SME ไทยยุควิกฤตแรงงาน และโอกาสใน AEC


SMEs” นับว่าเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทยในเวลานี้ ทั้งนี้การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 38% ของจีดีพี จากจำนวนสถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีมากถึง 2.9 ล้านแห่ง หรือ 99.6% นั้น ในจำนวนตัวเลขที่บ่งบอกไว้นี้มีSMEsที่มีขนาดใหญ่จริง ๆ เพียง 9,128 แห่ง หรือคิดเป็น 0.3% ซึ่งถือว่าน้อยมาก รองลงมาคือSMEsขนาดกลาง มีจำนวน 18,383 แห่ง หรือ 0.6% ขณะที่เหลืออีก 99% หรือ 2,894,713 แห่ง คือSMEsขนาดย่อม ดังนั้นรายได้ส่วนใหญ่จึงมาจาก SMEs ขนาดใหญ่มากสุด รองลงมาคือขนาดกลางและขนาดเล็กตามลำดับ จะเห็นได้ว่าจำนวนสถานประกอบการSMEsกับการสร้างรายได้ที่เกิดขึ้นนั้นไม่สมดุลกัน เพราะรายได้ส่วนใหญ่มาจากSMEsขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อดูจากตัวเลขแล้วมีจำนวนน้อย ขณะที่SMEsขนาดเล็กที่มีมากกว่า 2.8 ล้านแห่งนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้กระจายอยู่ทั่วไป แต่กระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเมืองใหญ่ ๆ ของประเทศ ทั้งนี้เป็นเรื่องของความคล่องตัวในการคมนาคม การขนส่ง อีกทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งจ้างงาน เพราะสถานประกอบการSMEsสามารถดูดซับแรงงานได้มากถึงเกือบครึ่งหนึ่งของกำลังแรงงาน คือราว 13 ล้านคน แต่ในจำนวนแรงงานทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มีเพียง 3 ล้านคนที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการSMEsขนาดใหญ่ ที่เหลืออีก 10 ล้านคนอยู่ในธุรกิจ SMEsขนาดกลางลงมา ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจในลักษณะของธุรกิจครอบครัว แบบเถ้าแก่ทำเอง สภาพการจ้างงานจึงมีความสุ่มเสี่ยงต่อการไม่ได้รับค่าจ้าง และสวัสดิการตามกฎหมาย ทำงานหนัก เหนื่อยยาก จึงมักมีอัตราการเข้าออกของแรงงาน (turnover) สูงถึง 25-30% จึงกลับกลายเป็นภาระของผู้ประกอบการในการสรรหาบุคลากรมาทดแทนแรงงานที่ออกไปอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในมุมมองของผู้ประกอบการSMEsแล้ว อุปสรรคในการดำเนินธุรกิจโดยภาพรวม กลับไม่ได้ให้ความกังวลในเรื่องแรงงานสูงในทุกขนาดอุตสาหกรรม แต่วิตกกับปัจจัยในเรื่องอื่น ๆ มากกว่า เช่น ราคา ตลาด ภาวะเศรษฐกิจ ค่าน้ำมัน ส่วนปัญหาเรื่องค่าจ้างแรงงานไม่เป็นอุปสรรคมากนักในSMEsขนาดใหญ่ แต่จะมีผลกระทบกับSMEsส่วนใหญ่ซึ่งมีขนาดกลางและเล็กซึ่งต้องปรับตัวอย่างมาก แต่สำหรับSMEsขนาดย่อม แรงงานไม่เกิน 5 คน ทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กลับเห็นว่าไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงสูง อย่างไรก็ดี มีข้อเสนอแนะสำหรับการปรับตัวของธุรกิจSMEsไทยขนาดกลางและขนาดเล็ก ก็คือจะต้องเร่งเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพ มีการยกระดับเทคโนโลยีที่ใช้ทดแทนแรงงานคนให้มากขึ้นโดยเร็ว เพื่อควบคุมต้นทุนและให้ธุรกิจแข่งขันได้ นโยบายค่าจ้างสูงอาจจะทำให้ธุรกิจSMEsบางส่วนต้องปิดตัวลงและเลิกจ้างแรงงาน แต่สถานการณ์ไม่น่าจะเลวร้ายเนื่องจากประเทศไทยยังขาดแคลนแรงงานระดับกลางและระดับล่างหลายแสนคนในขณะนี้

ดังนั้นรัฐจึงควรเข้ามาสนับสนุนทำให้เกิดการถ่ายเทการจ้างงาน จากแหล่งงานที่ลดคนงานไปสู่แหล่งงานที่ขาด คนงาน เพราะมีธุรกิจมากกว่าร้อยละ 66 ยังมีความต้องการแรงงาน จึงเป็นโอกาสดีที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จะเข้าไป matching คนตกงานกับแหล่งธุรกิจที่ยังมีความต้องการแรงงานไทยเพิ่มอยู่เป็นอย่างมาก เพื่อจะช่วยบรรเทาปัญหาลดคนงานในSMEsและแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานได้อีกทางหนึ่ง

สำหรับโอกาสธุรกิจSMEsไทยใน AEC ผู้ประกอบการSMEsต้องเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้ และต้องมีกระบวนการผลิตที่ทันสมัย ต้องเพิ่มผลิตภาพหรือคุณภาพเข้าไปในตัวสินค้า ใช้แรงงานมีฝีมือ (ต้นทุนต่ำ คุณภาพสินค้ามีมาตรฐาน บรรจุภัณฑ์โดดเด่น) ราคาสินค้าต้องแข่งขันได้





คำสำคัญ (Tags): #aec
หมายเลขบันทึก: 605125เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2016 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2016 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท