การถ่ายภาพรังสีทรวงอกในผู้ป่วยสูงอายุแบบบูรณาการ


การบริการผู้ป่วยดุจญาติมิตร โอกาสพัฒนา มีอยู่ทุกวัน ครับ​

วัสดี ครับ
มีนักรังสีฯ สอบถามผมเกี่ยวกับการทำงานพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาเปรียบเทียบการถ่ายภาพรังสีทรวงอกในผู้สูงอายุ 2 แบบ
คือ 1. การถ่ายภาพปกติ (มือค้ำสะเอว) และ 2. การโอบกอดอุปกรณ์รับภาพ
ว่า... ภาพที่ออกมาจะมีความแตกต่างกันอย่างไร?

ในความเห็นของผม คือ
เราทราบว่า... มันแตกต่างกันอยู่แล้ว

ท่ามาตราฐานที่ใช้มือค้ำสะเอว แล้วโน้มไหล่ไปด้านหน้า ย่อมสามารถแยก scapular ออกจาก Lung field ได้ดีกว่า การโอบกอดแน่นอน

แล้วจะศึกษาไป ทำไม?

แต่ หากอยากทำเรียนนี้ ในผู้สูงอายุ จริงๆ
จะทำอย่างไร?

ผมมีแนวทางให้ ครับ

ควรทำการศึกษาในเชิงประยุกต์ ครับ

ตัวอย่าง

ผมจะเขียน

เรื่อง การถ่ายภาพรังสีทรวงอกผู้สูงอายุ ใน รพ......
หรือ
การถ่ายภาพรังสีทรวงอกในผู้ป่วยสูงอายุแบบบูรณาการ

บทนำ
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก ที่ รพ...... พบว่า จัดทำผู้ป่วยสูงอายุ มีข้อจำกัดหลายด้าน เช่น ผู้สูงอายุบางราย มีอาการหัวไหล่ติด ปวดไหล่ ไม่สามารถงุ้มหรือโน้มไหล่ ตามที่ต้องการได้ ผู้ป่วย มีความจำกัดในการได้ยิน หูตึง ทำให้เปฌนอุปสรรคในการสื่อสาร ทำให้ไม่สามารถผู้ป่วยหายใจเข้า เต็มปอดขณะถ่ายภาพได้ และ ผู้ป่วยยืนทรงตัวไม่ได้ดีเท่าที่ควร มีบางรายในขรธถ่ายภาพ เกิดภาพเคลื่อนไหว (motion artifact) เป็นต้น



ดังนั้น ทางผู้ปฎิบัติงานจึงได้หาแนวทางต่างๆ มาใช้ เพื่อสามารถทำให้การถ่ายภาพรังสีทรวงอกในผู้ป่วยสูงอายุมีคุณภาพมากขึ้น

วิธีการ คือ
1. จัดท่าใหม่ โดยการโอบกอด แทนการถ่ายภาพปกติ(กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถจัดท่าปกติได้)
2. สื่อสารกับผู้ป่วย (แสดงวิธีที่จะสื่อสารให้ผู้ป่วยเข้าใจ และ สามารถทำตามที่ต้องการได้ เช่น ติด สัญญาณไฟ ที่ด้านหน้าผู้ป่วย ให้เห็น เพื่อสื่อสารให้ผู้ป่วยรับทราบว่า ต้องหายใจเข้าเต็มที่ แล้ว กลั้นหายใจ ไว้ระยะหนึ่ง)
3. เตรียมความพร้อม ให้ผู้ป่วยทดลอง/ซ้อมทำ ก่อนถ่ายภาพจริง เช่น การฝึกหายใจเข้าเต็มที่แล้ว กลั้น หายใจ จนแน่ใจว่า พร้อมทำจริง
4. ทำจริง ถ่ายภาพรังสีทรวงอก
5. ประเมินคุณภาพของภาพ ที่ออกมา จาก ขบวนการต่างๆที่ได้ทำไปแล้ว


เกณฑ์ประเมิน
โดยรังสีแพทย์/แพทย์/นักรังสีเทคนิค จำนวน.... คน มีประสบการณ์การทำงานด้านรังสีวินิจฉัย มากกว่า..... ปี เป็นต้น
โดยมีวิธีการประเมินภาพดังนี้.... (กำหนด เกณฑ์ให้คะแนน)

ผลการดำเนินการ
คุณภาพของภาพ เป็นอย่างไร ตามเกณฑ์ให้คะแนน
หายใจเข้าเต็มที่ ได้ เพียงใด
มี motion artifact หรือไม่

สรุป

นี่ก็ อาจเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการบริการ
ผู้ป่วยเป็นจุดศูนย์กลาง
การบริการผู้ป่วยดุจญาติมิตร

โอกาสพัฒนา มีอยู่ทุกวัน ครับ

หมายเลขบันทึก: 604835เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2016 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2016 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท