ภูมิปัญญาเพาะเลี้ยงปลากัดด้วยลูกขนุน


ในทีมงานพี่นวยมีท่านผู้อาวุโสอารมณ์ดีคือน้ารัสหรือนายจรัส หนูเสนผู้ทรงภูมิปัญญาเรื่องปลากัด

                         พี่อำนวย   ศิริสวัสดิ์  ประธานชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการอำเภอตะโหมด ได้แวะเวียนมานั่งคุยที่สถานีอนามัยเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ย่อยๆ คุยไปหัวเราะไป   แกล้มด้วยกาแฟซอง พูดไปพูดมาไปออกปลากัด พี่นวยแกชอบเลี้ยงกัดเรียกได้ว่านักเลงปลากัดเรียกพี่

                        ในทีมงานพี่นวยมีท่านผู้อาวุโสอารมณ์ดีคือน้ารัสหรือนายจรัส     หนูเสนผู้ทรงภูมิปัญญาเรื่องปลากัด พี่นวยเล่าว่าน้ารัสท่านได้เพาะเลี้ยงปลากัดในบ่อใต้ต้นขนุนข้างบ้าน  ในบ่อมีลูกขนุนตกใส่แช่อยู่นานไม่รู้ว่าแช่อยู่เมื่อไหร่ ไม่ได้สนใจ ก็เลยปล่อยพ่อพันธ์แม่พันธ์ลงไป  ด้วยความที่เป็นคนช่างสังเกตุ ลูกปลาตัวเล็กๆที่ออกจากไข่ไปเกาะอยู่ที่ลูกขนุน เฝ้าสังเกตุอยู่ทุกวันจนปลาเริ่มโตมองเห็นเป็นครีบ และน้ารัส ก็ไม่ได้ให้อาหารอะไรเห็นชัดว่าลูกปลากัดกินเนื้อขนุนที่เปื่อยจนโต  จนกัดได้

                         ทีนี้น้ารัสเอาใหม่พิสูจน์ใหม่เอาลูกขนุนอ่อนใส่ไปพร้อมพ่อพันธ์แม่พันธ์เจ็ดวันผ่านไปน้ำเน่าเสียจากยางของขนุนปลากัดตายหมด ก็เป็นปัญหาที่น้ารัสต้องขบคิดเป็นเพราะอะไร

                         คราวนี้เอาใหม่ พอคิดได้ว่าปัญหาน่าจะมาจากขนุนแน่นอน  น้ารัสก็เลยเอาลูกขนุนอ่อนไปแช่น้ำทิ้งไว้จนน้ำใส ไม่เหม็นไม่มีกลิ่นกินเวลาประมาณ  1-2 เดือน  อาจจะขึ้นอยู่กับขนาดของลูกขนุนและปริมาณน้ำที่แช่  แล้วจึงนำไปใส่ในบ่อเพาะพันธ์ปลากัดที่เตรียมพ่อพันธ์แม่พันธ์ไว้แล้ว พอแม่พันธ์ออกไข่หมดพ่อปลากัดจะเก็บไข่ไนหวอดจะเฝ้าไข่และเริ่มไล่ตัวเมีย  เพราะธรรมชาติปลากัดตัวเมีย จะกินไข่ตัวเอง       ในช่วงที่ปลาออกจากไข่ได้ 7-10 วันให้ใช้มือแบะเนื้อลูกขนุนออกเพื่อให้ลูกปลาได้กินเนื้อขนุนเป็นอาหารได้สะดวก   ปรากฏว่าได้ผลเหมือนกับตอนที่เพาะเลี้ยงโดยบังเอิญในคราวแรก  อายุลูกปลา 7-10 เดือนก็นำไปเลี้ยง ไปแต่งพร้อมที่จะขายพร้อมที่จะกัด  ถ้าจะให้ดีพี่นวยบอกว่าให้อายุครบ  10 เดือนปลาจะเหนียว มีเขี้ยว กัดไม่ออก ไม่เปื่อยถ้าใจสู้  ทน  กัดนาน ก็จะสุดยอดเรียกได้ว่าเป็นยอดปลา

                         นี่ก็เป็นหนึ่งภูมิปัญญาที่น้ารัสค้นพบและได้ถ่ายทอดผ่านคนที่รักปลากัดอย่างพี่นวย  เท่าที่ผมตรวจสอบดูในเบื้องต้นก็คิดว่าน้ารัสเป็นท่านแรกที่เพาะพันธ์ปลากัดด้วยวิธีนี้    ท่านใดสนใจลองเอาไปทำดูนะครับ   ได้ผลอย่างไรแลกเปลี่ยนกันได้ครับ  แต่เรื่องปลากัดของพี่นวยยังมีอีกเยอะ จะให้พี่นวยเล่าในบล็อกเองก็แล้วกัน เร็วๆนี้

                         

หมายเลขบันทึก: 60714เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่ทราบบทความเรื่องเกี่ยวกับการเพาะปลากันมีอีกใหมครับจนใจมากครับเพราะตอนนี้อยู่บ้านป่าวๆอยากหารายได้เสริมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท