ปราชญ์/ผู้นำชุมชนในภูมิภาคตะวันตก : ศึกษา ลุงเอี่ยม ศรีพนมวรรณ์ (ครั้งที่ 7)


7/เม.ย./2559 วันนี้พวกเราได้ลงพื้นที่ไปหาลุงเอี่ยมอีกครั้ง วันนี้อากาศค่อนข้างร้อนมาก และในวันนี้ลุงเอี่ยมได้ให้พวกเราเรียนรู้เกี่ยวกับ "เกษตรผสมผสาน"

ขั้นแรกเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรผสมผสาน กันก่อนเลยดีกว่า...

เกษตรผสมผสาน คือ เป็นวิธีทำการเกษตรที่มีการเพาะปลุกหรือเลี้ยงสัตว์หลายๆๆชนิดอยู่พื้นที่เดียวกัน มีการนำเศษวัสดุเหลือใช้จากการผลิตหนึ่ง เพื่อใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร โดยทั่วไปการผลิตแบบนี้มักเป็นรูปแบบการเกษตรประเภททำเพื่อพอกินพอใช้ ทำโดยสมาชิกในครัวเรือน พอมีเหลือจึงขาย ซึ่งการเกษตรแบบนี้จัดว่าเป็นการเกษตรแบบดั้งเดิม ที่เกษตรกรสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง แต่อาจไม่เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากเกษตรกรจำเป็นต้องมีรายได้หลักเพื่อใช้จ่ายภายในครอบครัว รวมทั้งเพื่อการศึกษาของบุตรหลาน ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย หลักหารสำคัญของการผลิตแบบนี้คือ การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ลดการใช้สารเคมีการเกษตรหรือใช้แนวทางเลือกอื่นในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งการเกษตรแบบนี้ถ้าได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรทำให้มีงานทำตลอดปี มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวและลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานจากส่วนภูมิภาคเข้าสู่ส่วนกลางได้

หลังจากที่ได้นั่งคุยกับลุงเอี่ยมอยู่พักใหญ่ ลุงเอี่ยมก็ได้พาพวกเราเดินไปดูบริเวณรอบบ้านของลุงเอี่ยม ซึ่งมีการทำเกษตรผสมผสานที่หลากหลาย

ที่ไร่ของลุงเอี่ยม ได้ปลูกพืชไว้หลายชนิดและได้มีการขุดบ่อน้ำ ไว้ใช้ในการเกษตร มีการเลี้ยงปลาไว้ในบ่ออีกด้วย และได้ปลูกไม้ผลไว้หลายชนิดบริเวณรอบบ่อปลา

และยังมีการปลูกพืชผักสวนครัวหลายชนิดไว้ในบริเวณแปลงเห็ด ที่หมดอายุแล้ว ซึ่งเชื้อของเห็ดที่หมดอายุแล้วจะเป็นปุ๋ยอย่างดีให้กับพืชผักสวนครัว ลุงเอี่ยมได้ปลูกไว้หลายอย่างมาก เช่น ข้าวโพด ฝักทอง ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว บวบ เป็นต้น

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเกษตรผสมผสาน

1. ลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพลม ฟ้า อากาศ จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีความแปรปรวนในแต่ละปี ได้มีการปลูกพืชสวน (ไม้ผล พืชผัก) การเลี้ยงสัตว์ หรือการเลี้ยงปลาทดแทนการปลูกข้าวหรือพืชไร่ที่อาจเสียหาย จากสภาวะฝนแล้งหรือน้ำท่วม

2. ลดความเสี่ยงจากความผันแปรของราคาผลผลิตระบบเกษตรผสมผสานจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากความผันแปรของราคาผลผลิตในตลาดลงได้ เนื่องจากเกษตรกรสามารถจะเลือกชนิดพืชปลูกและเลือกกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดี

3. ลดความเสี่ยงจากการระบาดของศัตรูพืช ในการดำเนินกิจกรรมการปลูกข้าว หรือพืชไร่เพียงอย่างเดียว เกษตรกรจะมีความเสี่ยงอย่างมากเมื่อเกิดการระบาดของศัตรูพืชขึ้น

4. ช่วยเพิ่มรายได้และกระจายรายได้ตลอดปี การดำเนินระบบเกษตรผสมผสานซึ่งมีกิจกรรมหลายกิจกรรม ในพื้นที่เดียวกัน จะก่อประโยชน์ในด้านทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง

5. ช่วยก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวพันธุ์ (Species Diversity) การดำเนินระบบเกษตรผสมผสาน ซึ่งจะมีกิจกรรมหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน พบว่าทำให้เกิดความหลากหลายทาง ชีวพันธุ์ (Species Diversity) เกิดขึ้นในพื้นที่

6. ช่วยก่อให้เกิดการหมุนเวียน (Recycling) ของกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับไร่นา เป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรในระดับไร่นา ไม่ให้เสื่อมสลายหรือถูกใช้ให้หมดไปอย่างรวดเร็ว

7. ช่วยให้เกษตรกรมีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคภายในครัวเรือน ในการดำเนินระบบเกษตรผสมผสานที่มีหลายกิจกรรมช่วยทำให้เกษตรกรสามารถมีอาหารไว้บริโภคในครอบครัวครบ ทุกหมู่

8. ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น

หมายเลขบันทึก: 604815เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2016 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2016 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท