การมีสุขภาพดีอยู่ที่พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต


สุขภาพ หมายถึง สุขภาพกายและสุขภาพจิต สุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นของคู่กัน จะต้องไปด้วยกัน การมีสุขภาพดีหมายถึงมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีด้วย บุคคลที่มีสุขภาพกายไม่ดี มีอาการเจ็บป่วยทางกายเรื้อรัง ก็จะเกิดความทุกข์ใจ ทำให้สุขภาพจิตไม่ดี บุคลลที่สุขภาพจิตไม่ดี มีอารมณ์เครียดเรื้อรังเป็นประจำและเป็นเวลายาวนาน เป็นบ่อเกิดของโรคทางจิตเวชและโรคทางกาย ตัวอย่างของโรคจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า ตัวอย่างของโรคทางกาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคปวดศีรษะไมเกรน แฟลกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน ภูมิคุ้มกันร่างกายลดต่ำลง ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยง่ายขึ้น โรคทางกายที่เป็นอยู่แล้วจะเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาการของโรคที่เงียบสงบหายไป ก็จะกำเริบขึ้น หรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น

ในสภาพสังคมปัจจุบันและอนาคต วิวัฒนาการณ์ด้านการแพทย์ และการสาธารณสุข ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก โรคหลายๆโรค สามารถป้องกัน รักษาได้ โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรค ถึงแม้ได้รับเชื้อมีอาการป่วยแล้วก็มียาปฏิชีวนะสารช่วยรักษาให้โรคหายได้ โรคมะเร็งก็สามารถตรวจเช็คได้ตั้งแต่เริ่มเป็นใหม่ๆ ยังไม่มีอาการ และมะเร็งบางชนิด ก็สามารถรักษาาให้หายได้ ถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก ทำให้คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น จำนวนประชากรในผู้สูงอายุจะเพิ่มมากขึ้น โรคผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เกิดจากการเสื่อมของอวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะหลอดเลือดแดงของร่างกายจะมีอาการเสื่อมตามวัย อายุยิ่งมากขึ้นหลอดเลือดยิ่งเสื่อมมากขึ้น คือผนังหลอดเลือดแข็งตัว หนาขึ้น รูหลอดเลือดตีบเล็กลง ทำให้ประมาณเลือดที่จะสูบฉีดจากหัวใจไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ โดยเฉพาะหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองถ้าหากมีการตีบตันของหลอดเลือด เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอเกิดเนื้อสมองตาย ทำให้เกิดความพิการทางสมอง เช่น โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ความจำเสื่อม สำหรับหลอดเลือดหัวใจ ถ้ามีการตีบตับ เลือดหล่อเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้ถึงแก่กรรมได้ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุ หรือปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้หลอดเลือดตีบตันเร็วขึ้น โรคที่กล่าวมานี้มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้อง เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ถ้าหากมีพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ทำให้สุขภาพดีตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ถ้าหากท่านต้องการเป้นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ไม่เป็นภาระต่อผู้อื่น สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และประเทศชาติ ท่าต้องดูแลสุขภาพให้ดีตั้งแต่วัยหนุ่มสาว

การดูแลสุขภาพให้ดีอยู่ที่พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต จะต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน มีความคิดการเตรียมตัวคือ มีเป้าหมายต้องการมีสุขภาพดี มีการวางแผนและแนวทางการปฏิบัตเพื่อบรรลุแผนที่วางไว้ มีการปฏิบิตอย่างจริงจัง เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ มีความเข้มแข็งอดทน ไม่ท้อแท้ มีการประเมินและติดตามผล โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้

1. การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันรักษาโรคและฟื้นสภาพร่างกายที่ดี มีประโยชน์ปละประหยัด ทำได้้ในทุกเพศทุกวัย การออกกำลังกายนั้นจะต้องทำด้วยความพอดี ไม่น้อยเกินไป และไม่มากจนเกินไป ควรออกกำลังกายทุกวัน อย่างน้อยวันเว้นวัน สม่ำเสมอเป็นประจำ ออกกำลังอย่าางต่อเนื่อง ครั้งละประมาณ 30 นาที ถ้าหากมีอาการเหนื่อยก็พัก หายเหนื่อยจึงทำต่อ การออกกำลังหายต้องหนักหรือแรงพอประมาณ เพื่อให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้เต็มที่ ถ้าหากเหนื่อยมาก ผิดปกติ แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หายใจขัด วิงเวียบศีรษะ ให้รีบหยุด และควรไปปรักษาแพทย์ การออกกำลังหรือเล่นกีฬา ควรจะปลูกฝังตั้งแต่ในวัยเด็ก เพื่อให้เกิดเป็นนิสัย การออกกลังกายควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กหรือหนุ่มสาว จะออกกำลังกายโดยวิธีใดจะเหมาะสม ขึ้นอยู่กับเพศอายุ และความพึงพอใจของแต่ละบุคคล ไม่ควรออกกำลังกายขณะที่ร่างกายไม่สบาย มีไข้ ท้องเสีย ควรออกกำลังกายก่อนหรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง บางท่านจะบอกว่าไม่มีเวลาออกกำลังกาย ผู้เขียนแนะนำถ้าท่านดูโทรทัศน์ทุกวัน ก็ออกกำลังกายขณะดูโทรทัศน์

2. การควบคุมน้ำหนักตัว

ต้องทานอาหารทุกหมู่เหล่าให้เพียงพอและพอเพียง ทานพออิ่ม ไม่ทานจนอิ่มมาก ไม่ทานจุบจิบ ไม่ทานน้ำหวาน ควรทานน้ำเปล่า หลีกเลี่ยงอาหารประเภทรสหวานจัดเค็มจัด ไขมันสูง อาหารประเภทแป้ง พยายามทานอาหารประเภทผักสดผลไม้ ปบา เนื้อไม่ติดมันไม่ติดหนัง ทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้า เป็นมื้อที่สำคัญ ไม่ควรอดอาหารมื้อเช้า เนื่องจากร่างกายขาดอาหารและขาดน้ำมาหลายชั่วโมง ดังนั้นอาหารมื้อเช้ายิ่งทานได้เช้ามากยิ่งดี สำหรับอาหารมื้อกลางวัน ควรจะเป็นอาหารมื้อหนัก เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมาก สำหรับอาหารมื้อเย็นไม่ควรหนักมาก การรับประทานมากน้อย ให้พิจารณาจากน้ำหนักตัว น้ำหนักตัวต้องอยู่ในมาตรฐาน ท้องต้องไม่ใหญ่ ไม่ลงพุง ขนาดความยาวของท้องหรือพุงที่มาตรฐาน ต้องไม่เกินครึ่งหนึ่งของความสูง สำหรับมาตรญานน้ำหนักของผู้ชาย เอาความสูงเป็นเซ็นติเมตร ลบด้วย 100 ส่วนผู้หญิงลบด้วย 105 ผลลัพธ์ที่ได้หน่วยเป็นกิโลกรัม เป็นน้ำหนักมาตรฐาน เช่นผู้ชาย สูง 170 เซนติเมตร น้ำหนักมาตรญานของชายคนนี้ เอา 100 ไปลบ 170 เท่ากับ 70 น้ำหนักมาตรฐานคือ 70 กิโลกรัม คนอ้วนและลงพุงเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดจะเสื่อมเร็ว

3. การมีสุขภาพจิตดี

บุคลลที่มีสุขภาพจิตดี มีอารมณ์ดี ใจมีสุข ถือว่าเป็นกำไรชีวิต บุคคลที่มีจิตใจเศร้าหมอง จิตใจมีตแต่ความทุกข์ เหมือนตกนรกทั้งเป็น คนที่มีสุขภาพจิตดี ก็จะมีสุขภาพกายดี ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน มีครอบครัวที่ดีและอบอุ่น การจะมีสุขภาพจิตที่ดี อยู่ที่ความคิด คือคิดให้เป็น ควรถือปฏิบัติดังนี้

3.1 มองโลกในแง่ดี คิดไปทางบวก คิดให้มีความหวังอย่าคิดสิ้นหวัง คิดสู้ไม่คิดท้อ คนไม่คิดสู้จะแพ้ตลอดกาล อย่ากลัวความผิดหวัง คสามผิดหวังหรือความผิดพลาด ถือเป็นเรื่องปกติ คนที่ไม่เคยผิดพลาด คือคนที่ไม่เคยทำอะไร เอาความผิดพลาดมาศึกษาเป็นบทเรียน เพื่อไม่ให้ทำผิดซ้ำ

3.2 รู้จักปรับตัวเข้ากับผู้อื่น และสภาพแวดล้อม รู้จักทนต่อสิ่งเร้าภายนอก รู้จักรักและให้ผู้อื่นก่อน เป็นผู้ให้อย่าเป็นผู้ขอ อย่าเป็นคนสร้างปัญหาหรือทำความเดือดร้อน กับคนหรือหน่วยงานที่เราอยู่ด้วย ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือบุคคลที่เราอยู่ด้วยก็จะมีแต่คนรักคนชอบ หัดเป็นคนประหยัดอยู่กินง่ายๆ

3.3 อย่ากลัวความเครียด ความเครียดเป็นสิ่งปกติพบในคนทั่วไปถ้ามีไม่มาก ความเครียดคล้ายสัญญาณเตือนภัยว่าภัยจะมาถึงตัวเราแล้ว ให้เราเตรียมตัวและหาทางแก้ไข เวลามีความเครียดเกิดขึ้น ขอให้มีสติ อย่าตื่นตระหนก คิดหาสาเหตุของปัญหา หาแนวทางแก้ไข ต้องกล้าตัดสินใจ อย่าเก็บปัญหาไว้ การตัดสินใจได้ดี อยู่ที่ข้อมูลและประสบการณ์ของเรา ถ้าหากยังไม่กล้าตัดสินใจ อาจจะต้องปรึกษาผู้รู้ บางปัญหาอาจไม่สามารถแก้ไขได้ ก็ต้องยอมรับและยุติปัญหานั้นๆ

3.4 พึงพอใจในตัวเรา พึงพอใจกับผลงานของเราที่เราได้ตั้งอกตั้งใจและทุ่มเท ทำอย่างเต็มความสามารถ อย่าทำอะไรเกินตัว ให้ประเมินศักยภาพและความสามารถของเราก่อนจะตัดสินใจทำอะไร อย่าเป็นคนหลอกตัวเอง เช่นทำตัวคล้ายกับคนที่มีรายได้สูง ใช้จ่ายเกินตัว สร้างหนี้สิน แต่พื้นฐานของตนรายได้ไม่มาก

3.5 ต้องมีคุณธรรมและความซื่อสัตย์ คนที่ไม่มีคุณธรรมและความซื่อสัตย์ ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย กฏระเบียบ ประเพณีของสังคมและศีลธรรม เช่น คอรัปชั่น คดโกง จะหาความสุขทางใจไม่ได้ จิตใจจะมีแต่ความรุ่มร้อน ความทุกข์ เพราะกลัวว่าผู้อื่นจะรู้ในสิ่งที่ตนทำไม่ถูกต้อง นอกจากบุคคลนั้นเป็นคนที่ไม่มีหิริโอตัปปะ จึงไม่รู้สึกผิดชอบ

4. การนอนหลับพักผ่อน

การนอนหลับพักผ่อน เป็นการซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ และสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายแข็งแรง ระยะเวลาในการนอนหลับประมาณ 7-8 ชั่วโมง ต่อคืน การนอนควรนอนหลับให้ลึกและหลับสนิท ควรฝึกการเข้านอนเป็นเวลาให้เป็นนิสัย พอถึงใกล้เวลาที่เคยเข้านอนก็จะรู้สึกง่วง จะทำให้หลับง่ายขึ้น ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ โคล่า เวลาเย็น และไม่ควรดื่มน้ำมากเวลาเข้านอน ทำจิตใจให้สงบ ไม่เอาเรื่องมาคิดเวลาเข้านอน ห้องนอนต้องเงียบสงบ อากาศดี ไม่มีแสงสว่างมาก การทำงานต้องไม่หนักเกินไป ต้องมีเวลาพักผ่อน งานที่ทำต้องเป็นงานที่ชอบ ทำแล้วมีความสุข

5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มเหล้าเบียร์

สารพิษในบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดตีบ ทำลายปอด ก่อเกิดมะเร็งปอด เหล้้าเบียร์ทำลายตับและสมอง

6. การตรวจสุขภาพประจำปี

บุคคลที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง เป็นประจำทุกปี ได้แก่การตรวจสิ่งต่อไปนี้

6.1 การตรวจความดันโลหิตและน้ำหนักตัว ความดันโลหิตวัดในขณะที่หัวใจบีบตัวควรจะต่ำกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และขณะที่หัวใจคลายตัวควรจะต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท น้ำหนักตัวไม่เกินมาตรฐาน ความยาวรอบเอวต้องอยู่ในมาตรฐาน คือครึ่งหนึ่งของความสูง

6.2 การตรวจเลือด ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด ไขมัน การทำงานของตับ การทำงานของไต ความเข้มข้นของเลือด ดูมีภาวะโลหิตจางหรือไม่ ตัวชีวัดค่ามะเร็งที่สามารถตรวจได้ขณะนี้ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งไส้ใหญ่ มะเร็งปอด มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย มะเร็งรังไข่ในเพศหญิง

6.3 การเอ็กซเรย์ปอด เพื่อตรวจมะเร็งและวัณโรคปอด

6.4 การตรวจอัลตร้าซาวน์ช่องท้อง เพื่อตรวจหาก้อนเนื้องอกในช่องท้อง ตรวจหานิ่วถุงน้ำดีและนิ่วทางเดินปัสสาวะ

6.5 การส่องกลองทวารหนัก เพื่อตรวจหามะเณ้งลำไส้ใหญ่

6.6 การตรวจภายใน(ช่องคลอด)ในสตรี เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูก

6.7 การตรวจอัลตร้าซาวน์และแมมโมแกรมในสตรี เพื่อตรวจหามะเร็งเต้านม

ความสุขของคนเราในความคิดของผู้เขียน คือการมีสุขภาพกายที่แข็งแรง ใจมีสุข มีหน้าที่การงาน และการเงินที่มั่นคง มีเกียรติและศักดิ์ศรี สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม

หมายเลขบันทึก: 604221เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2016 15:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2016 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท