ระบบไร้รอยต่อใจร้อยใจต่อการเข้าถึงระบบริการผู้ป่วยจิตเวชยโสธร


ชื่อ Best Practice Service Plan “ระบบไร้รอยต่อใจร้อยใจต่อการเข้าถึงระบบริการผู้ป่วยจิตเวชยโสธร"

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ทิศทางการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิต ของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการดูแลและเข้าถึงระบบบริการสุขภาพทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต โดยกำหนดร้อยละของผู้มีปัญหาสุขภาพเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ ดังนี้ 1) โรคจิต ร้อยละ 55 2) โรคซึมเศร้า ร้อยละ 43 3) Autistic/ADHD ร้อยละ 15/15 และ 4) ผู้ประสบภาวะวิกฤติกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 80

เครือข่ายงานสุขภาพจิตจังหวัดยโสธร ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนพัฒนางานระบบบริการผู้ป่วยจิตเวช ได้วิเคราะห์ปัญหาและวางแผนร่วมกัน พบว่า ปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การทำงานบรรลุตามเป้าหมายได้ คือ การลดรอยต่อและเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานตั้งแต่ระดับตติยภูมิ ทุติยภูมิ และปฐมภูมิ ขับเคลื่อนการทำงานอย่างเป็นระบบ ดังนั้น จึงได้พัฒนาระบบ " ไร้รอยต่อใจร้อยใจต่อการเข้าถึงระบบริการผู้ป่วยจิตเวชยโสธร" ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือและเข้าถึงระบบบริการได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของระบบไร้รอยต่อใจร้อยใจต่อการเข้าถึงระบบริการผู้ป่วยจิตเวชยโสธร

วิธีดำเนินการ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) พื้นที่เป้าหมายในการศึกษาได้แก่ กลุ่มงานจิตเวชโรงพยาบาลยโสธร โรงพยาบาลชุมชนจำนวน 8 แห่ง และเขตอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ระยะที่ 1 ระยะวางแผน(Plan) : เป็นระยะศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ระบบ ระยะที่ 2 ระยะพัฒนาระบบ(Action) : ระยะพัฒนาระบบ ระยะที่ 3 ระยะประเมินผล( Observation) : ระยะประเมินผลการพัฒนาระบบ ระยะที่ 4 ระยะสะท้อนข้อมูล(Reflection) : การสะท้อนผลการศึกษาคืนกลับสู่คณะทำงานในเครือข่าย

ผลการดำเนินการ 1) มีการจัดอบรมการใช้แบบคัดกรองและแบบประเมินทางด้านสุขภาพจิตให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และทุกระดับ 2) พัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยการประชุมวิชาการ โครงการติดตามเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเครือข่ายเพิ่มศักยภาพและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทั้งแพทย์ พยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช 3) มีจิตแพทย์ออกตรวจเดือนละ 1 ครั้ง และมีการจัดระบบการให้คำปรึกษาผู้ที่มีความชำนาญกว่าทั้งแพทย์และพยาบาลทางโทรศัพท์ตลอด 24ชม. มีศูนย์ส่งต่อเพื่อประสานงาน สามารถที่ Fast tack โดยตรงที่กลุ่มงานจิตเวช มีทีมส่งต่อไปยัง โรงพยาบาลที่มีศักยภาพที่สูงกว่า 3) ระบบข้อมูล มีการเชื่อมโยงข้อมูลได้ดีขึ้นสื่อสารรวดเร็วมีแนวทางการ Consult ชัดเจนเป็นระบบ มีคู่มือและแนวทางการส่งต่อ ในภาวะวิกฤติจิตเวชฉุกเฉินด้วยระบบ Fast track psychi ตามCPG ที่กำหนด จากการวิเคราะห์รูปแบบการดูแลที่ปฏิบัติ ตามข้อกำหนดในแนวทางการดูแลที่พัฒนาขึ้น สามารถช่วยให้ระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพเพิ่มขึ้น

อภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่มีนำมาสู่การผลักดันให้เกิดเป็นประเด็นของการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น การทำงานที่เชื่อมโยงและลดรอยต่อผสานให้ความลื่นไหลในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยให้เข้าถึงระบบบริการมากขึ้นสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงนโยบาย

ความภาคภูมิใจ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น การขาดแคลนจิตแพทย์ และนักจิตวิทยาคลินิค แต่กระบวนการพัฒนางานก็ยังคงสามารถดำเนินไปอย่างไม่หยุดยิ่ง มีการเคลื่อนไหวเป็นพลวัตรอย่างต่อเนื่องและที่สำคัญทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงระบบบริการได้

หมายเลขบันทึก: 608125เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2016 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2016 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท