แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจีนและแนวทางการปรับตัวของธุรกิจไทย


ภาวะเศรษฐกิจจีน

การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนลากยาว ส่งผลให้การฟื้นตัวของการส่งออกและการบริโภคในประเทศของไทยล่าช้าออกไป และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 3 รวมถึงกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะต่อไป
หลังจากที่มาร์กิตและไฉซินประกาศดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตเบื้องต้นของจีน ลดลงแตะ 47.0 ในเดือนกันยายน ต่ำสุดในรอบ 78 เดือน ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปิดในแดนลบ เนื่องจากมีความกังวลว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าร้อยละ 7 ในปีนี้ ชะลอลงเมื่อเทียบกับทศวรรษก่อนที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10 และจากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศพบว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลงเหลือร้อยละ 6 ในอีก 2 ปีข้างหน้า แน่นอนว่าภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด การชะลอลงของจีนย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ รวมถึงไทยที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกับจีนและมีความสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด
อุปสงค์ในประเทศจีนที่ชะลอลง นอกจากจะทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศลดลงแล้ว ยังมีส่วนทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกลดลงด้วย เนื่องจากจีนเป็นผู้บริโภคสินค้าโภคภัณฑ์อันดับต้นๆของโลก ไม่ว่าจะเป็นอลูมินัม เหล็ก ทองแดง ตะกั่ว และสินค้าเกษตรอย่างยางพารา

เห็นได้ชัดว่าเศรษฐกิจจีนที่ชะลอลงนั้น กระทบมายังเศรษฐกิจไทยหลากหลายช่องทาง และเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้ที่อาจขยายตัวต่ำกว่า นอกจากนี้ ผลกระทบจากการชะลอลงของเศรษฐกิจจีนจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปในช่วง 2 - 3 ปีนี้อย่างแน่นอน ในภาวะที่ภาคการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนถูกกดดันจากปัจจัยภายนอก หากเครื่องยนต์การลงทุนภาครัฐและการท่องเที่ยวที่ประคับประคองเศรษฐกิจไทยหมดกำลังลง จะทำการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปจะต้องเผชิญความเสี่ยงมากขึ้น

ที่มา http://www.efinancethai.com/LastestNews/index.aspx?ref=A&id=LNWy/anCm7g=&year=2015&month=9&lang=T

แนวทางการปรับตัวของธุรกิจไทย

ในส่วนของภาครัฐได้เห็นความสำคัญของการเร่งผลักดันปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมเพื่อเสริมสร้าง ความเข้มแข็งและยกระดับความสามารถการแข่งขันของประเทศในระยะยาว ที่สำคัญได้แก่ การลงทุน โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่การสนับสนุนการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม การส่งเสริมธุรกิจที่ทำวิจัยพัฒนา และ การปรับโครงสร้างเชิงสถาบันเพื่อเพิ่มความโปร่งใส (Transparency) เช่น การปฏิรูปเกณฑ์ส่งเสริมการลงทุน ของ BOI หรือ การปฏิรูปเพื่อปราบปรามคอร์รัปชั่นโดยเน้นกระบวนการตรวจสอบที่รัดกุมขึ้น ซึ่งในระยะสั้น อาจจะมีปัญหาความล่าช้าในบางโครงการบ้าง แต่ในระยะยาวจะเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ

ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โครงสร้างการค้าไทย-จีน ยังคงเอื้อ ประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย สินค้าส่งออกของไทยไปจีนประมาณครึ่งหนึ่งเป็นสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าจ าเป็น และจีนไม่สามารถผลิตเองได้เพียงพอกับความต้องการ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจึงไม่น่าส่งผลต่อการ ส่งออกในส่วนนี้สินค้าส่งออกของไทยไปจีนอีกกึ่งหนึ่งเป็นสินค้าที่จีนนำเข้าไปผลิตเพื่อส่งออก (re-export) ซึ่ง น่าจะได้ผลดีจากการปรับลดค่าเงินหยวน เมื่อพิจารณาด้านการแข่งขันทางการค้า จีนถือเป็นคู่ค้าของไทยมากกว่าคู่แข่ง ขณะที่ตลาดส่งออก ของทั้งสองประเทศก็ไม่ทับซ้อนกันมาก จีนเน้นส่งออกตลาด G3 ส่วนไทยพึ่งพาการส่งออกไปตลาดอาเซียน และจีน สัดส่วนการส่งออกไปตลาดที่แข่งขันกันมีเพียงประมาณ 3.3% ของการส่งออกรวมของไทยเท่านั้น นอกจากนี้ค่าเงินหยวนที่อ่อนลงเอื้อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถนำเข้าเครื่องจักรจากจีนได้ในราคาที่ถูกลง เช่นเดียวกับวัตถุดิบบางประเภทซึ่งไทยผลิตเองไม่ได้ทั้งหมด เช่น เหล็กและเคมีภัณฑ์ ทางด้านการท่องเที่ยว แม้จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบบ้าง แต่ประสบการณ์ที่ผ่าน มาชี้ว่าหากสถานการณ์สามารถควบคุมได้การท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้ภายใน 2-3 เดือน ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศ ไทยยังถือว่าเป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวจีน และจ านวนนักท่องเที่ยวจากจีนยังมี ศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก ผลของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนที่จะส่งผ่านมายังไทยในช่องทางนี้จึงไม่ น่าจะมีมากนัก

ที่มา https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Speeches/Gov/SpeechGov_11Sep2015.pdf

หมายเลขบันทึก: 605732เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท