New Core Values and Concepts


Baldrige Framework เป็นกรอบที่มุ่งเน้นการปรับปรุง

New Core Values and Concepts

ค่านิยมและแนวคิดหลัก

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

9 เมษายน 2559

เรื่องค่านิยมและแนวคิดหลักนี้ ดัดแปลงมาจาก หนังสือ TQA: Thailand Quality Award, Criteria for Performance Excellence Framework 2559-2560 โดย สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม ขอรับหนังสือเล่มนี้ได้ที่ สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งขาติ ชั้น 15 อาคารยาคูลท์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 630-636 หรือ Download ได้ที่ website: www.tqa.or.th

ผู้ที่สนใจเอกสารนี้แบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/new-core-values-and-concepts

สรุปสำหรับผู้บริหาร

  • ค่านิยมและแนวคิดหลัก เป็นความเชื่อและพฤติกรรมที่ฝังลึกอยู่ในองค์กรที่มีผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ
  • เป็นรากฐานที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติ ภายใต้กรอบการจัดการที่เน้นผลลัพธ์ ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติการ และความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง มี 11 ประการคือ
    • มุมมองเชิงระบบ
    • การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์
    • ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า
    • ให้คุณค่ากับคน
    • การเรียนรู้ขององค์กรและความคล่องตัว
    • มุ่งเน้นที่ความสำเร็จ
    • การจัดการเพื่อนวัตกรรม
    • การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง
    • ความรับผิดชอบต่อสังคม
    • จริยธรรมและความโปร่งใส
    • การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์

ค่านิยมและแนวคิดหลัก

  • ค่านิยมและแนวคิดหลักได้รับการปรับปรุงและจัดลำดับใหม่ สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผู้นำ และการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ
  • อย่างแรกและสำคัญที่สุด Baldrige ให้มุมมองเชิงระบบ (systems perspective) และ การนำอย่างมีวิสัยทัศน์ (visionary leadership) เป็นสองค่านิยมหลักแรก
  • อีกเจ็ดค่านิยมหลัก เป็นกระบวนการของระบบที่มีประสิทธิผล
  • สองค่านิยมหลักสุดท้ายทั้ง จริยธรรมและความโปร่งใส (ethics and transparency) และ การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์ (delivering value and results) เป็นผลของการใช้ Baldrige เป็นคู่มือ


สมรรถนะ 3 ประการของผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ

  • 1. การนำอย่างมีกลยุทธ์ (Strategic Leadership)
  • 2. การทำให้สำเร็จที่เป็นเลิศ (Execution Excellence)
  • 3. การเรียนรู้ขององค์กร (Organizational Learning)

การนำอย่างมีกลยุทธ์ (Strategic Leadership)

  • องค์กรต้องมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการเน้นทั้งปัจจุบันและอนาคต มีความเข้าใจในเรื่องการบูรณาการอย่างเป็นระบบขององค์กร และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับค่านิยมและแนวคิดหลักคือ
    • มุมมองเชิงระบบ (Systems Perspective)
    • การนำอย่างมีวิสัยทัศน์ (Visionary Leadership)
    • ความรับผิดชอบต่อสังคม (Societal Responsibility)
    • จริยธรรมและความโปร่งใส (Ethics and Transparency)

การทำให้สำเร็จที่เป็นเลิศ (Execution Excellence)

  • ผลงานโดยรวมขององค์กรต้องถูกขับเคลื่อนโดย ความต้องการ ความคาดหวัง และความเต็มใจในค่าใช้จ่ายของลูกค้า กลไกในการขับเคลื่อนคือ บุคลากร และการเน้นที่ผลลัพธ์คือความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับค่านิยมและแนวคิดหลักคือ
    • ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า (Customer-Focused Excellence)
    • การให้ความสำคัญกับผู้คน (Valuing People)
    • การมุ่งเน้นความสำเร็จ (Focus on Success)
    • การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์ (Delivering Value and Results)

การเรียนรู้ขององค์กร (Organizational Learning)

  • วงจรการเรียนรู้จำเป็นต้องขับเคลื่อนโดยการเรียนรู้ขององค์กรและความคล่องตัว มีการจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง และมีนวัตกรรมเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
  • เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับค่านิยมและแนวคิดหลักคือ
    • การเรียนรู้ระดับองค์กรและความคล่องตัว (Organizational Learning and Agility)
    • การจัดการเพื่อนวัตกรรม (Managing for Innovation)
    • การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง (Management by Fact)


ค่านิยมและแนวคิดหลัก 11 ข้อ

ข้อที่ 1. มุมมองเชิงระบบ (Systems Perspective)

  • การจัดการทั้งองค์กร และองค์ประกอบทุกส่วนให้เป็น องค์กรหนึ่งเดียว เพื่อบรรลุความสำเร็จขององค์กร
  • มีความสอดคล้องไปแนวทางเดียวกัน และบูรณาการ
  • ปรับปรุงแก้ไขและจัดการผลการดำเนินการ โดยอาศัยผลลัพธ์เป็นพื้นฐาน

มุมมองเชิงระบบ มี 3 ประเด็นคือ

  • 1.การสังเคราะห์ (Synthesis)
  • 2.ความสอดคล้อง (Alignment)
  • 3.บูรณาการ (Integration)

ข้อที่ 2. การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ (Visionary Leadership)

  • กำหนดทิศทางองค์กร (วิสัยทัศน์ ค่านิยม และจริยธรรมองค์กร)
  • กำหนดกลยุทธ์และระบบเพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ
  • สร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจ
  • ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ ของผู้นำระดับสูง มี 4 ประเด็นคือ

  • 1.กำหนดทิศทางขององค์กรและสร้างการมุ่งเน้นลูกค้า การมีค่านิยมที่ชัดเจน และมีความคาดหวังที่สูง
  • 2.กำหนดกลยุทธ์ มีระบบและมีวิธีการ เพื่อการบรรลุผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ กระตุ้นการสร้างนวัตกรรม สร้างความรู้และสมรรถนะ และความยั่งยืนขององค์กร
  • 3.มีระบบธรรมาภิบาล
  • 4.เป็นแบบอย่างที่ดี ในเรื่องจริยธรรม ค่านิยม และความคาดหวัง

ข้อที่ 3. ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า (Customer-Focused Excellence)

  • เข้าใจความต้องการของลูกค้าเป็นอย่างดี
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าในระยะยาว
  • มุ่งมั่นในการกำจัดความไม่พึงพอใจของลูกค้า
  • ผลิตภัณฑ์/บริการสร้างความแตกต่างอย่างเหนือชั้น
  • ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าและแนวโน้มตลาด

ความเป็นเลิศเรื่องการมุ่งเน้นลูกค้า มี 2 ประเด็นคือ:

  • 1.ความเข้าใจคำว่าคุณค่า (คุณลักษณะและคุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์ และวิธีการเข้าถึง) ในมุมมองของลูกค้า
  • 2.แนวคิดที่เป็นกลยุทธ์ (เข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าและการตลาด)

ข้อที่ 4. การเห็นคุณค่าของคน (Valuing People)

  • การสร้างความผูกพัน
  • การพัฒนาบุคลากร การสร้างความผาสุก และความพึงพอใจ
  • การสร้างแรงจูงใจ
  • การสร้างความเป็นหุ้นส่วนให้กับบุคลากร
  • การร่วมมือกับองค์กรอื่นในการพัฒนาบุคลากร

การเห็นคุณค่าของคน มี 4 ประเด็นคือ

  • 1.การได้ทำงานที่มีความหมาย
  • 2.มีการกำหนดทิศทางองค์กรที่ชัดเจน
  • 3.ได้รับมอบหมายความรับผิดชอบต่องานที่ทำ
  • 4.มีการสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีความปลอดภัย, มีความไว้วางใจ, และให้ความร่วมมือ

การเห็นคุณค่าพันธมิตร มี 2 ประเด็นคือ

  • 1.พันธมิตรภายใน (สหภาพแรงงาน เครือข่ายระหว่างกลุ่มงาน เครือข่ายระหว่างบุคลากรและอาสาสมัคร)
    • โอกาสในการพัฒนาบุคลากร
    • การอบรมข้ามหน่วย
    • มีทีมงานใหม่ขององค์กร
  • 2.พันธมิตรภายนอก (ลูกค้า ผู้ส่งมอบ สถานศึกษา องค์กรในชุมชน)
    • การเข้าสู่ตลาดใหม่
    • เป็นพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ใหม่
    • เป็นพื้นฐานงานบริการลูกค้า
    • การรวมสมรรถนะหลัก
    • การรวมความสามารถของการนำ
    • ที่มาของความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

ข้อที่ 5. การเรียนรู้ระดับองค์กรและความคล่องตัว (Organizational and Agility)

  • มีการเรียนรู้อย่างบูรณาการ
  • ให้โอกาสในการเรียนรู้มากขึ้น
  • การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่
  • มีความไวในการตอบสนองที่รวดเร็วยิ่งขึ้น มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะราย
  • การลดรอบเวลาในการนำผลิตภัณฑ์และบริการใหม่เข้าสู่ตลาด

การเรียนรู้ระดับองค์กร ประเด็นคือ

  • มีกระบวนการอย่างเป็นระบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่เป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและนวัตกรรม
  • การเรียนรู้ระดับบุคคล ประเด็นคือ การเปิดโอกาสให้บุคลากรและผู้นำ ในการเพิ่มพูนความรู้และได้ฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ
  • ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความอ่อนตัว
  • การย่นระยะเวลาในการตอบสนองอย่างมีนัยสำคัญ
  • การพัฒนารอบเวลาของการสร้างนวัตกรรม

ข้อที่ 6. การมุ่งเน้นความสำเร็จ (Focus on Success)

  • ความเข้าใจปัจจัยตัวขับเคลื่อนธุรกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว
  • มีแนวทางการจัดการความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อม
  • มีความจริงจังในการมองเพื่ออนาคต และสร้างพันธะระยะยาวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ

การมุ่งเน้นความสำเร็จ มี 2 ประเด็นคือ

  • 1.เป็นการมองเกินไตรมาส
  • 2.การมุ่งมั่นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญในระยะยาว

ข้อที่ 7. การจัดการเพื่อนวัตกรรม (Managing for Innovation)

  • นวัตกรรมเป็นแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์องค์กร การบริการ กระบวนการและการปฏิบัติการ รวมทั้งการสร้างคุณค่า เพื่อตอบสนองแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การจัดการเพื่อนวัตกรรม มี 4 ประเด็นคือ

  • 1.มีกระบวนการสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ
  • 2.ผู้นำส่งเสริมและจัดการจนกระทั่งนวัตกรรมเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กร
  • 3.บูรณาการเข้ากับการปฏิบัติงานประจำวันและมีระบบการพัฒนาผลงานสนับสนุน
  • 4.มาจากความรู้ที่สะสมในองค์กรและบุคคล และมีการนำความรู้นั้นมาเผยแพร่ทั่วทั้งองค์กร

ข้อที่ 8. การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง (Management by Fact)

  • การวัด การวิเคราะห์ และทบทวนผลการดำเนินการ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงผลการดำเนินการ ในด้านลูกค้าและบริการ การปฏิบัติการ การเงิน และจริยธรรม
  • รวมทั้งการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง หรือระดับเทียบเคียงของวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ”

การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง มี 3 ประเด็นคือ

  • การวัดผล (Measurement)
  • การวิเคราะห์ (Analysis)
  • ตัววัดผล (Measures)

Measurement: Key to World-Class Performance

  • Fewer are better
  • Measures should be linked to the factors needed for success
  • Measures should be a mix of past, present, and future
  • Measures should be based around the needs of customers, shareholders, and other key stakeholders
  • Measures should start at the top and flow down
  • Multiple indices can be combined into a single index
  • Measures should be changed or at least adjusted
  • Measures need to have targets or goals established

ข้อที่ 9. ความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง (Societal Responsibility)

  • ความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม
  • การดำรงรักษาทรัพยากรและลดมลภาวะ
  • การวางแผนป้องกันผลกระทบ
  • การทำดีกว่ากฎหมายและกฎระเบียบ
  • การเป็นผู้นำและการสนับสนุนสังคม

ความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง มี 3 ประเด็นคือ

  • 1.พฤติกรรมที่มีจริยธรรม
  • 2.ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
  • 3.ความอยู่ดีมีสุขของสังคม

ข้อที่ 10. จริยธรรมและความโปร่งใส (Ethics and Transparency)

  • ประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ในการทำธุรกรรมและปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
  • ผู้นำระดับสูงประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และแสดงความคาดหวังต่อบุคลากรในเรื่องจริยธรรม

จริยธรรมและความโปร่งใส มี 3 ประเด็นคือ

  • สร้างความไว้วางใจในองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเชื่อในความเป็นธรรมและความซื่อสัตย์
  • เน้นพฤติกรรมที่มีจริยธรรม ในการทำธุรกรรมและปฏิสัมพันธ์
  • การสื่อสารอย่างต่อเนื่องตรงไปตรงมา เปิดกว้างในส่วนของการนำและการจัดการ และการแบ่งปันข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้อง

ข้อที่ 11. การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์ (Delivery Value and Results)

  • การมุ่งเน้นผลลัพธ์ วัดผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการทั้งแบบนำและแบบตาม (Leading & Lagging Measures)
  • การสร้างความสมดุลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ลูกค้า บุคลากร ผู้ถือหุ้น ผู้ส่งมอบ พันธมิตร สาธารณะและชุมชน)

การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์มี 2 ประเด็นคือ

  • องค์กรต้องรู้ว่าผลลัพธ์ที่สำคัญคืออะไร
  • ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ (CSF = Critical Success Factors ) คือหนทางที่ช่วยให้องค์กรระบุว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญ

Example Critical Success Factors

  • Money: positive cash flow, revenue growth, and profit margins.
  • Your future: Acquiring new customers and/or distributors.
  • Customer satisfaction: How happy they are.
  • Quality: How good is your product and service?
  • Product or service development: What's new that will increase business with existing customers and attract new ones?
  • Intellectual capital: Create assets from the tools you make to run your business.
  • Strategic relationships: New sources of business, products and outside revenue.
  • Employee attraction and retention: Your ability to find, train, and keep employees and to let go employees that are not a good fit.
  • Sustainability: Your personal ability to keep it all going.

สรุป Baldrige Framework เป็นกรอบที่มุ่งเน้นการปรับปรุง

  • กระบวนการมีประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องหรือไม่?
  • มีแนวทางที่ตอบสนองความต้องการขององค์กรหรือไม่?
  • ผลลัพธ์การดำเนินการเป็นอย่างไร?
  • องค์กรได้เรียนรู้ มีการสร้างนวัตกรรม และมีการปรับปรุงหรือไม่?

************************************

คำสำคัญ (Tags): #core values#concepts#tqa#criteria
หมายเลขบันทึก: 604713เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2016 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2016 09:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท