เราจะเตรียมรับมือกันอย่างไร? ..... สังคมผู้สูงอายุ


สังคมผู้สูงอายุ และการเตรียมตัวของวัยรุ่น

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2547 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567 หรืออีก 15 ปีข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับมหภาค ได้แก่ ผลต่อ GDP รายได้ต่อหัวประชากร การออม การลงทุน งบประมาณของรัฐบาลและการคลัง ผลิตภาพแรงงานและการจ้างงาน และในระดับจุลภาคได้แก่ ผลต่อตลาดผลิตภัณฑ์และบริการด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพ

ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อม ทั้งด้านบุคลากรและระบบ โดยจะต้องเร่งดำเนินการดังนี้

-ปรับปรุงฐานข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้ทันสมัย

-สร้างหลักประกันด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล

-สนับสนุนการดูแลระยะยาว และแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้ดูแล

-สร้างหลักประกันด้านรายได้และส่งเสริมการออมเพื่อวัยหลังเกษียณ

-ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุและขยายกำหนดการเกษียณอายุ

-สร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบครอบครัวและชุมชน

การเตรียมตัวของข้าพเจ้า

1. การบริหารจัดการเงินออม เช่น ควบคุมค่าใช้จ่ายในบ้านให้สมดุลกับรายได้

2. วางแผนการทำประกันเพื่อวัยเกษียณ

3.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คนในครอบครัว

4.ฝึกตนให้เป็นคนใจกว้าง มองโลกในแง่ดีและหลายๆแง่มุม

5.เตรียมหางานสำรอง ในกรณีที่ต้องหารายได้เพิ่ม ควรเตรียมไว้ตั้งแต่ยังดำรงตำแหน่งหน้าที่ในงานประจำอยู่

6. ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกับผู้อื่น

7. มีการวางแผนเรื่องที่อยู่อาศัยและการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

คำสำคัญ (Tags): #-
หมายเลขบันทึก: 604149เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2016 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2016 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท