ่งกว่า คือ การนำไปใช้
กับความเป็นจริง ซึ่งมีความสลับซับซ้อนนอกเหนือจากที่ตำรากล่าวไว้อีกมากมาย

หันมาเขียน blog กันมากๆ เถอะครับ ผมคิดว่า มันมีประโยชน์ เขียนโดยใช้วิธี Story Telling นี่แหละ

วันนี้ คุณเขียน blog หรือ เข้ามาอ่านข้อความของเพื่อนๆ แล้ว หรือยัง ....

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 609เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2005 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท