แบบสะกดนิ้วมือไทยในภาษามือ


ผู้เขียนเคยบันทึกถึงเรื่องการสะกดนิ้วมือมาบ้างแล้ว บันทึกนี้จะขอเพิ่มเติมข้อมูลอีกเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้เข้าใจรายละเอียดวิธีสะกดนิ้วมือ มากขึ้น

การสะกดนิ้วมือไทย คิดค้นสำเร็จเมื่อพ.ศ.2499 โดย ใช้วิธีดัดแปลงมาจาก ตัวสะกดนิ้วมืออเมริกัน ผู้คิดค้นคือ คุณหญิงกมลา ไกรฤกษ์ ท่านสำเร็จการศึกษา ปริญญาโท วิชาการสอนคนหูหนวก จากมหาวิทยาลัยกาเลาเด็ท (Gallaudet University ) กรุงวอชิงตัน ประเทศอเมริกา

การสะกดนิ้วมือไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1 แบบสะกดตัวอักษร การเรียงลำดับของอักษรไทย สระ วรรณยุกต์ ในภาษามือ จะแตกต่างกับ การเรียงอักษรปรกติ โดยอักษรภาษามือหรือแบบสะกดนิ้วมือไทย ได้เรียงลำดับตัวอักษรตามลักษณะท่ามือ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น ก ข ค และ ฆ ส่วนอักษรตัวต่อไปเป็นตัว ต ถ ฐ ฒ ฑ ฏ (ทั้ง 6 ตัวนี้ มีลักษณะท่ามือคล้ายกัน ) ตัว ฮ ซึ่งเป็นตัวอักษรสุดท้ายของตนปรกติ แต่สำหรับคนหูหนวก ตัว ฮ จะอยู่ในกลุ่มของ ห เป็นต้น ดังนั้นอักษรตัวสุดท้ายของแบบสะกดนิ้วมือไทยคือ ตัว อ ตัวสะกดนิ้วมือของคนหูหนวกไทยไม่มีตัว ฃ ฅ เนื่องจากคนหูหนวก พบเห็นตัวอักษร 2 ตัวนี้ น้อยมาก

ส่วนที่ 2 แบบสะกดนิ้วมือ สระ วรรณยุกต์ และสัญลักษณ์อื่นๆ ซึ่งได้จัดเรียงตามลักษณะที่คนหูหนวกเห็นและใช้อยู่ตามปรกติ ซึ่งไม่เหมือนกับการเรียงลำดับของสระในภาษาไทย


หมายเลขบันทึก: 604277เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2016 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2016 09:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นหูหนวกนายวิทยา ขื่นสี 99

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท