ลงพื้นที่ครั้งที่ 8


ทำไมถึงทำ (จุดเปลี่ยน)

ไม่เคยทำนามาก่อน และเรียนจบสาขาช่างเชื่อมมาด้วยซ้ำ "ผมมารู้จัก ตำบลเจดีย์หัก เพราะตามเพื่อนมาเที่ยวสมัยบวชเป็นพระ ชอบที่วิถีชีวิตความเป็นชนบท ชีวิตจึงผูกพันกับตำบลเจดีย์หัก มาตั้งแต่ ปี 2523" เมื่อสึกออกมาจากการบวชเป็นพระ และได้ทำงานเป็นวิทยากรให้กับศูนย์ฝีมือแรงงานจังหวัดราชบุรี สอนเกี่ยวกับการทำดอกไม้ประดิษฐ์ ตระเวนสอนไปทุกจังหวัดในเขตภาคตะวันตก "จากที่ผมเดินทางไปยังที่ต่างๆ ทำให้ผมได้รับรู้ถึงจุดด้อยจุดแข็งของชุมชนแต่ละพื้นที่ ซึ่งได้กลายมาเป็นสิ่งหนึ่งของการนำมาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ตำบลเจดีย์หักในโอกาสต่อมาสิ่งที่ทำคือ การประมวลนำองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับชุมชน จากประสบการณ์ของการเดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ ของภาคตะวันตก ซึ่งได้เห็นจุดอ่อน จุดแข็งของทุกชุมชน ทุกอย่างถูกนำมาคิดเป็นองค์รวมปรับแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตำบลเจดีย์หัก ปลายปี 2544 จุดประกายของการพัฒนาได้ก่อเกิดขึ้นโดยเริ่มจากการทำแผนแม่บทชุมชน โดยการสนับสนุนจากหน่วยงานในพื้นที่จากแผนแม่บทชุมชน ได้กลายเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานพัฒนา โดยมุ่งเป้าไปยังเรื่องของการประกอบอาชีพ สภาพชีวิตความอยู่ สิ่งแวดล้อมรอบตัวการมีแผนแม่บทชุมชน ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญของการก้าวไปสู่ความสำเร็จ

หมายเลขบันทึก: 605871เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท