QE ของอเมริกา


มาตรการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐฯ

QE1 ปี 2552-2555 เกิดการล่มสลายของระบบการเงินในยุโรป ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาได้ครอบครองพันธบัตรคงคลังระหว่าง 700-800 พันล้านเหรียญ ก่อนเกิดภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ ช่วงปลายปี 2551 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้เริ่มเข้าซื้อตราสารทางการเงินที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลัง มูลค่ารวม 600 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ปี 2552 ระดับหนี้ตราสารทางการเงินและพันธบัตรคงคลังเพิ่มขึ้น 1.75 ล้านล้านเหรียญ เดือนมิถุนายน 2553 เพิ่มเป็น 2.1 ล้านล้านเหรียญ เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ธนาคารกลางแห่งเอเชียได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่เข้าไปดูแลและแทรกแซงค่าเงิน

QE2 เดือนพฤศจิกายน 2553 ธนาคารกลางสหรัฐฯ เข้าซื้อพันธบัตรคงคลังมูลค่า 600 พันล้านเหรียญ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

QE3 เดือนกันยายน 2555 วางแผนเข้าซื้อตราสารทางการเงินที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลัง(Mortgage-backed securities : MBS) มูลค่า 40 พันล้านเหรียญต่อเดือน คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน Federal Open Market Committee (FOMC) ได้ประกาศที่จะคงระดับอัตราดอกเบี้ยได้ที่ระดับใกล้ศูนย์ต่อไปจนถึงปี 2558

QE4 13 ธันวาคม 2555 เพิ่มวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรกระทรวงการคลังเพิ่มเติมอีก 45,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน จากเดิมใน QE3 เป็นการเข้าซื้อพันธบัตรหรือตราสารหนี้ในตลาดจำนองอสังหาริมทรัพย์ ในวงเงิน 40,000 ล้านเหรียญฯต่อเดือน ส่งผลให้ “เฟด” ปล่อยเงินเข้าระบบต่อเดือนเพิ่มจากเดิมรวมเป็น 85,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหตุผลคือต้องการขยายผลการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องนอกจากนโยบายการเงินและเสถียรภาพด้านราคา “เฟด” ถูกกำหนดไว้ให้ดูแลการจ้างงานของประเทศด้วย เนื่องจากประเทศมีการจ้างงานต่ำมาก “เฟด” จึงออกมาตรการเพิ่มการจ้างงาน เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศ

แหล่งที่ม

http://www.isstep.com/quantitative-easing-qe/#.dpu…

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603190เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2016 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2016 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท