แนวโน้มการเงินของไทยในอนาคต หลัง เปิด AEC


1. ระบบการชำระเงินของประเทศในอาเซียนต้องเชื่อมต่อกันได้

โดยต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน สามารถกดเอทีเอ็มร่วมกันได้ ซึ่งในอนาคตประเทศไทยของเราก็กำลังเตรียมร่วมมือดำเนินการกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เป้าหมายนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีในเร็วๆ นี้นั่นเอง

2.เงินทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี

ลดมาตรการ กฎระเบียบ ที่ขัดขวางการเคลื่อนย้ายเงินทุน แต่ก็จะมีมาตรการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งในตอนแรกนี้อาจจะเป็นการเคลื่อนย้ายทุนในรูปแบบของเงินดอลลาร์สหรัฐก่อน โดยยังไม่แตะเงินสกุลท้องถิ่นของแต่ละประเทศ และยังไม่มีการรวมเงินแต่ละประเทศเป็นเงินสกุลเดียวกัน เพราะประเทศในอาเซียนยังคงมีความแตกต่างกันมากเกินไป และยังมีนโยบายทางด้านการคลังที่ไม่เหมือนกัน แต่อาจใช้ระบบการอิงค่าเงินกัน อาจใช้สกุลเงินของประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นหลัก แล้วใช้สกุลเงินอื่นอิง

3.ธนาคาร สถาบันการเงินเชื่อมต่อกัน

โดยอาจยกระดับเป็นธนาคารกลางอาเซียน ซึ่งจะสามารถทำธุรกรรมการเงินได้เสรีในทุกประเทศ ประเทศไทยสามารถไปเปิดธนาคารได้ในต่างประเทศ และต่างประเทศก็สามารถเข้าเปิดในประเทศเราได้เช่นกัน ซึ่งก็อาจจะเกิดการแข่งขันในด้านการบริการได้ จึงอาจเป็นผลดีต่อประชาชน แต่ก็ต้องศึกษาให้ดีก่อนเช่นกัน ซึ่งทั้งนี้การดำเนินการในรูปแบบนี้จะทำให้การเงินของไทยเราดีขึ้นมา จากที่ปีนี้ประเทศไทยเราต้องเจอกับพายุเศรษฐกิจที่ถดถอย รายได้ในประเทศลดต่ำลง หากได้ใช้มาตรการการเงินในระบบของ AEC ก็มีแนวโน้มที่การเงินไทยจะดีขึ้นมากเช่นกัน

4.การเปิดเสรีในด้านตลาดทุน

ซึ่งธนาคารพาณิชย์ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมในรูปแบบต่างๆกันประมาณ 4 รูปแบบด้วยกันคือ

  • แบบแรก การให้บริการในรูปแบบสาขา เช่น ธนาคารกรุงเทพไปเปิดสาขาที่อินโดนีเซีย เป็นต้น
  • แบบที่สอง เป็นการจับมือกับธนาคารท้องถิ่นในรูปแบบพันธมิตรกัน เช่น ธนาคารกสิกรไทยร่วมเป็นพันธมิตรกับเวียตตินแบงก์ ของเวียดนาม เป็นต้น
  • แบบที่สาม คือการเข้าไปซื้อกิจการของธนาคารท้องถิ่น ซึ่งแบบนี้ประเทศไทยยังไม่ได้ทำ แต่มีของมาเลเซียเข้าไปเทคโอเวอร์ธนาคารในอินโดนีเซีย เป็นต้น
  • แบบที่สี่ คือการรวมสามรูปแบบข้างต้นเอาไว้ด้วยกัน เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้เข้าไปตั้งสาขาในสิงคโปร์ และได้เป็นพันธมิตรกับธนาคารในเวียดนาม เป็นต้น

ทั้งนี้การแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราในอาเซียนโดยตรงอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงกว่าปัจจุบัน เพราะปัจจุบันการแลกเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า นอกจากนี้ เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว เงินบาทของเราน่าจะมีความต้องการในเขตชายแดนมากขึ้น เพราะปัจจุบัน การค้าขายในเขตชายแดนที่เชื่อมต่อกันกับไทย ไม่ว่าจะเป็น กัมพูชา พม่า ลาว ซึ่งประเทศพวกนี้ก็รับเงินบาทควบคู่กับเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อมีการ เปิด AEC ความต้องการเงินบาทเป็นตัวกลางในการซื้อขายก็น่าจะมากขึ้นไปด้วย


อ้างอิงจาก : www.moneyhub.in.th

หมายเลขบันทึก: 605121เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2016 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2016 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท