เห็นใจตนเอง --> ความเห็นแก่ตัว


"เมื่อใดก็ตามที่เห็นความเห็นแก่ตัวของผู้คน ในใจตนเองนี้จะนึกชังอย่างมาก และไม่อยากเข้าใกล้"



แต่เมื่อมาเป็นอยู่อย่างที่เป็นปัจจุบัน มองเห็นใจตนเองจะทำเช่นเดิมไม่ได้ คือ ปฏิเสธและไม่สุงสิง ยิ่งมาเห็นประเภทความเห็นแก่ตัวที่ละเอียดขึ้น ดูภายนอกนั้นไม่ชัดเจน แต่เมื่อได้คลุกคลีสมาคมแล้วเห็น สัมผัส ปรากฏขึ้น ในใจรู้สึกอึดอัด ชิงชังและอยากหลีกหนี

จากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในใจ ...

มาพิจารณาทำความเข้าใจในตนเอง อารมณ์และความคิดที่ปรากฏก็คงจะไม่แตกต่างจากคนที่เราชัง ถ้าเราหนี เลี่ยง และไม่เผชิญ เราก็คงจะเห็นแก่ตัวอย่างยิ่งไม่แตกต่างไปจากเขา

สิ่งแรกที่ทำได้ในตนเอง คือ อดทน ...เป็นความอดทนที่จะไม่แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบออกมา อย่างน้อยต้องจัดการตนเองได้คือ เรื่องวาจา

การที่จะสามารถอดทนในตนเองได้ การฝึกฝนเรื่องสติ --> การเจริญสติเป็นหัวใจสำคัญ จะทำให้จิตและการรู้สึกตัวมีกำลังมากขึ้น จนสามารถยังยั้งการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมทางวาจาและการกระทำได้ แต่ก็มีหลายครั้งต่อหลายครั้งที่ข้าพเจ้ามักเล่นเกมส์ทางจิตใจ โต้ตอบแบบรู้ตัวว่ากำลังทำและเจตนาที่จะทำ แล้วค่อยมาใช้เส้นทางการภาวนาเกลาและชำระล้างภายในใจตนเองทีหลัง แต่พอเวลาผ่านไปนานเข้า มองเห็นความไม่มีประโยชน์ที่จะแสดงการกระทำเช่นนี้

การปลีกวิเวกยังคงใช้ได้ผล เป็นการได้พักกายและใจให้สงบได้ง่าย และที่สำคัญทำให้เรากลับคืนสู่ลมหายใจของตนเองได้ชัดเจนและละเอียดขึ้น

ปรากฏการณ์ของการเรียนรู้เรื่องราวนี้ ต้องอาศัยการฝึกฝน ความอดทน และความตั้งใจที่จะเกลาใจตนเองให้ตื่นรู้และเจริญงอกงาม

...

๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙

หมายเลขบันทึก: 603980เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2016 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2016 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท