ระบบการวัดผลองค์กรแบบสมดุล (Balanced Scorecard)


สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้องค์กรมีตัววัดบนหลักของ Balanced Scorecard อย่างสมบูรณ์คือ แผนที่กลยุทธ์ หรือ Strategy Map

หนึ่งในเครื่องมือเพื่อการบริหารจัดการองค์กรและการวัดผลการปฏิบัติงาน ได้แก่ ระบบการวัดผลองค์กรแบบสมดุล หรือ Balanced Scorecard มีจุดกำเนิดมาจาก Professor Dr. Robert S. Kaplan และ Dr. David P. Norton ในช่วงปลายทศวรรษที่ 80 ซึ่งทั้งสองได้ทำงานวิจัยโดยมุ่งเน้นที่ปัญหาการขาดทุนจากการดำเนินงานด้วยเหตุที่ไม่สามารถพยากรณ์ผลลัพธ์ทางการเงินได้อย่างถูกต้อง ซึ่งพบว่าผลลัพธ์ทางการเงิน เป็นผลปลายทางจากอดีตที่ไม่สามารถสะท้อนหรือวิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ จึงได้นำเสนอแนวคิดที่เรียกว่า Balanced Scorecard ในปี 1992 และได้รับการตีพิมพ์ใน Harvard Business Review

โดยหลักการของ Balanced Scorecard ควรจะมีการประเมินผลที่ประกอบด้วย 4 มุมมอง ได้แก่ มุมมองด้านการเงิน มุมมองด้านลูกค้า มุมมองด้านกระบวนการภายใน และมุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต โดยแต่ละมุมมองยังประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่ จุดประสงค์ ตัววัดผล ค่าเป้าหมาย และโครงการ

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้องค์กรมีตัววัดบนหลักของ Balanced Scorecard อย่างสมบูรณ์คือ แผนที่กลยุทธ์ หรือ Strategy Map เนื่องจาก แม้ว่าองค์กรจะสร้างจุดประสงค์ ตัววัดผล ค่าเป้าหมาย และโครงการ ครบถ้วนในทุกมุมมองแล้ว ยังต้องสร้างความเชื่อมโยงระหว่างตัววัดหรือปัจจัยสำคัญให้อยู่ในลักษณะของเหตุและผล เพื่อให้เห็นภาพที่มาที่ไปในการกำหนดกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการสร้าง Balanced Scorecard คร่าวๆ ประกอบไปด้วย

  1. การระบุวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมขององค์กร
  2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร
  3. การสร้างกลยุทธ์
  4. การแปลงกลยุทธ์ไปสู่จุดประสงค์ในแต่ละมุมมอง
  5. การสร้างตัววัดผล
  6. การระบุโครงการสำคัญที่จะให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
  7. การสร้างแผนที่กลยุทธ์

การนำ Balanced Scorecard ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ในด้านต่างๆ อาทิเช่น

  1. กระบวนการในการวางแผนธุรกิจ
  2. กระบวนการในการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กร
  3. กระบวนการในการประเมินผลการดำเนินงานส่วนบุคคล
  4. ระบวนการในการวางแผนงบประมาณ

อ้างอิง: thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 602871เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2016 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2016 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท