ความแตกต่างของวิกฤตการเงินโลกปี 2551 กับวิกฤตในปี 2540


สาเหตุของปัญหาแตกต่างกัน เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า วิกฤตการเงินในรอบนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ม) ในสหรัฐฯ ที่ได้แผ่ขยายลุกลามไปยังสินเชื่อประเภทอื่น ๆ และส่งผลกระทบต่อฐานะการดำเนินงานของสถาบันการเงิน จนกระทั่งนำมาสู่การขาดความเชื่อมั่นต่อสถาบันการเงิน รวมทั้งปัญหาสภาพคล่องในระบบการเงินทั่วโลก โดยทั้งการดิ่งลงของดัชนีหุ้นไทยและการอ่อนค่าของเงินบาทนั้น ก็ล้วนเป็นผลจากการที่นักลงทุนต่างชาติพยายามที่จะขายสินทรัพย์ของตนเพื่อที่จะหาสภาพคล่องในรูปเงินดอลลาร์ฯ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวก็ได้เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นอื่น ๆ ทั่วภูมิภาคเช่นเดียวกัน ในขณะที่วิกฤตต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในปี 2540 นั้น เป็นผลจากภาวะฟองสบู่จากการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นไทยที่ได้แตกตัวลง หลังจากที่นักลงทุนต่างชาติไม่เชื่อมั่นต่อความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศของไทย โดยเฉพาะภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) โดยความไม่เชื่อมั่นดังกล่าว ได้นำมาสู่การไหลออกของเงินทุน และการคาดการณ์ของตลาดที่ว่าในที่สุดแล้ว ทางการไทยคงจะต้องยอมปรับค่าเงินบาทให้สะท้อนพื้นฐานที่เป็นจริงของเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า วิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 เกิดขึ้นจากปัญหาเศรษฐกิจของไทยเองเป็นหลัก ในขณะที่วิกฤตการเงินโลกในรอบนี้ เศรษฐกิจไทยถูกกระทบผ่านกลไกการเงินโลกที่กำลังเผชิญกับวิกฤตสภาพคล่อง ในขณะที่ทุกประเทศในภูมิภาคเอเชีย ก็ต่างล้วนเผชิญกับปัญหาการเคลื่อนย้ายเงินทุนและการแสวงหาสภาพคล่องในรูปเงินดอลลาร์ฯ ในลักษณะเดียวกับที่ไทยประสบอยู่เช่นกัน

อ้างอิง : http://positioningmag.com/44065

หมายเลขบันทึก: 605929เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016 07:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016 07:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท