สังคมผู้สูงอายุและการเตรียมตัวเพื่อเกษียณอายุ



สังคมผู้สูงอายุ

สังคมผู้สูงอายุเริ่มจากวัยเด็กเข้าสู่วัยรุ่นสู่วัยผู้ใหญ่และสู่วัยผู้สูงอายุในปัจจุบัน ในประเทศอีกไม่กี่ปีข้างหน้าวัยผู้สูงอายุจะมีจำนวนมากขึ้นถึงร้อยละ 20 สังคมผู้สูงอายุมิได้มีผลกระทบเฉพาะกับผู้สูงอายุเท่านั้นแต่จะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อทุกคนผ่านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้สังคมผู้สูงอายุอาจสร้างภาระที่ทุกคนในประเทศต้องแบกรับร่วมกัน เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่อาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องดูแลผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นและมีอายุยืนยาวมากขึ้นเรื่อยๆ อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบสวัสดิการด้านสุขภาพต่างๆ ซึ่งการเพิ่มความมั่นคงของระบบดังกล่าวล้วนเป็นภาระด้านการเงินที่ต้องมีผู้แบกรับทั้งสิ้น ไม่ว่าจะผู้เสียภาษี นายจ้าง ลูกจ้างหรือรัฐบาลก็ตาม รวมทั้งจะเป็นภาระผูกพันต่อไปถึงลูกหลานในอนาคตที่ต้องมีส่วนในการร่วมสมทบในรูปแบบต่างๆ ให้กับระบบสวัสดิการ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมจึงเป็นเรื่องของทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยสูงอายุ วัยทำงาน วัยเรียน และวัยเด็กซึ่งจะกลายเป็นผู้สูงอายุในอนาคต

การเตรียมตัวเพื่อเกษียณอายุ (วัยสูงอายุ)

ทางด้านร่างกาย เมื่อคนเราอายุมากขึ้นนั้นมักจะมีอาการเหนื่อย เมื่อยล้าอาการปวดกระดูก กล้ามเนื้ออาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับปัญหาสุขภาพ โรคภัยต่างๆเข้ามา เกิดจากการทำงานหนักไม่มีเวลาดูแลตนเอง รับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ

  • เตรียมตัวตั้งแต่วันนี้โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ดูแลสุขภาพร่างกายโดยหาเวลาไปตรวจสุขภาพทุกปี อาจจะเป็นปีละครั้งหรือสองครั้ง
  • เมื่อมีรายได้แล้วจะนำเงินไปทำประกันสุขภาพเพื่อคุ้มครองตนเองและยังเป็นการวางแผนทางด้านการเงินในเรื่องสุขภาพอีกด้วย
  • ไม่ทำลายสุขภาพ เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่

ทางด้านอารมณ์และจิตใจ เกิดจากอาการเครียด วิตกกังวล ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย หมดกำลังใจ น้อยใจ หงุดหงิดขี้โมโห อาการเหล่านี้อาจส่งไปถึงร่างกายและสุขภาพ ในช่วงวัยทำงานมักจะเกิดอาการเหล่านี้มากที่สุดเพราะการแข่งขันที่สูง หน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ ร่วมทั้งปัญหาทางครอบครัว เป็นต้น เมื่อเข้าสู่วัยชราจะทำให้เรามีอาการเหล่านี้สะสมมากขึ้น

  • ทำจิตใจให้สงบ อาจจะหาเวลาไปเข้าวัดทำบุญ นั่งสมาธิ
  • ไปพักผ่อนในช่วงวันหยุด หาอะไรทำคลายเครียด เช่น ร้องเพลง ดูหนัง ปลูกต้นไม้ หาอะไรที่สวยงามทำหรือสิ่งที่ทำให้เราผ่อนคลาย

ทางด้านการเงิน เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณอายุแล้วเราจะไม่มีรายได้หรือมีรายได้ที่น้อยลง แต่ค่าใช้จ่ายกลับมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การรักษาพยาบาล ค่าแพมเพิร์ส ค่าจ้างผู้ดูแล และอื่นๆ จะเห็นได้ว่าเงินนั้นสำคัญมากต่อการดำรงชีวิต และเป็นส่วนสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกายอารมณ์และจิตใจ ดั้งนั้นเราจะต้องเริ่มต้นการวางแผนการเงินและเตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณอายุ (วัยสูงอายุ) เป็นอย่างดีเพื่อให้มีเงินมาดำรงชีพต่อไปและไม่เป็นภาระแก่ใคร

  • จากการทำงานหาเงินในช่วงวัยทำงาน มั่นคงในหน้าทีมการงานหรือหารายได้เสริมนอกเหนือจากงานประจำ เช่น ขายของออนไลน์ ขายของตามตลาดนัดในช่วงวันหยุด
  • คำนวณเงินที่จะใช้จ่ายหลังเกษียณและตั้งเป้าการเก็บเงินให้ได้
  • เก็บออมเงินเป็นประจำหรือเปิดปัญชีเงินฝากประจำ
  • นำเงินไปลงทุนหรือเข้ารวมกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • ทำประกันชีวิตและประกันต่างๆที่คิดว่าจะมีเงินไว้ใช้จ่ายยามแก่ชราและไม่เป็นภาระให้ลูกหลานร่วมทั้งยังเป็นมรดกไว้ให้ลูกหลาน
  • สร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและทรัพย์สิน เช่น ซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน
  • ใช้จ่ายอย่างประหยัดและระมัดระวัง

สรุป การเตรียมตัวเพื่อเกษียณอายุนั้นจากด้านต่างๆนี้จะต้องเริ่มทำตั้งแต่ช่วงนี้จะดีที่สุด และการวางแผนนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่สามารถทำได้จริงเพื่อให้บรรจุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ อนาคตข้างหน้าไม่รู้จะเป็นยังไง สถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปทิศทางไหน ไม่ว่าจะเดินด้วยทางลัดที่คดเคี้ยวหรือเส้นทางตรง สิ่งที่รออยู่ข้างหน้านั้นคือเป้าหมาย ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนแล้วดำเนินตามเป้าหมาย

ที่มาข้อมูล : http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom1...

ที่มารูปภาพ : https://www.google.co.th/searchผู้สูงอายุ


หมายเลขบันทึก: 603940เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2016 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2016 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท