แนวทาง รวบรวม วิเคราะห์และสังเคราะห์การจัดการความรู้


แนวทาง รวบรวม วิเคราะห์และสังเคราะห์การจัดการความรู้

แนวทาง  รวบรวม  วิเคราะห์และสังเคราะห์การจัดการความรู้

ผู้ดำเนินการอาจใช้จินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเองหรือของทีมงานดำเนินการนอกเหนือ

ไปจากแนวทางที่ระบุนี้ก็ได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าจะทำให้ได้ความลึกซึ้งและครอบคลุมเชื่อมโยงมากกว่า อย่างไรก็

ตามควรครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย

1. กระบวนการ (process) ของการจัดการความรู้ ซึ่งได้แก่

1.1 การสร้างความรู้ขึ้นใช้เองจากการทำงาน เพื่อหาลู่ทางใหม่ ๆ หรือหานวัตกรรมในการทำงาน ทำให้

การทำงานหรือการประกอบกิจกรรมได้ผลดีขึ้น หรือก้าวสู่กระบวนทัศน์ใหม่ กระบวนการสร้างความรู้ขึ้น

ใช้เองน่าจะมีทั้งทำโดยจงใจหรือตั้งใจ กับที่ทำโดยไม่จงใจ แต่เกิดผลเป็นการสร้างความรู้ และกระบวน

การสร้างความรู้นี้น่าจะประกอบด้วยกิจกรรมย่อยมากมาย ทำอย่างต่อเนื่องยาวนาน ควรหาทางระลึก

ย้อนกลับไปและรวบรวมข้อมูลดังกล่าว นำมาวิเคราะห์ทบทวน สังเคราะห์ขึ้นเป็นแนวทางสำหรับจัด

กระบวนการของประชาคมต่อไป หรือสำหรับแลกเปลี่ยนให้ประชาคมอื่นได้นำไปเป็นแนวทางและปรับใช้

1.2 การค้นคว้าหาความรู้จากภายนอก สำหรับนำมาใช้ประโยชน์ ดำเนินการอย่างไรบ้าง ในสถานการณ์

ใดที่ทำให้มีการค้นคว้าหาความรู้จากภายนอกอย่างขันแข็งมากกว่าปกติ แหล่งความรู้ที่ใช้มีที่ใดบ้าง

แหล่งใดที่จัดได้ว่าเป็นแหล่งที่ดี ดีอย่างไร วิธีการค้นคว้าทำอย่างไร บุคคลหรือสมาชิกองค์กร
/เครือข่ายที่

มีความสามารถพิเศษในการค้นคว้าหาความรู้จากภายนอกมีลักษณะอย่างไร มีการเปรียบเทียบ คัดเลือก

หรือผสมผสานระหว่างความรู้ที่ค้นคว้ามาจากภายนอก กับความรู้ที่สร้างขึ้นเองจากการทำงานอย่างไรบ้าง

เป็นต้น

1.3 การตรวจสอบ คัดเลือกความรู้ คัดเอาความรู้ที่ไม่แม่นยำทิ้งไป เอาความรู้ที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน

ในบริบทของกลุ่มหรือองค์กรทิ้งไปทำอย่างไร มีความรู้มากน้อยแค่ไหนที่ถูกคัดออกโดยกระบวนการนี้ ยก

ตัวอย่าง จะยิ่งดีถ้าทำตารางระบุรายชื่อความรู้ดังกล่าว ระบุว่าตัดทิ้งเพราะเหตุใด ผ่านกระบวนการตรวจ

สอบอย่างไรจึงเชื่อว่าเป็นความรู้ที่ไม่น่าเชื่อถือหรือไม่เหมาะสม คนที่มีลักษณะแบบใดที่มีความสามารถ

ด้านนี้เป็นพิเศษ ถ้าจะพัฒนาขีดความสามารถของกลุ่ม
/องค์กรในด้านการตรวจสอบ/คัดเลือกความรู้ ควร

มีวิธีดำเนินการอย่างไร เป็นต้น

1.4 การกำหนดความรู้ที่จำเป็นสำหรับใช้งาน มีการกำหนดหรือไม่ ถ้ามีการกำหนดโปรดระบุว่ามีความรู้

ด้านใดบ้าง กระบวนการกำหนดทำอย่างไร ใช้เกณฑ์อะไร มีการปรับปรุงข้อกำหนดหรือไม่ ถ้ามีทำบ่อย

แค่ไหน บุคคลที่เป็นแกนนำในด้านนี้คือใครบ้าง ทำไมจึงเป็นคนที่ทำภารกิจนี้ได้ดี เป็นต้น

1.5 การจัดหมวดหมู่ความรู้ และจัดเก็บ ให้อยู่ในลักษณะให้ค้นหาได้ง่ายและอยู่ในลักษณะที่ใช้งานได้ง่าย

มีการทำบ้างหรือไม่ ทำอย่างไร ใครเป็นผู้ทำ มีการปรับปรุงบ่อยแค่ไหน กลไกให้เกิดการปรับปรุงคือ

อะไร โปรดนำเสนอความรู้ดังกล่าวในรูปของซีดี-รอม

1.6 กระบวนการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนความรู้ ภายในองค์กร/เครือข่าย ดำเนินการอย่างไร เน้นความรู้

แบบไหน (tacit, embedded, explicit) มีวิธีการถ่ายทอดความรู้ต่างแบบอย่างแตกต่างกันอย่างไร ใช้ ICT

ช่วยอำนวยความสะดวกในการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนความรู้อย่างไร มีการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนความรู้กับ

นอกองค์กร/เครือข่ายบ้างหรือไม่ เนื้อความรู้แบบใดที่มีการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนกับภายนอก เนื้อหา

ความรู้อะไรบ้างที่มีการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวางภายในองค์กร อะไรบ้างที่ไม่ค่อยมีการ

KM Analysis_Synthesis_Guideline_460116.doc

ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนทั้ง ๆ ที่เป็นความรู้ที่สำคัญ เพราะอะไร เป็นต้น อะไรบ้างที่ต้องปกปิด ไม่ให้รั่วออก

ไปภายนอกองค์กร / เครือข่าย

1.7 การยกระดับความรู้ โดยการตีความ จัดแบบแผน (pattern) หรือหมวดหมู่ ภายใต้บริบทของงาน

หรือกิจกรรม ทั้งที่เป็นความรู้ฝังลึก ความรู้แฝง และความรู้ที่เปิดเผย รวมทั้งการยกระดับผ่านวงจร

เปลี่ยนความรู้ฝังลึกไปเป็นความรู้ที่เปิดเผย และเปลี่ยนไปเป็นความรู้ฝังลึกในระดับที่สูงขึ้น มีกิจกรรม

หรือกระบวนการอะไรบ้างที่เกิดการยกระดับความรู้ดังกล่าว ใครคือแกนนำที่ผลักดันหรือดำเนินการ

กระบวนการดังกล่าว มีปัจจัยใดบ้างที่ส่งเสริมหรือขัดขวางการยกระดับความรู้ เมื่อมีการยกระดับความรู้

แล้ว เกิดผลอะไรบ้างต่อองค์กร/เครือข่าย และต่อสมาชิกขององค์กร/เครือข่าย เป็นต้น

1.8 การดำเนินการหรือสร้างเงื่อนไขเพื่อลดทอนการปกปิดหรือเก็บงำความรู้ มีการดำเนินการอย่างไร

บ้าง ดำเนินการแล้วได้ผลอย่างไร ใครคือบุคคลหรือแกนนำสำคัญในการดำเนินการดังกล่าว มีข้อแนะนำ

สำหรับให้องค์กร/เครือข่ายอื่น ๆ นำไปปรับใช้อย่างไรบ้าง เป็นต้น

1.9 การใช้ ICT สนับสนุนกระบวนการ มีการดำเนินการอย่างไรบ้าง ตามประสบการณ์ที่ผ่านมา ICT แบบ

ใดที่ใช้สะดวก/ไม่สะดวกอย่างไร ICT แบบใดที่ส่งผลอย่างมีพลังสูง/ต่ำอย่างไร cost-benefit และ costeffectiveness

ของ ICT แต่ละแบบเป็นอย่างไร ความคงทนของ ICT แต่ละแบบเป็นอย่างไรบ้าง มีคน/

กลุ่มคนที่กลัวไม่กล้าใช้หรือไม่คล่องแคล่วในการใช้ ICT แบบใดบ้าง องค์กร/เครือข่ายได้แก้ปัญหา กลัว

เทคโนโลยีใหม่นี้อย่างไร เป็นต้น

1.10 กระบวนการสร้าง & ใช้จินตนาการ & ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ องค์กร/เครือข่ายมีกระบวนการดัง

กล่าวอย่างไรบ้าง อธิบายหลักการและวิธีการให้ชัดเจน กระบวนการดังกล่าวก่อผลดี/ผลเสีย ต่องาน/กิจกรรม และต่อสมาชิกขององค์กร

/เครือข่าย อย่างไรบ้าง มีคำแนะนำต่อองค์กร/เครือข่ายอื่น ๆ ในเรื่องหลัก

การ/วิธีการ สร้าง & ใช้จินตนาการ & ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างไรบ้าง เป็นต้น

1.11 บรรยากาศ/วัฒนธรรมองค์กร (corporate cultute) องค์กร/เครือข่าย ได้สร้างบรรยากาศหรือวัฒน

ธรรมประเพณีอะไรบ้างที่เชื่อว่าช่วยส่งเสริมการจัดการความรู้ การดำเนินการดังกล่าวทำอย่างไร ใคร

เป็นบุคคล
/แกนนำสำคัญ ผลของการดำเนินการแต่ละอย่างเป็นอย่างไรบ้าง มีคำแนะนำต่อองค์กร/เครือ

ข่ายอื่น ในหลักการ & วิธีปฏิบัติในเรื่องนี้อย่างไร

1.12 การใช้ความรู้ มีการประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการต่าง ๆ อย่างไรบ้าง ผลของการประยุกต์ใช้ความรู้

เป็นอย่างไรบ้าง ทั้งที่ผลงาน การเรียนรู้ภายในองค์กร/เครือข่าย การยกระดับความรู้ และผลต่อคน

(สมาชิกขององค์กร/เครือข่าย โปรดระบุพลวัตของการใช้ความรู้ มีประสบการณ์ของการใช้ความรู้

แล้วเกิดผลด้านลบบ้างหรือไม่ ถ้ามี เป็นเพราะเหตุใด มีข้อเสนอแนะต่อองค์กร/เครือข่ายอื่น ๆ ด้าน

กระบวนการใช้ความรู้อย่างไรบ้าง

1.13 ชุมชนความรู้ มีการรวมกลุ่มกันเป็น ชุมชนแห่งความรู้อย่างไรบ้าง การริเริ่มมาจากไหน มีความ

ต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร ปฏิสัมพันธ์และกิจกรรมภายในชุมชนแห่งความรู้เป็นอย่างไร กิจกรรมชุมชน

แห่งความรู้ก่อผลด้านต่าง ๆ อย่างไรบ้าง มีข้อเสนอแนะต่อองค์กร
/เครือข่ายอื่น ๆ ในเรื่อง ชุมชนแห่ง

ความรู้อย่างไรบ้าง

1.14 กระบวนการตรวจสอบ (วัด) สินทรัพย์ทางปัญญา (intellectual asset) และทุนปัญญา

(intellectual capital)
มีการทำบ้างหรือไม่ ทำบ่อยแค่ไหน บอกวิธีทำ สาเหตุที่ทำ ใครบ้างเป็นแกน

นำ ผลการตรวจสอบ (วัด) เป็นอย่างไรบ้าง มีพลวัตเป็นอย่างไร การดำเนินการดังกล่าวเกิดผลอย่างไร

1.15 อื่น ๆ

KM Analysis_Synthesis_Guideline_460116.doc

2. คน ผู้มีบทบาทในการจัดการความรู้ รวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็นและวิเคราะห์ สังเคราะห์ขึ้นเป็นความรู้ & วิธีปฏิบัติใน

การจัดการความรู้ในประเด็นต่อไปนี้

2.1 ผู้แสดงบทบาทนำหรือเอาจริงเอาจัง ในกระบวนการแต่ละกระบวนการตามข้อ 1.1-1.15 เป็นคนกลุ่ม

ไหน เป็นคนที่มีลักษณะจำเพาะอย่างไรบ้าง โปรดสัมภาษณ์ความคิดของคนกลุ่มนี้นำมารายงาน

2.2 ผู้แสดงบทบาท ไม่เชื่อ ขอทดสอบก่อนแต่เมื่อมีหลักฐานว่าการจัดการความรู้น่าจะมีประโยชน์ต่องานขององค์กร/เครือข่าย ก็เข้าร่วมอย่างแข็งขัน ผู้แสดงบทบาทเช่นนี้เป็นคนกลุ่มไหน มีลักษณะ

จำเพาะอย่างไร โปรดสัมภาษณ์พลวัตความคิดเกี่ยวกับงานและการจัดการความรู้ของคนเหล่านี้ นำมา

รายงาน

2.3 ผู้แสดงบทบาท ฝ่ายค้านหรือผู้ต่อต้าน กระบวนการจัดการความรู้เป็นคนกลุ่มไหน มีลักษณะ

จำเพาะอย่างไร มีเหตุผลในการไม่เห็นด้วยอย่างไร มีพลวัตของพฤติกรรมอย่างไร โปรดสัมภาษณ์

ความคิดของคนกลุ่มนี้ นำมารายงาน และสังเคราะห์ว่าผู้แสดงบทบาทเช่นนี้ก่อผลกระทบทั้งเชิงบวกและ

เชิงลบต่อการจัดการความรู้และต่อการปฏิบัติภารกิจขององค์กรอย่างไร

2.4 การจัดการเกี่ยวกับคน (personel management) ขององค์กร/เครือข่าย เป็นอย่างไรบ้าง มีผลต่อ

การจัดการความรู้และความสำเร็จขององค์กร/เครือข่ายอย่างไร มีคำแนะนำแก่องค์กร/เครือข่ายอื่น ๆ

เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง

2.5 ระบบการปูนบำเหน็จความดีความชอบ ขององค์กร/เครือข่าย เป็นอย่างไร มีผลต่อการจัดการ

ความรู้และความสำเร็จของงานอย่างไร มีคำแนะนำหลักการและวิธีปฏิบัติแก่องค์กร/เครือข่ายอื่น ๆ

อย่างไรบ้าง

2.6 ระบบสร้างเสริมแรงบันดาลใจ/แรงจูงใจ เป็นอย่างไรบ้าง มีผลต่อการจัดการความรู้และความสำเร็จ

ของงานอย่างไร

2.7 การจัดองค์กร/จัดทีมงาน เป็นอย่างไร

2.8 ระบบพัฒนาคน (พัฒนาบุคลากร) เป็นอย่างไรบ้าง กิจกรรมด้านการพัฒนาคนแบบใดที่ช่วยส่งเสริมการจัดการความรู้ เรียงจากมากไปหาน้อย แบบใดที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการความรู้ รูปแบบ/วิธีการ

พัฒนาคนดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีวิวัฒนาการไปอย่างไร

หมายเหตุ การพัฒนาคน มีทั้งแบบที่จัดทำเองภายในหน่วยงาน/เครือข่าย และที่ส่งคนออกไป

รับการอบรมหรือเข้าประชุมภายนอกหน่วยงาน

2.9 การเปิดโอกาสให้คนในองค์กร/เครือข่ายได้มีโอกาสทำงานเป็นทีมเฉพาะกิจ (task force) ข้ามสายงาน

ตามปกติ มีบ่อยแค่ไหน และก่อผลดีหรือผลลบด้านผลงานและด้านการจัดการความรู้อย่างไรบ้าง

2.10 มีการรวบรวมข้อมูล ความรู้และทักษะพิเศษของสมาชิกในองค์กร/เครือข่าย ทำเป็นบัญชีให้เปิดดู

หรือค้นหาได้ง่ายหรือไม่ มีการใช้ข้อมูลดังกล่าวแค่ไหน ทักษะพิเศษใดบ้างที่ต้องการใช้บ่อย และเมื่อมี

การใช้แล้วเกิดผลอย่างไรบ้าง

2.11 อื่น ๆ

KM Analysis_Synthesis_Guideline_460116.doc

3. เนื้อหาความรู้ (content) ที่นำมาดำเนินการจัดการ ในประเด็นต่อไปนี้

3.1 เนื้อหาความรู้ที่นำมาจัดการ เนื้อหาความรู้ด้านใดบ้าง ที่มีความต้องการและมีการนำมาจัดการภายใน

องค์กร/เครือข่าย โปรดทำเป็นตาราง จัดหมวดหมู่ความรู้ และระบุว่านำมาจัดการอย่างไรบ้าง

3.2 เนื้อหาเด่น ความรู้ด้านใดหรือกลุ่มใด ที่เมื่อนำมาจัดการแล้ว ก่อผลดีต่องานหรือต่อการพัฒนาคน อย่าง

มากมาย เพราะเหตุใด

3.3 เนื้อหาด้อย ความรู้ด้านใดหรือกลุ่มใด ที่เมื่อนำมาจัดการแล้ว ก่อผลดีไม่มาก ไม่คุ้มค่าหรือไม่ค่อยคุ้ม

ค่าการดำเนินการจัดการความรู้ เพราะเหตุใด

3.4 เนื้อหาที่ขาดแคลน ความรู้ด้านใดหรือกลุ่มใดที่ขาดแคลน ค้นหามาได้ยากและสร้างขึ้นใช้เองก็ทำได้

ยาก มีประสบการณ์ความสำเร็จในการจัดการความรู้กลุ่มนี้หรือไม่ โปรดบรรยาย

3.5 ความเปลี่ยนแปลงของความต้องการ ความต้องการเนื้อหาความรู้ขององค์กร/เครือข่าย มีการเปลี่ยน

แปลงไปตามปัจจัยด้านใดบ้าง เพราะเหตุใด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อผลดีหรือผลเสียต่อกิจการและ

ต่อการจัดการความรู้ขององค์กร
/เครือข่ายอย่างไรบ้าง ทำให้ต้องมีการปรับตัวขององค์กร/เครือข่ายอย่าง

ไรบ้าง

3.6 เนื้อหาที่สร้างขึ้นเอง เนื้อหาความรู้ด้านใดที่สร้างขึ้นใช้เองภายในองค์กร/เครือข่ายได้ สะดวกหรือง่ายที่

สุด เพราะเหตุใด เนื้อหาด้านใดที่สร้างขึ้นใช้เองภายในองค์กร/เครือข่ายได้ยากที่สุด เพราะเหตุใด

3.7 เนื้อหาท่วมท้น เนื้อหาด้านใดที่มีอยู่มาก หามาได้ง่ายและมากมาย ก่อความสับสน ไม่แน่ใจในความ

แม่นยำถูกต้อง ในกรณีเช่นนี้ได้ดำเนินการจัดการความรู้อย่างไร เกิดผลอย่างไรบ้าง

3.8 อื่นๆ

4. เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการความรู้

4.1 เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหา
ความรู้จากภายนอก ที่องค์กร/เครือข่ายใช ้ มีอะไรบ้าง เครื่องมือชนิดใดที่ใช้

ง่าย และช่วยการค้นหาเป็นอย่างดี เครื่องมือใดที่เคยใช้เป็นประจำแต่เปลี่ยนเป็นเครื่องมืออื่นแล้ว

เครื่องมือใดที่ใช้เป็นประจำในปัจจุบัน เหตุผลที่ใช้ เครื่องมือเหล่านั้นผู้ใช้เป็นคนเฉพาะบางคนหรือเป็น

คนส่วนใหญ่ขององค์กร/เครือข่าย

4.2 เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บ/จัดหมวดหมู่/ให้บริการความรู้/ข้อมูล/ข้อสนเทศ ในองค์กร/เครือข่าย มีอะไรบ้าง

ตามประสบการณ์ เครื่องมือแต่ละชนิดมีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไรบ้าง มีการใช้มากน้อยเพียงใด

4.3 เครื่องมือที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลภายในองค์กร/เครือข่าย มีอะไรบ้าง ตามประสบการณ์

เครื่องมือแต่ละชนิดมีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไรบ้าง มีการใช้มากน้อยเพียงใด

4.4 เครื่องมือที่ช่วยให้คนในองค์กร/เครือข่ายที่อยู่ห่างไกลกัน ได้ติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกัน

และกันอย่างสะดวก มีอะไรบ้าง ตามประสบการณ์เครื่องมือแต่ละชนิด มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไรบ้าง มี

การใช้มากน้อยเพียงใด

4.5 อื่น ๆ

KM Analysis_Synthesis_Guideline_460116.doc

หมายเหตุ

(1) ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นเพียงตัวอย่าง ไม่ครบถ้วน ผู้ดำเนินการโครงการสามารถเพิ่มเติมหรือจัดหมวด

หมู่ใหม่ได้ตามที่เห็นสมควร และการเขียนรายงานต้องเป็นรายงานจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่เขียน

ตามทฤษฎี ควรมีหลักฐานยืนยันรายงานประเด็นสำคัญ ๆ ตามความเหมาะสม

(2) กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดดำเนินการภายใต้ชื่ออื่น ผู้ดำเนินการโครง

การต้องตีความว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการความรู้หรือไม่

(3) ควรมีการสังเคราะห์ เสนอแนะว่าประเด็น/กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถจัดให้เป็นระบบ มีโครงสร้างที่ชัดเจนต่อเนื่อง ได้อย่างไร และถ้าจัดให้เป็นระบบและเกิดความต่อเนื่อง จะมีผลต่อองค์กร/เครือข่ายอย่างไร

อ้างอิงจาก  http://www.nesac.go.th/kms/km_info/pdf/KM_Guideline.pdf

หมายเลขบันทึก: 60530เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท