ประวัติหมู่บ้าน


ประวัติบ้านเหล่าโพนทอง

บ้านเหล่าโพนทอง ตำบลบ้านหว้า มีประวัติและความเป็นมาจากที่สอบถามข้อมูลจากคนเก่าแก่พอจะเรียบเรียงได้ว่าบ้านเหล่าโพนทองเดิมมีชาวบ้านซึ่งอพยพมาจากที่อื่น3กลุ่มคือ ในราวปี พ.ศ.2420 มีกลุ่มอพยพกลุ่มแรกซึ่งหนีโรคระบาด จากบ้านดอนหันมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหัวไร่ปลายนา (คุ้มหลุบป่าแฝก) ปี พ.ศ.2425 กลุ่มที่สองอพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานี(มาพร้อมกับกลุ่มที่ปักหลักที่เมืองเก่าและบึงแก่นนคร)มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณคุ้มบ้านโต้น(ปัจจุบันเป็นหมู่ที่12)และในปี พ.ศ.2455 กลุ่มที่สาม อพยพมาจากเมืองเก่ามาอยู่คุ้มหนองเขี่ยน เหตุที่ได้ชื่อหมู่บ้านว่า บ้านเหล่าโพนทอง เนื่องมาจากพื้นที่ที่หมู่บ้านเป็นที่ดอนและเป็นเหล่า(“เหล่า” หรือ"ซุม” คือพื้นที่ดอนที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่ประปราย)ในตอนเช้าเเมื่อชาวบ้านออกไปประกอบอาชีพนอกบ้าน ขณะที่มองกลับมายังหมู่บ้านที่เป็นที่ดอนซึ่งถูกแสงอาทิตย์ส่องเป็นประกายสีเงินและสีทองสะท้อนออกมา สวยงามมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่าบ้านเหล่าโพนทอง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ต่อมาเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น นายสุข พาวันทา ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านในตอนนั้นได้แบ่งหมู่บ้านออกเป็น 2 หมู่เพื่อให้ง่ายต่อการปกครองคือ หมู่ที่ 7บ้านเหล่าโพนทองเดิม และหมู่ที่12โดยใช้ถนนเส้นคุ้มหนองเขี่ยนเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านเหล่าโพนทองมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

1.ทิศเหนือ จดกับ บ้านโคกสูง ตำบลบ้านหว้า และ ตำบลบ้านเป็ด

2.ทิศใต้ จดกับ บ้านหัวบึง ตำบลดอนช้าง

3.ทิศตะวันออก จดกับ บ้านดอนช้าง ตำบลดอนช้าง

4.ทิศตะวันตก จดกับ บ้านหว้า ตำบลบ้านหว้า

จำนวนครัวเรือนในหมู่บ้านในขณะนั้นมีทั้งหมด 295 ครัวเรือนมีประชากรทั้งสิ้นประมา1,177 คน เป็นชาย 549คน เป็นหญิง 628 คน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยแรงงาน การประกอบอาชีพ ประชากรร้อยละ100 ยึดอาชีพการเกษตร (ทำนา,เลี้ยงสัตว์) ผลผลิตข้าวต่อไร่ ประมาณ 300 -450 กิโลกรัม มีพื้นที่ในการทำนาทั้งสิ้น 2,046ไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.35 ของพื้นที่ตำบลทั้งหมด และ พื้นที่ของที่พักอาศัยรวมประมาณ 1,089 ไร่ โดยเอกสารสิทธิ์ส่วนใหญ่เป็น โฉนด สภาพทั่วไปของดินที่พบปัญหาในด้านคุณภาพ ได้แก่ หน้าดินถูกชะล้าง ดินดาน และดินเค็ม ปัญหาสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากดินได้ไม่เต็มที่ก็คือประชาชนขาดความรู้ในการพัฒนาการเกษตร การขาดแรงงานหลัก ปลูกพืชไม่คุ้มทุน และไม่มีความรู้ในด้านอื่น แรงงานในภาคการเกษตรเป็นวัยช่วงอายุ 40ปีขึ้นไป

ทรัพยากรแหล่งน้ำที่สำคัญในหมู่บ้าน

1. หนองเขี่ยน อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน มีพื้นที่ประมาณ 5 – 6 ไร่ใช้รดพืชผลทางการเกษตร มีน้ำตลอดปี

2. แก่งน้ำต้อน อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านเป็นกุด (กุดคือ บึง หรือลำน้ำที่ปลายด้วน) น้ำมาจากแม่น้ำชีไหลเข้ามาจึงเป็นแอ่งน้ำ มีน้ำตลอดปี และได้มีการขุดลอกเพื่อพักน้ำ แต่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ชาวบ้านบางกลุ่มก็ยึดอาชีพจับปลา เพื่อขายและบริโภค

3. สระใหญ่ อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านมีเนื้อที่ประมาณ 2 – 3 ไร่ปัจจุบัน มีน้ำตลอดปี มีการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรเพียงเล็กน้อย

4. ห้วยน้อย อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน เป็นลำธารไหลผ่านประโยชน์โดยหลักคือ ให้สัตว์ดื่มกิน และทำการเกษตรในบริเวณใกล้เคียง มีน้ำตลอดปี

5.ฮองเหมียงอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านเป็นลำธารไหลผ่านประโยชน์โดยหลักคือให้สัตว์ดื่มกิน และทำการเกษตรในบริเวณใกล้เคียง มีน้ำตลอดปี

ป่าไม้ในหมู่บ้านมีเพียง ป่าช้าเหล่าโพนทอง (ศูนย์ปฏิบัติธรรม) มีเนื้อที่ประมาณ 46 – 47 ไร่ ไม่มีการใช้ประโยชนจากป่าเนื่องจากเป็นพื้นที่ๆ ประชากรเคารพ

วัดประจำหมู่บ้านคือวัดโพธิ์ทองและโรงเรียนบ้านหว้าเหล่าโพนทองเป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้าน



http://engon.yolasite.com/Laopoonthong.php

คำสำคัญ (Tags): #วิชาพัฒนานิสิต
หมายเลขบันทึก: 608994เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2016 00:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2016 00:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท