Tacit Knowledge


Tacit knowledge....... นางสาวนินูรมา สาเมาะ ( นักศึกษาสาธารณะสุข ชั้นปีที่ 3 )

1. วิตามิน คืออะไร ?

" วิตามิน ช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ได้ง่ายแล้วและระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ สำหรับประโยชน์ทีร่างกายจะได้รับในด้านบำรุงผิวพรรณ ความสวยงามมีอยู่มากมาย เช่น วิตามินช่วยรักษาสมดุลในร่างกาย ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด"

2. วิตามินแบ่งได้ออกเป็นกี่ประเภท ?

ประเภทของวิตามินวิตามินแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. วิตามินที่ละลายในน้ำได้ ได้แก่ วิตามินซี,บี
2. วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ,ดี, อี, เค

วิตามิน A

แหล่งอาหารที่พบ : ผักและผลไม้ที่มีสีส้ม เหลือง เขียว เช่น ฟักทอง ข้าวโพด แครอท

อาการขาดวิตามิน : กระจกตาเป็นแผล ตาบอดกลางคืน ผิวหนังหนาตัว

ปริมาณสูงสุดที่ร่างกายได้รับ : ไม่ควรเกิน/วัน 3,000 ไมโครกรัม

วิตามิน B1

แหล่งอาหารที่พบวิตามิน : ข้าวกล้อง ถั่ว งา จมูกข้าวสาลี นมถั่วเหลือง เนื้อหมู เมล็ดทานตะวัน

อาการขาดวิตามิน : เหน็บชา

ปริมาณสูงสุดที่ร่างกายได้รับ : ไม่ควรเกิน/วัน ไม่ระบุ

วิตามิน B2

แหล่งอาหารที่พบวิตามิน : ไข่ นม เครื่องในสัตว์ ตับ ผักใบเขียว โยเกิร์ต ข้าวโอ๊ต

อาการขาดวิตามิน : ปากนกกระจอก

วิตามิน B3

แหล่งอาหารที่พบวิตามิน : ตับ เนื้อสัตว์ ข้าวโอ๊ต ถั่ว จมูกข้าว ยีสต์ ผักใบเขียว

อาการขาดวิตามิน : อาการอักเสบของลิ้น คันตามผิวหนัง อาหารไม่ย่อย ปวดประสาท ปลายประสาทอักเสบ ซึมเศร้าอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง หงุดหงิด นอนไม่หลับ คลุ้มคลั่ง ความจำเสื่อม และท้องเสีย

ปริมาณสูงสุดที่ร่างกายได้รับ : ไม่ควรเกิน/วัน 35 มิลลิกรัม

วิตามิน B5

แหล่งอาหารที่พบวิตามิน : ไก่ เนื้อวัว ตับ มันฝรั่ง เมล็ดทานตะวัน

อาการขาดวิตามิน : ปวดท้อง ท้องอืด ตะคริว อ่อน เพลีย ซึมเศร้า นอนไม่หลับ แก่ก่อนวัย อาการเหน็บชาตามปลายมือ ปลายเท้า อาเจียน

ปริมาณสูงสุดที่ร่างกายได้รับ : ไม่ควรเกิน/วัน ไม่ระบุ

วิตามิน B6

แหล่งอาหารที่พบวิตามิน : เนื้อสัตว์ ปลา ไก่ ตับ มันฝรั่ง กล้วย แตงโม นม ไข่แดง ข้าวกล้อง รำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่วต่างๆ เมล็ดงา

อาการขาดวิตามิน : โลหิตจาง (ภาวะซีด) ปลายประสาทอักเสบ

ปริมาณสูงสุดที่ร่างกายได้รับ : ไม่ควรเกิน/วัน 100 มิลลิกรัม

วิตามิน B7

แหล่งอาหารที่พบวิตามิน : ดอกกะหล่ำ ถั่ว กล้วย ปลาแซล มอน เนื้อสัตว์ ไข่ ตับ งา

อาการขาดวิตามิน : ผิวหนังอักเสบ ไม่สดชื่น

วิตามิน B9

แหล่งอาหารที่พบวิตามิน : ถั่ว ผักโขม บรอกโคลี คะน้าผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ส้ม สตอเบอรี ธัญพืช ถั่วลิสง ตับ ผักกาดหอม

อาการขาดวิตามิน : โลหิตจาง

ปริมาณสูงสุดที่ร่างกายได้รับ : ไม่ควรเกิน/วัน 1,000 ไมโครกรัม

วิตามิน B12

แหล่งอาหารที่พบวิตามิน : เนื้อสัตว์ เครื่องใน นม โยเกิร์ต ตับ ไข่

อาการขาดวิตามิน : โลหิตจาง มีขนาดเม็ดเลือดแดงโตกว่าปกติ

วิตามิน C

แหล่งอาหารที่พบวิตามิน : ส้ม ฝรั่ง สัปปะรด พริก แตงโม บรอกโคลี่ กระหล่ำดอก มะนาว กล้วยต่าง ผักโขม สตอเบอร์รี มะเขือเทศ มะละกอ

อาการขาดวิตามิน : เลือดออกตามไรฟัน เบื่ออาหาร อ่อน เพลีย ปวดตามข้อ เจ็บกระดูก

ปริมาณสูงสุดที่ร่างกายได้รับ : ไม่ควรเกิน/วัน 2,000 มิลลิกรัม

วิตามิน D

แหล่งอาหารที่พบวิตามิน : แสงแดดที่กระตุ้นผิวหนังช่วงเช้า น้ำมันปลา นม เห็ด หอยนางรม ปลาแซลมอน ไข่ ตับ เนย น้ำมันตับ ปลาจากปลาทะเล

อาการขาดวิตามิน : มวลกระดูกบาง กระดูกพรุน และ หักง่าย

ปริมาณสูงสุดที่ร่างกายได้รับ : ไม่ควรเกิน/วัน 50 ไมโครกรัม

วิตามิน E

แหล่งอาหารที่พบวิตามิน : ผักใบเขียว ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดทานตะวัน น้ำมันพืช นม ไข่ เนย ข้าวโอ๊ต ข้าวบา เลย์ อัลมอลล์

อาการขาดวิตามิน : ถ้าขาดในเด็กทารก อาจทำให้โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย การทำ งานของระบบประสาทผิดปกติ

ปริมาณสูงสุดที่ร่างกายได้รับ : ไม่ควรเกิน/วัน 1,000 มิลลิกรัม

วิตามิน K

แหล่งอาหารที่พบวิตามิน : ผักใบเขียวเข้ม เช่น ใบบัวบก ผักโขม บรอกโคลี่ คะน้า กะหล่ำปลี ตับ ไข่ น้ำมันถั่วเหลือง

อาการขาดวิตามิน : เลือดออกง่าย เลือดไหลแล้ว หยุดช้า


Tacit knowledge.......เภสัสกร

1. วิตามิน คืออะไร ?

"มนุษย์ต้องการวิตามินทุกวัน หน้าที่ของวิตามินแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป วิตามินช่วยขับเคลื่อนให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ เมื่อเราบริโภคอาหารซึ่งมีวิตามินเป็นส่วนประกอบ อาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและถูกนำไปใช้เสริม สร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ วิตามินซึ่งได้จากอาหาร และดูดซึมเข้าไปอยู่ในเลือด จะถูกส่งไปตามอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อให้อวัยวะต่างๆทำงานได้ตามปกติ นอกจากนี้วิตามินยังช่วยให้ระบบประสาทสั่งงานไปยังอวัยวะต่างๆได้เป็นอย่างดี หากการสั่งงานจากระบบประสาทใช้งานไม่ได้ การทำงานของอวัยวะต่างๆจะสูญเสียไป"

2. หน้าที่ต่างๆของวิตามิน ?

หน้าที่ของวิตามินมีหลากหลาย พอสรุปในภาพรวมได้ดังนี้

•ช่วยพัฒนาสมอง เส้นประสาท ให้มีการเจริญเติบโต และสามารถทำงานปกติไม่ว่าจะเป็นขณะที่เราหลับหรือตื่นนอนอยู่ก็ตาม

•เสริมสร้างความเจริญเติบโตและเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก ฟัน และกล้ามเนื้อ

•เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายให้แข็งแรง และทำหน้าที่ต้านทานโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี

•ช่วยสร้างฮอร์โมนซึ่งเป็นสารเคมีที่จำเป็นต่อการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆในร่างกาย

•ช่วยในการดูดซึมเกลือแร่ที่ได้จากรับประทานอาหาร

•เป็นส่วนประกอบในการสร้างและสังเคราะห์สารทางพันธุกรรม

หมายเลขบันทึก: 605629เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2016 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2016 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ประโยชน์ล้วนๆเลยค้ะ

เราชอบเรื่องวิตามินมากๆเลย ข้อมูลแน่นมาก ได้ประโยชน์สาระเยอะแยะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท