กรณีศึกษาการยืดอายุของไม้จามจุรีด้วยวิธีแช่น้ำยาสารโบรอน...นางสาวภมรรัตน์ ชุมภูประวิโร/นายปิยะวัฒน์ นิ่มวรรณวิลาศ/นายอนันต์ อาชวชาลี/นายวีรยุทธ รัตนณรงค์


"กรณีศึกษาการยืดอายุของไม้จามจุรีด้วยวิธีแช่น้ำยาสารโบรอน"

นางสาว ภมรรัตน์ ชุมภูประวิโร

บทที่ 1<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

บทนำ

ความเป็นมาของโครงงาน

จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว ( Family Leguminosae) ( เป็นไม้เนื้ออ่อน ) อนุวงศ์สะตอ (Sub-Family Mimosaceae) เป็นไม้ผลัดใบโตเร็ว เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่มเรือนยอดสูงประมาณ <?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:smarttags" /> 40 ฟุต สูง 20 – 30 เมตร เปลือกสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำคล้ำคล้ายมะม่วงป่าหรือวอลนัท เมื่อนำมาตกแต่งจะขึ้นเงาเป็นมันแวววาวนับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ กำลังของไม้มีความแข็งแรงเท่าเทียมไม้สมพง แต่มีลักษณะพิเศษคือมีกำลังดัดงอ (bending strenght) สูงมาก และความชื้นในเนื้อไม้สูงทั้งต้นของจามจุรีมีสารพวกแอลคาลอยด์ ( alkaloid) ชื่อพิธทิโคโลไบ ( piththecolobine) ที่มีพิษใช้เป็นยาสลบ (อาทร และวีรีย์,2509)

จามจุรีเป็นไม้ต่างถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาใต้ เช่น กัวเตมาลา เปรู โบลิเวีย บราซิล รวมทั้งในหมู่เกาะอินดิสตะวันตก และในแถบยุโรป ปัจจุบันได้มีการนำไปปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศโซนร้อนเกือบค่อนโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย (บุญเรือน สาธุชาติ.2537.ไม้จามจุรีในไม้โตเร็วต่างถิ่น.หน้า 277-286)

จากการศึกษาค้นคว้า จามจุรีเป็นไม้ที่มีอายุการใช้งานในเฟอร์นิเจอร์น้อย เนื่องจากเป็นไม้เนื้ออ่อนดัดงอง่าย มีความชื้นในเนื้อไม้สูง และศัตรูในไม้จามจุรีมีมาก ได้แก่ มอด เพลี้ย และเชื้อรา ซึ่งทำให้อายุของไม้จามจุรีมีน้อย ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาการยืดอายุไม้จามจุรีให้มีการใช้งานนานยิ่งขึ้น

ความสำคัญของปัญหาโครงงาน

เป็นการศึกษาและทดลองไม้จามจุรีที่มีอยู่ในประเทศไทยจำนวนน้อย เพื่อให้ทราบถึงความเป็นไปได้ในการนำไม้จามจุรีมาใช้เป็นส่วนประกอบของงานเครื่องเรือน รวมถึงการทำผลิตภัณฑ์ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้จามจุรีที่มีลวดลายสวยงามและเป็นการเพิ่มมูลค่าของไม้จามจุรีที่นำมาศึกษา

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.เพื่อศึกษายืดอายุการใช้งานของไม้จามจุรี

2.ศึกษาเพื่อนำไม้จามจุรีมาเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์

ขอบเขตของโครงงาน

1. กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่

1.1 ประชากรทีศึกษา ไม้จามจุรี

1.2 กลุ่มตัวอย่าง ไม้จามจุรี

2. การศึกษาการยืดอายุการใช้งานของไม้จามจุรี มีตัวแปรที่ศึกษาต่อไปนี้

2.1 ความชื้นในเนื้อไม้

2.2 ความเข้มข้นของตัวยา เท่ากับ 5%

2.3 ระยะเวลาในการแช่น้ำยาไม้ทดลอง มีทั้งหมด 3 ระดับ ได้แก่ แช่นาน 1 วัน 3 วัน และ 5 วัน

วิธีการ

1. กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง นำไปทดลองแช่ดูว่าไม้ที่ผ่านการแช่ทนต่อสภาพแวดล้อมและการกัดกินของปลวก มอด เชื้อราหรือไม่

2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย- การศึกษาค้นคว้าข้อมูลการยืดอายุการใช้งานของไม้จามจุรีด้วยการอาบน้ำยา- การวางแผนการทดลอง

3. การวิเคราะห์ข้อมูล

4. สรุปผลการทดลอง

แผนการดำเนินโครงงาน

ที่

ขั้นตอนดำเนินงาน

ช่วงเวลาดำเนินการ

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ม.ค.

ก.พ.

1

ศึกษาเกี่ยวกับโครงงาน

<?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" />

2.

คิดโครงงานจากไม้ฉำฉา

3.

กำหนดเป้าหมาย

4.

สุ่มตัวอย่าง

5.

ดำเนินการวิจัยทำโครงงาน

6.

สรุปผลการทดลอง

นิยามศัพท์เฉพาะ

ไม้จามจุรี คือไม้เนื้ออ่อนมีอายุการใช้งานน้อย

สารโบรอนคือเป็นสารเคมีพวกเซลล์ไดน์ จุนสีทำให้ไม้ไม่บิดงอถ้าไม้หนาจะไม่เกิดการห่อตัวของแผ่นไม้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

- สามารถยืดอายุในไม้ฉำฉาให้สามารถมีอายุยืนยาวในการใช้งานขึ้น

- เพิ่มความทนความแข็งแรงในเนื้อไม้มากขึ้นในงานเครื่องเรือง

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินโครงการกรณีการศึกษาการยืดอายุของไม้จามจุรีด้วยวิธีการแช่น้ำยาสารโบรอนผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

2.1 ประวัติความเป็นมาของไม้จามจุรี ลักษณะของไม้จามจุรี

2.2 เชื้อราทำลายไม้

2.3 แมลงทำลายไม้จามจุรี

2.4 วิธีการยืดอายุการใช้งานของไม้จามจุรี

2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 ประวัติความเป็นมาของไม้จามจุรี ลักษณะของไม้จามจุรี

จามจุรี เป็นพันธุ์ไม้ที่รู้จักกันทั่วไป อาจพบเห็นได้ตามริมถนน วัด หรือสถานที่ราชการต่างๆ เข้าใจว่ามิสเตอร์ เอช เสลด ( Mr. H. Slade.) อธิบดีกรมป่าไม้คนแรกได้นำพันธุ์จากประเทศพม่ามาปลูกเป็นครั้งแรกที่ทำการป่าไม้เขตเชียงใหม่ ประมาณปี พ.ศ. 2443 ต่อมาจึงได้นำไปปลูกตามถนนกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ อย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นไม้โตเร็วเรือนยอดแผ่กว้างให้ร่มเงาเป็นอย่างดี ทางภาคเหนือนิยมปลูกเลี้ยงครั่ง อาจกล่าวได้ว่าวัตถุประสงค์ของการนำเข้าไม้จามจุรีเข้ามาในประเทศตั้งแต่เดิมนั้นมาในลักษณะไม้ประดับ และให้ร่มตลอดจนปลูกเพื่อใช้เลี้ยงครั่งเท่านั้น ผู้ปลูกมิได้มุ่งหวังที่จะใช้เนื้อไม้ชนิดนี้ไปเป็นประโยชน์ในด้านการค้าเลยทั้งนี้เนื่องจากไม้จามจุรีเป็นไม้ไม่สู้แข็ง ผุง่าย จึงไม่มีผู้นิยมใช้ในการก่อสร้าง เพราะในขณะนั้นประเทศไทย ยังมีไม้ที่มีคุณภาพดีกว่าอยู่มากมายทั้งที่ความจริงตลาดต่างประเทศต้องการเนื้อไม้จามจุรีนานแล้ว เช่น ฮ่องกง ซึ่งสั่งซื้อโดยตรงจากประเทศฟิลิปปินส์ ครั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้นจามจุรีในฟิลิปปินส์จะมีเสก็ดระเบิดของกระสุนลูกปืนอยู่ตามลำต้นไม้เป็นจำนวนมาก ประเทศผู้รับซื้อจึงหันมาซื้อจากไทยซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ราคาครั่งในเมืองไทยประสบภาวะปัญหาราคา ต่ำลง ดังนั้นเมื่อเนื้อไม้สามารถขายได้ราคาดีกว่าประกอบกับความต้องการที่จะเปลี่ยนชนิดพืชเศรษฐกิจไปเป็นพืชอื่น ชาวสวนครั่งทางภาคเหนือของไทยจึงตัดฟันไม้จามจุรีลงเพื่อขายเนื้อไม้ในราคาไม้ท่อน ซึ่งราคาดีกว่า จึงพบว่าพื้นที่สวนจามจุรีเพื่อการเลี้ยงครั้งทางภาคเหนือได้ลดลงมาก จนเหลือเพียงเล็กน้อยในปัจจุบันทั้งที่ความต้องการใช้เนื้อไม้จามจุรีเพื่อการแกะสลักในประเทศไทยได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ สาเหตุหนึ่งเนื่องจากการขาดแคลนไม้สักในการแกะสลัก และไม้สักมีราคาแพง ผู้ผลิตจึงหันมาใช้ไม้จามจุรีซึ่งสามารถหาได้ในชนบท และราคาถูกกว่าไม้สักมาก เนื้อไม้ยังมีสีสวยเหมาะในการทดแทนไม้สักในอุตสาหกรรมไม้แกะสลัก

จากรายงานทางวิชาการและรายงานศึกษาผลวิจัยเกี่ยวกับไม้จามจุรีทำให้ทราบว่าไม้จามจุรีนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายด้านทั้งเป็นเนื้อไม้ เป็นพืชอาหารสัตว์และปรับปรุงสภาพดินให้ดีขึ้น เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือจากใช้ประโยชน์ตรงการเลี้ยงครั่ง แต่การปลูกสร้างสวนป่าไม้จามจุรีในประเทศไทยเพื่อใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้โดยตรงยังไม่มี มีเพียงเพื่อการเลี้ยงครั่งดังกล่าว แต่ก็มีเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับสวนป่าไม้อื่นๆ ดังนั้นกรมป่าไม้จึงได้มีนโยบาย ส่งเสริมให้ ประชาชนปลูกไม้จามจุรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากไม้อเนกประสงค์ชนิดนี้

2.1.1 ลักษณะของไม้จามจุรี

จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว (Family Leguminosae) อนุวงศ์สะตอ (Sub-Family Mimosaceae) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Samanea saman Jacq Merr. ส่วนชื่อที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่ จามจุรี ก้ามกลาม จามจุรีแดง ก้ามปู ก้ามกุ้ง (ไทย) ฉำฉา สารสา สำลา ตุ๊ดตู่ ลัง (พายัพ) ในภาษาอังกฤษชื่อที่เรียกกันแพร่หลาย คือ Rain tree ซึ่งน่าจะมาจากนิสัยของต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้นี้จะโตขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ชัด จามจุรีเป็นไม้ผลัดใบโตเร็วต่างประเทศ เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่มเรือนยอดสูงประมาณ 40 ฟุต สูง 20 – 30 เมตร เปลือกสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำคล้ำคล้ายมะม่วงป่าหรือวอลนัท เมื่อนำมาตกแต่งจะขึ้นเงาเป็นมันแวววาวนับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ กำลังของไม้มีความแข็งแรงเท่าเทียมไม้สมพง แต่มีลักษณะพิเศษคือมีกำลังดัดงอ (bending strenght) สูงมาก และความชื้นในเนื้อไม้สูงทั้งต้นของจามจุรีมีสารพวกแอลคาลอยด์ ( alkaloid) ชื่อพิธทิโคโลไบ (piththecolobine) ที่มีพิษใช้เป็นยาสลบ

2.1.1.1 ใบ เป็นใบผสมแบบขนนกสองชั้นทั้งใบยาวประมาณ 25 – 40 เซนติเมตร ใบประกอบด้วยช่อใบ 4 คู่ ใบย่อย 2 – 10 คู่ ต่อหนึ่งใบ ใบย่อยเกิดบนก้านใบซึ่งแยกจากก้านใหญ่ ใบย่อยรูปขนานเปียกปูนแต่เบี้ยว ใบย่อยด้านปลายใบใหญ่ที่สุดใบย่อยหนาปานกลาง ด้านหน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านหลังใบสีเขียวนวล และมีขนเล็กน้อย

2.1.1.2 ดอก เป็นช่อดอกทรงกลม แต่ละช่อรวมกันเป็นช่อใหญ่ ช่อดอกเกิดที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเล็กมาก แต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวนมาก ดอกบานมีสีชมพูซึ่งเป็นสีของเกสรตัวผู้ จามจุรีออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม

2.1.1.3 ผล เป็นฝักแบนเมื่อแก่ก็จะไม่แตก ฝักแก่จะมีสีน้ำตาลดำขนาดกว้าง 1.5 – 2 เซนติเมตร ยาว 12 – 20 เซนติเมตร ภายในฝักมีเนื้อนิ่มรสหวาน ฝักหนึ่งๆ มีเมล็ด 15 – 25 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลดำยาว 0.5 – 0.8 เซนติเมตร ฝักแก่ระหว่างเดือนตุลาคม มกราคม

2.1.2 การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ

จามจุรีเป็นไม้ต่างถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาใต้ เช่น กัวเตมาลา เปรู โบลิเวีย บราซิล รวมทั้งในหมู่เกาะอินดิสตะวันตก และในแถบยุโรป ปัจจุบันได้มีการนำไปปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศโซนร้อนเกือบค่อนโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย

2.1.3 สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

จามจุรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนที่มีฝนตกชุกปานกลาง ถึงฝนตกหนักตลอดปีเป็นต้นไม้ที่ชอบน้ำ และความชุมชื้น เช่นในหมู่เกาะอินดิสตะวันตก ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และไทย

2.1.4 การขยายพันธุ์

ปัจจุบันจามจุรีสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด ซึ่งผลของจามจุรีนั้นจะแก่ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม มกราคม ซึ่งมีการเก็บเมล็ดกันมากในช่วงนี้ในบริเวณที่พบจามจุรี โดยทั่วๆ ไป สำหรับแหล่งเมล็ดพันธุ์จามจุรีของกรมป่าไม้ คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องจากมีต้นจามจุรีอยู่มาก

2.1.5 การปลูก

การปลูกจามจุรีที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อผลทางการเศรษฐกิจจึงเป็นไปเพื่อการเลี้ยงครั่งเป็นหลัก ประโยชน์อย่างอื่น เช่น เนื้อไม้ พืชอาหารสัตว์ จึงเป็นผลพลอยได้ และการปลูกสวนจามจุรีเพื่อการเลี้ยงครั่ง นั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

2.1.5.1 การเตรียมพื้นที่และการเพาะปลูก เนื่องจากจามจุรีเป็นไม้โตเร็วต่างประเทศ ซึ่งปลูกง่ายและขยายพันธุ์ได้เร็ว เป็นไม้ที่ไม่เลือกชนิดของดิน แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบสูงตั้งแต่ริมทะเลไปจนถึงที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300 – 400 เมตร จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปในประเทศไทย ในขั้นตอนของการเตรียมพื้นที่ปลูกจะเหมือนๆ กับการปลูกสร้างสวนป่าอื่นๆ คือ การเก็บเผา และ ไถดะเพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูก หลังจากที่ได้มีการนำเมล็ดไปเพาะแล้ว อาจนำไปปลูกได้เลยหรือใช้เมล็ดหยอดหลุม โดยขุดหลุมกว้างและลึก 30 เวนติเมตร แต่การย้ายกล้าปลูกจะมีอัตราการรอดตายสูงกว่า ระยะในการปลูก 4 x 4 เมตร และ 4 x 6 เมตร หรือ 4 x 8 เมตร แต่เนื่องจากเป็นไม้ที่มีเรือนพุ่มขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงต้องตัดสางออกในระหว่างการปลูกช่วงแรก โดยให้มีระยะการปลูก 10 x 10 เมตร ดังนั้นในพื้นที่ 1 ไร่ จะมีจามจุรี 16 ต้น แต่หากความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวจะน้อยกว่า 10 เมตร ก็ได้

2.1.5.2 การบำรุงรักษา ภายหลังการปลูกแล้วต้องมีการบำรุงรักษาให้ต้นไม้รอดตาย โดยมีการปลูกซ่อมในภายหลังโดยจะต้องทำการป้องกันไฟ โดยทำแนวกันไฟรอบบริเวณแปลงปลูกต้นไม้และมีการแผ้วถางวัชพืชอย่างน้อยปีละ 2 – 3 ครั้ง ในขณะที่ต้นไม้ยังเล็กอยู่หากจะมีการดายหญ้าพรวนดินใส่ปุ๋ย โดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมี ใส่ปีละ 1 – 2 ครั้ง ก็เพียงพอจะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตและแข็งแรงดี

2.1.5.3 การตัดแต่งกิ่ง โดยเหตุที่ลูกครั่งชอบอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากกิ่งไม้ของต้นไม้ที่อวบอ่อน ลูกครั่งไม่สามารถดูดน้ำเลี้ยงเป็นอาหารจากกิ่งไม้แก่ๆ เพราะเปลือกไม้แข็งทำให้ลูกครั่งซึ่งมีปากเป้นงวง ( probosis) ไม่สามารถชอนไชลงไปในเปลือกจนดูดเอาน้ำเลี้ยงมาเป็นอาหารได้ ต้นไม้ที่มิได้ตัดตกแต่งไว้เลยอาจใช้เพาะเลี้ยงครั่งได้ โดยลูกครั่งจะเลือกเกาะทำรังอยู่ในส่วนของกิ่งเฉพาะตรงที่เหมาะสมเท่านั้น หรือเฉพาะกิ่งที่มีอายุไม่แก่จนเปลือกแข็ง แต่ผลผลิตครั่งที่ได้ไม้ดีเท่าที่ควร ดังนั้นการตกแต่งกิ่งก่อนการปล่อยครั่งจึงมีความจำเป็น การตัดแต่งกิ่งต้องรักษารูปทรงของเรือนยอดไว้ และมีที่ว่างสำหรับกิ่งที่งอกใหม่ให้เจริญเติบโตได้ดีและต้นไม้ที่จะตัดแต่งกิ่งต้องสมบูรณ์แข็งแรง การตัดแต่งกิ่งเพื่อเก็บครั่งจงอย่าถือความสะดวกเป็นสำคัญ คือถ้ากิ่งใดมีครั่งจับอยู่จนถึงโคนหรือติดลำต้นอย่าตัดให้ชิดลำต้น ขนาดของกิ่งที่เหมาะสมที่จะตัดแต่งกิ่งนั้นมีขนาด 3/4 –1 นิ้ว ตามเส้นผ่าศูนย์กลางโดยตัดให้เหลือต่อไว้ยาวไม่เกิน 18 นิ้ว กิ่งที่แห้งตายหรือตายเป็นโรคตัดทิ้งออกให้หมด กิ่งที่มีรอยแตกร้าวหรือกิ่งหักให้ตัดรอยแตกหรือรอยหัก แต่หากต้นไม้ที่ปลูกมีขนาดอายุของกิ่งอวบอ่อนพอจะเลี้ยงครั่งได้ ก่อนปล่อยครั่งเพียงแต่ตัดสางกิ่งแห้งหรือกิ่งที่เป็นโรคไม่สมบูรณ์ออกให้หมดเท่านั้นก็พอที่จะปล่อยครั่งได้ แต่ปริมาณผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควรเพราะอายุของกิ่งไม่เท่านั้น ครั่งจะเลือกจับเฉพาะกิ่งที่เหมาะสมเท่านั้น

2.2 เชื้อราทำลายไม้

เชื้อราทำลายไม้เป็นศัตรูทำลายไม้ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้ไม้ผุ เสื่อมสภาพ และเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ การทำลายของเชื้อราแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากความต้องการอาหารแตกต่างกัน เชื้อราที่สำคัญมี 3 ประเภท คือ

2.2.1 เชื้อราที่ทำให้ไม้ผุ ( Decay Fungi)
เป็นเชื้อราที่เมื่อเข้าทำลายไม้แล้วจะทำให้เนื้อไม้ผุ ยุ่ย แบ่งตามลักษณะที่ปรากฎบนไม้ภายหลังถูกทำลาย คือ
- ราผุสีน้ำตาล (Brown Rot) อาหารของเชื้อราจำพวกนี้คือ cellulose ซึ่งสะสมอยู่ตามผนังเซลล์ของไม้ เมื่อเชื้อราชนิดนี้เข้าทำลายไม้แล้วเนื้อไม้จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื้อไม้ยุบตัวลงและหักง่ายในทางขนานเสี้ยน
- ราผุสีขาว (White Rot) ราจำพวกนี้จะย่อยสลายสารประกอบของเซลล์ในไม้ได้ทั้ง lignin และ cellulose ดังนั้นการทำลายในขั้นสุดท้ายพบว่าน้ำหนักของไม้อาจลดลงถึง 90 % และมีคุณสมบัติฟอกสีจะเห็นได้จากไม้ที่ถูกทำลายแล้วมีสีขาวซีด เนื้อไม้จะยุ่ยเป็นเส้นใย มองเห็นเป็นหย่อม ๆ หรือลายเส้นสีขาวสลับกันเนื้อไม้ที่ยังดีอยู่
- ราผุอ่อน (Soft Rot) พบเกิดกับไม้ที่อยู่ในที่ชื้นมาก ๆ หรือเปียกน้ำติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เชื้อราจะทำลายรุนแรงบริเวณผิวนอกของไม้ มีการแตกขวางเสี้ยนคล้ายกับราผุสีน้ำตาลแต่มีขนาดเล็กกว่า บางครั้งอาจพบว่าเข้าทำลายลึกถึงเนื้อไม้ ส่วนที่ถูกทำลายจะอ่อนนุ่ม ส่วนที่ไม่ถูกทำลายจะแข็ง และขอบเขตของการทำลายเห็นได้ชัดเจน ถ้านำไม้ไปทำให้เปียก ส่วนที่ถูกทำลายจะเปื่อยยุ่ย สามารถใช้เล็บขูดออกได้ง่าย


2.2.2 เชื้อราที่ทำให้ไม้เสียสี ( Stain Fungi)
<?xml:namespace prefix = w ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:word" />
เชื้อราประเภทนี้ไม่ทำให้ไม้ผุ แต่ทำให้ไม้มีสีผิดปกติไปจากเดิม ส่วนใหญ่เป็นสีที่ไม่พึงปรารถนา เช่น น้ำเงิน เหลือง เขียว ดำ เป็นบริเวณกว้างหรือเป็นจุดกระจาย ซึ่งการเปลี่ยนสีของไม้เกิดขึ้นเพราะเม็ดสี ( pigment) ภายใน hyphae ของเชื้อรา เชื้อราเหล่านี้จะเข้าทำลายไม้หลังตัดฟันโดยสปอร์ปลิวมาตกบนไม้แล้วจึงเจริญเข้าไปในเนื้อไม้ ถ้าความชื้นในบรรยากาศสูง ความชื้นที่หน้าไม้ยังไม่แห้งหรือชื้นอยู่ตลอดเวลา เชื้อราจะสร้างสปอร์และเส้นใยขึ้นที่ผิวหน้าไม้ ทำให้มองเห็นเป็นสีดำ ๆ แต่ถ้าความชื้นในบรรยากาศน้อยหรืออากาศแห้ง ซึ่งทำให้ผิวหน้าไม้แห้ง เส้นใยของเชื้อราจะเจริญเข้าไปในเนื้อไม้เพียงอย่างเดียว จึงทำให้ดูลักษณะไม้ภายนอกไม่มีเชื้อราเข้าทำลาย เมื่อไม้เข้าสู่กระบวนการแปรรูปจึงจะเห็นเป็นสีของเชื้อราที่เข้าทำลายไม้ เชื้อราเหล่านี้ยังสามารถเข้าทำลายได้ในระยะที่แปรรูป และอยู่ในระหว่างรอพักเข้าอบเพื่อให้ความชื้นลดลง ถึงแม้จะจุ่มสารเคมีกันราแล้วก็ตาม เพราะยากันราสามารถป้องกันเชื้อราที่ตกลงบนผิวไม้เท่านั้น แต่ไม่สามารถป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราที่อยู่ภายในได้

2.2.3 เชื้อราผิวไม้ ( Mold Fungi )
เชื้อราประเภทนี้จะเกิดบนผิวไม้เท่านั้น ไม่เจริญเติบโตเข้าไปในเนื้อไม้ ทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ ซึ่งเกิดจากสปอร์และเส้นใยของเชื้อรา ทำให้เสียสีเฉพาะผิวนอก สามารถปัดหรือขัดออกได้ มักเกิดกับไม้ที่ไม่ได้ผึ่ง ไม้ที่ยังคงมีความชื้นอยู่ และไม้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เปียกหรืออับชื้นได้ เชื้อราประเภทนี้หลายชนิดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคของระบบทางเดินหายใจ

2.3 แมลงทำลายไม้จามจุรี

โดยทั่วไปแล้วไม้ยืนต้นจะเจริญเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอถ้าไม่มีแมลงศัตรูพืชรบกวน ไม่แบกน้ำหนักมากเกินไปซึ่งต้องได้รับการตกแต่งกิ่งให้เหมาะสม และมีอาหารแร่ธาตุในดินบริบูรณ์ ดังนั้น สาเหตุของการระบาดของแมลงศัตรูพืชทั้งหลาย เช่น กรณีของไม้จามจุรีน่าจะเนื่องมาจากต้นจามจุรีอ่อนแอจากการที่มีอายุมากขึ้น และการเอาใจใส่ดูแลบำรุงรักษาไม่เพียงพอ อาจเนื่องจากงบประมาณและแรงงานน้อยอย่างไรก็ตาม จามจุรีตั้งแต่เริ่มปลูกจนเป็นต้นขนาดเล็กจะมีศัตรูทำลายลำต้นและกิ่งสดแล้ว อาจเป็นสาเหตุให้ต้นไม้ตายตั้งแต่ยังอายุน้อย ถ้าหากรอดชีวิตมีอายุมากเป็น 10 – 20 ปี แต่ขาดการดูแลรักษา เช่น ถ้าไม่ตัดตกแต่งกิ่งจะมีผลไปเพิ่มแหล่งอาหารและเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืช เช่น ด้วง ซึ่งทำลายไม้สดอยู่ตลอดทุกปี ถ้าไม่สังเกตเห็นนานวันเข้าถึงจุดๆ หนึ่งซึ่งต้นไม้อ่อนแอและมีสภาพเหมาะสมแก่การที่เพลี้ยแป้งหรือแมลงหวี่ขาวอื่นๆ ลงทำลายและระบาดหนักในเวลาต่อมาต้นไม้ไม่สามารถต้านทานได้ แมลงเหล่านี้โดยเฉพาะแมลงหวี่ขาวซึ่งระยะดักแด้มีขนาดเล็กมากเห็นเป็นจุดสีดำ จากทางด้านท้องใบ ถ้าไปเก็บมาและดูอย่างพิจารณา ก็จะคิดว่าเป็นเขม่าหรือมลพิษจากท่อไอเสีย สำหรับเพลี้ยแป้ง นอกจากจะมีชนิดที่สร้างไขแป้ง ( wax) ปกคลุมตัวแล้วยังมีชนิดที่สร้างเส้นใย และไขแป้งไปพร้อมกันด้วย ซึ่งจะสังเกตได้จากใต้ต้นเป็นบริเวณขาวโพลนตลอดบริเวณที่ทำลาย เช่น กิ่งอ่อน โคนก้านใบ ตาใบ ฝักอ่อนและอื่นๆ เนื่องจากการเกาะทำลายหนาแน่นมาก นอกจากนี้ยังพบว่ามีการทำลายของพวกไรแดง ( Tetramychidae) ในต้นที่เพลี้ยแป้งลงทำลายด้วยเพราะต้นไม้ต้นเดียวนั้น สามารถมีศัตรูพืชได้มากมายหลายชนิดในระยะการเจริญเติบโตที่ต่างกันของไม้นั้น แมลงศัตรูสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และโครงสร้างของปากให้เหมาะสมกับพืชอาหาร (host) ได้ดี จากการศึกษาของ ฉวีวรรณ (2536) สามารถรวบรวมแมลงที่เป็นศัตรูต้นจามจุรีได้ดังนี้ คือ พวกทำลายใบ ได้แก่ หนอนม้วนใบ (Archips micacaena Walker) เพลี้ยแป้งจามจุรี (Dysmicoccus neobrevipes Beardsley) แมลงค่อมทอง (Hypomeces squamosus (F:) และบุ้งสะแก (Trabala vishnou Lefroy) พวกทำลายเนื้อไม้ ได้แก่ แมลงทับ (Agrilus sp.) แมลงทับ 6 จุด (Chysobothris sp.) ด้วงปีกกระ (Coptops annulipes Gahan) หนอนเจาะไม้ (Xystrocera globosa Olivier) ส่วนหนอนกินเปลือกนั้นไม่ได้ทำความเสียหายให้เห็นชัดเจน มักพบในต้นที่มีอายุมาก

การป้องกันกำจัดและการควบคุม การควบคุมแมลงศัตรูจามจุรี ในระยะยาวน่าจะเป็นวิธีผสม ( Integrated control) นั่นคือหลังจากใช้สารเคมีลดจำนวนศัตรูพืชจามจุรีลงไปมากแล้ว ก็น่าจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของศัตรูตามธรรมชาติที่จะจัดการควบคุมกันเอง เราสามารถพบศัตรูธรรมชาติของจามจุรีได้หลายชนิดทั้งตัวห้ำและตัวเบียน อาจกล่าวได้ว่าสาเหตุของการระบาดของแมลงศัตรูพืชต่างๆ คือ การขาดดุลทางธรรมชาติอย่างรุนแรงระหว่างศัตรูจามจุรีและศัตรู ธรรมชาติ นอกเหนือไปจากความอ่อนแอของต้นไม้ ภาวะแห้งแล้งและการต้านทานต่อสารเคมีของแมลงศัตรู

2.4 วิธีการยืดอายุการใช้งานของไม้จามจุรี

โดยวิธีการใช้สารเคมีซีซีบี ( CCB) สารเคมีโบรอนคอมปาวด์ (Boron Compounds) และสารเคมีไพรีทรอยด์ (Pyrethoids) ด้วยการอาบน้ำยาโดยวิธีการอัดแบบสุญญากาศ การอาบน้ำยาโดยวิธีแรงโน้มถ่วงของโลก และการอาบน้ำยาโดยการแช่ซึ่งสามารถสรุปผลได้ดังนี้

ในการทดสอบเชื้อราทำให้ทราบว่าการอัดแบบสุญญากาศเป็นวิธีป้องกันที่ทำให้ปราศจากการทำลายของเชื้อรา วิธีการที่ได้ผลรองลงมาคือการอาบน้ำยาโดยวิธีแรงโน้มถ่วงของโลก สุดท้ายการอาบน้ำยาโดยวิธีการแช่ได้ผลต่ำกว่า 2 วิธี ที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งน้ำยาที่ป้องกันทำให้ปราศจากการทำลายของเชื้อราคือสารเคมีโบรอนคอมปาวด์ ( Boron Compounds) รองลงมาคือสารเคมีไพรีทรอยด์ (Pyrethoids) และสุดท้ายคือสารเคมีซีซีบี (CCB) ซึ่งสามารถป้องกันได้ต่ำที่สุด สำหรับการทดสอบการป้องกันไม้ไผ่จากการทำลายของมอด ก็ทำให้ทราบผลดังนี้การอาบน้ำยาโดยวิธีอัดแบบสุญญากาศ เป็นวิธีป้องกันที่ทำให้ปราศจากการทำลายของมอด วิธีที่ได้ผลรองลงมาคือการอาบน้ำยาโดยวิธีแรงโน้มถ่วงของโลก และการอาบน้ำยาโดยวิธีการแช่สามารถป้องกันได้ต่ำที่สุด ส่วนน้ำยาที่สามารถทำให้ปราศจากการทำลายของมอดคือ สารเคมีไพรีทรอยด์ ( Pyrethoids) รองลงมาคือสารเคมีโบรอนคอมปาวด์ ( Boron Compounds) และสุดท้ายคือสารเคมีซีซีบี (CCB)

2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ผศ.ทรงกลด จารุสมบัติ ชนิดของน้ำยารักษาเนื้อไม้ยาป้องกันรักษาเนื้อไม้ (Wood Preservatives) มีสารเคมีมากมายหลายร้อยชนิดที่กล่าวว่าสามารถใช้ป้องกันรักษาเนื้อไม้ไม้ได้ สารเหล่านี้อาจจะใช้เพียงชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกับสารชนิดอื่น และมีอยู่หลายชนิดที่เป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการอุตสาหกรรม แต่ในบรรดาสารเคมีทั้งหมดนี้มีอยู่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันรักษาเนื้อไม้อย่างผลดี ในโลกปัจจุบันได้มีการคำนึงถึงเรื่องสารพิษของสารเคมีที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมกันมาก ดังนั้นจึงได้มีการค้นคว้าทดลองกันอย่างจริงจังเพื่อให้ได้ตัวยาป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อม แต่ก็เป็นการยากที่จะหาสารอื่นมาแทนสารที่ใช้กันอยู่แล้ว ซึ่งเป็นสารที่มีความเป็นพิษต่อศัตรูทำลายไม้พวกเชื้อราและแมลงสูง รวมทั้งคงทนอยู่ในเนื้อไม้ได้ดี การค้นคว้าได้มุ่งความสนใจไปที่สารประกอบพวกโบรอน (Boron Compounds) เพราะมีความเป็นพิษน้อย ต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

คุณสมบัติที่สำคัญที่ตัวยาป้องกันรักษาเนื้อไม้จะต้องมีคือ

1. มีความเป็นพิษสูงต่อศัตรูทำลายไม้

2. มีความคงทนอยู่ในเนื้อไม้นาน

3. มีความสามรถแทรกซึมเข้าไปในเนื้อไม้ได้ดี

4. ไม่ทำให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่เนื้อไม้

5. ไม่ทำให้โลหะเป็นสนิม

6. ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ทำการอาบน้ำยาป้องกันรักษาเนื้อไม้และผู้ที่นำไม้ที่ผ่านการอาบน้ำยาแล้วไปใช้ประโยชน์

ยาป้องกันรักษาเนื้อไม้นี้ไม่มีชนิดใดชนิดหนึ่งที่เหมาะสม จะใช้กับเนื้อไม้ได้ทุกชนิดในทุกสภาพการใช้งาน มีอยู่บ่อยๆ ที่มียาป้องกันรักษาเนื้อไม้เพียงชนิดเดียวที่ใช้ได้เฉพาะกับงนชนิดหนึ่งๆ ดังนั้นการตัดสินใจเลือกใช้ตัวยาจึงต้องดูถึงสภาพที่ไม้นั้นจะถูกนำไปใช้งานด้วย ตัวอย่างเช่น ไม้ที่ต้องใช้ในที่โล่งแจ้งถูกแดดถูกฝน เราก็ต้องเลือกใช้ตัวยาป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่มีความคงทนและทนทานต่อการถูกชะล้าง หรือในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการติดไฟง่ายก็ต้องใช้ตัวยาที่ไม่ติดไฟ ซึ่งอาจจะต้องมีการผสมสารทนไฟเข้ากับตัวยาป้องกันรักษาเนื้อไม้ เป็นต้น

ยาป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่ประกอบด้วยสารหลายๆ ชนิดที่มีความเป็นพิษต่อเชื้อรา และแมลงนั้นจะดีกว่ายาป้องกันรักาเนื้อไม้ที่ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียวที่มีความเป็นพิษต่อเชื้อราและแมลง ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อราและแมลงบางชนิดมีความต้านทานต่อสารเคมีบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เชื้อรา Poria บางชนิดสามารถททนทานต่อเกลือทองแดง (Copper) ที่มีความเข้มข้นสูงๆ ได้ หรือ เชื้อรา Gloeophyllum trabeum สามารถทนต่อสารหนู (Arsenic) ได้

สรุป

จากเอกสารและวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า การแช่น้ำยาไม้จามจุรีด้วยสารประกอบโบรอน เป็นตัวยาที่มีคุณภาพในการรักษาเนื้อไม้ และสามารถป้องกันเชื้อรา และแมลงศัตรูไม้ต่างๆได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ คือ ระดับความเข้มข้นของตัวยาโบรอน ระยะเวลาในการทำการอาบน้ำยาไม้ และอีกประการหนึ่ง คือ สารประกอบโบรอนเป็นตัวยาที่ไม่กระทบต่อผู้บริโภค และมีมีสารตกค้างในสิ่งแวดล้อม มีราคาถูก หาได้ง่าย

บทที่ 3

วิธีการดำเนินการวิจัย

การศึกษาการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กรณีศึกษาการยืดอายุของไม้จามจุรีด้วยวีธีแช่น้ำยาสารโบรอน ได้วางแผนการทดลองดังนี้

1.กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2.สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3.วิเคราะห์ข้อมูล

3.1 การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ ไม้จามจุรี มีขนาด 10x10x2 เซนติเมตร ซึ่งเป็นไม้ที่แปรรูปมาแล้ว โดยการตัดซอยเป็นท่อน

3.2 การสร้างเครื่องมือในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการแช่น้ำยาไม้จามจุรี

3.2.1 ศึกษาค้นคว้าข้อมูลการยืดอายุการใช้งานของไม้จามจุรีด้วยการแช่น้ำยาสารโบรอน ซึ่งวิธีการทดลองจะต้องปรึกษากับอาจารย์ผู้ควบคุมการวิจัย

3.2.2 วางแผนการทดลอง

การทดลองครั้งนี้เพื่อเป็นการหาปริมาณรับตัวยา ( Retention ) ของการแช่น้ำยาไม้จามจุรีด้วยสารโบรอน และหาอัตราการแทรกซึมของสารโบรอนที่เข้าไปในเนื้อไม้ อันเนื่องมาจากการผันแปรของปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. ระดับความชื้นในเนื้อไม้จามจุรี มีความชื้นมากกว่า 50%

2. ระดับความเข้มข้นของตัวยา มี 5%

3. ระยะเวลาในการแช่น้ำยาไม้ทดลอง มีทั้งหมด 3 ระดับ คือ แช่นาน 1 วัน 3 วัน และ5 วัน

ยาป้องกันการรักษาเนื้อไม้

ตัวยาป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่ใช้ในการทดลอง คือ สารประกอบโบรอน ความเข้มข้น 5%

สารเคมีที่ใช้ตรวจอัตราการแทรกซึมของสารโบรอน

สารละลายที่ 1 สกัดเทอเมอะริก ( turmeric) 10 กรัม ด้วยเอทธิล แอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) 95% 100 มิลลิลิตร เป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง จากนั้นนำมากรองจะได้สารละลายสีเลืองใส

สารละลายที่ 2 ใช้กรดเกลือเข้มข้น 20 มิลลิลิตร เจือจางด้วยเอทธิล แอลกอฮอล์ ให้เป็น 100 มิลิลิตร แล้ทำให้อิ่มตัวด้วยกรดซาลิซิลิก (salicylic)

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

1.เครื่องเลื่อยวงเดือน

2.เครื่องไสเพลาะ

3.ถังแช่น้ำยาไม้

4.ไฮโดรมิเตอร์ (Hydrometer)

5. เตาอบ

6.เครื่องชั่ง

7.แผ่นพลาสติก

8.ขวดดรอปเปอร์สำหรับใส่สารเคมีทดสอบ

เพื่อให้การทดลองครั้งนี้ได้ผลอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ จึงแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1

1. การแช่น้ำยาไม้จามจุรีด้วยสารโบรอน และหาปริมาณรับตัวยา ( Retension) ในการแช่น้ำยาไม้จามจุรี ดังภาพประกอบ 3.9

ไม้จามจุรี

แช่น้ำยาด้วยสารประกอบโบรอนเข้มข้น 5 % เป็นเวลา 1 วัน 3 วันและ 5 วัน

หาปริมาณรับตัวยา

ภาพประกอบที่ 3.9 แสดงการทดลองตอนที่ 1

ตอนที่2

2. การวิเคราะห์หาอัตราการแทรกซึมของสารโบรอนในเนื้อไม้จามจุรีดังภาพประกอบที่3.10

ไม้จามจุรีแช่น้ำยา

ตัดส่วนกลางไม้

สารละลายที่1บริเวณหน้าตัดไม้

ทาสารละลายที่2

เปรียบเทียบการแทรกซึมของสารโบรอน

ภาพประกอบที่ 3.10 แสดงขั้นตอนการทดลองตอนที่ 2

3.3การวิเคราะห์ข้อมูล

ในการวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินตามขั้นตอนดังนี้

1.การทดลองโดยการนำไม้ทดลองมาแช่น้ำยาที่เตรียมไว้ โดยแช่นานเป็นเวลา 1วัน 3 วัน และ 5 วัน เพื่อมาเปรียบเทียบปริมาณรับตัวยาของไม้ที่แช่น้ำยาในจำนวนวันที่ต่างกัน

2.เปรียบเทียบดู อัตราการแทรกซึมของสารโบรอนที่เข้าไปในเนื้อไม้

หมายเลขบันทึก: 603932เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2016 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2016 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท