การวางแผนจัดการทำกิจกรรมยามว่างที่เกี่ยวข้องการเคลื่อนไหว ในผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ


สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน และเวลานี้ก็มาถึงบทความสุดท้ายของผมที่เกี่ยวกับ กิจกรรมบำบัดในการเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ แล้วนะครับ หากท่านผู้อ่านได้ติดตามบทความของผมตั้งแต่บทความแรกท่านผู้อ่านจะได้เห็นถึงเนื้อเรื่องที่มีความเชื่อมโยงต่อกันที่ผมพยายามเรียงร้อยให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้เข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกันนะครับ ตั้งแต่การปรับพฤติกรรมในผู้สูงอายุที่ช่วยส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว ต่อมาผมได้กล่าวถึงการเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการทำอย่างถูกต้องนำไปสู่สุขภาวะที่แข็งแรง และในบทความนี้ผมจะขอกล่าวถึง การวางแผนจัดการทำกิจกรรมยามว่างที่เกี่ยวข้องการเคลื่อนไหว ในผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพนะครับ

ในทุกวันนี้ท่านผู้อ่านทั้งหลายจะเห็นได้ว่ามีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก ที่มีกิจกรรมส่วนใหญ่อยู่เพียงแต่บนเตียง ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่มีร่างกายไม่แข็งแรงตามวัย หรือผู้สูงอายุที่มีภาวะของโรคต่างๆ ผู้สูงอายุเหล่านี้มักจะไม่มีกิจกรรมยามว่างที่มีความหมายในการทำกิจกรรมนัก ผมจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำกิจกรรมยามว่างและคุณภาพชีวิต ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ

ในบทความนี้ผมจะขอนำเสนอข้อมูลโดยนำมาจากงานวิจัยเรื่อง " Planning, leisure-time physical activity, and coping self-efficacy in person with spinal cord injury : a ramdomized controlled trial "

งานวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการจัดการ การวางแผน และการแก้ไขกับปัญหาที่อาจจะเกิดในอนาคต ของการวางแผนจัดการทำกิจกรรมยามว่างที่เกี่ยวข้องการเคลื่อนไหว โดยมีผู้เข้าร่วมการวิจัยนี้เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับการบาดเจ็บทางไขสันหลัง ที่มีพฤติกรรมในการใช้เวลาว่างเพียงการนั่งๆนอนๆอย่างไร้จุดหมายเท่านั้น จำนวนทั้งหมด 44 คน

กำหนดกลุ่มแรกนั้นได้รับการวางแผนการทำกิจกรรมยามว่างเพียงอย่างเดียว จำนวน 22 คน กลุ่มที่สองนั้นได้รับการวางแผนการทำกิจกรรมยามว่างรวมถึงการจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต จำนวน 22 คนเช่นเดียวกัน ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการวางแผนการทำกิจกรรมยามว่างซึ่งจะระบุถึง เวลา, สถานที่ และวิธีการที่ควรจะทำกิจกรรมยามว่างนั้นๆ อย่างเจาะจง โดยกลุ่มแรกนั้น จะมีการทำกิจกรรมยามว่างแบบหนัก ครั้งละ 30 นาทีเป็นจำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ และบันทึกผลลงในตารางกิจกรรมยามว่างของผู้เข้าร่วมแต่ล่ะบุคคล ส่วนด้านกลุ่มที่สองนั้นจะได้รับวางแผนเช่นเดียวกับกลุ่มแรก แต่กลุ่มที่สองนี้จะได้รับวิธีการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตเพิ่มขึ้นมา และบันทึกทั้งผลและวิธีการแก้ปัญหาในครั้งถัดไปลงในตารางกิจกรรมยามว่างของผู้เข้าร่วมแต่ละบุคคลเช่นเดียวกันกับกลุ่มแรก

การวัดผล เป็นการวัดผลจากแบบประเมินพฤติกรรม ดังนี้

1.ความสามารถในการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับความศักยภาพของตนเอง

2.ความสามารถในการจัดการปัญหาโดยทั่วไป

3.ความสามารถในการปรับตัวต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น

4.การทำตารางการวางแผนการทำกิจกรรมยามว่าง

ผลลัพธ์

ผู้เข้าร่วมงานวิจัยทุกคนมีความสามารถในการวางแผนกิจกรรมยามว่างได้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือผู้เข้าร่วมกลุ่มที่สองที่ได้รับวิธีการแก้ปัญหาในอนาคต จะสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดีกว่า ในขณะที่กลุ่มแรกที่ได้รับเพียงการวางแผนในการทำกิจกรรมยามว่างเท่านั้น มีความยืดหยุ่นต่อการจัดการปัญหาได้ดีกว่า

ผมอยากจะขอให้ข้อมูลทั้งหลายนี้ท่านผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้เพื่อที่ผู้สูงอายุนั้นจะสามารถจัดการกับกิจกรรมยามว่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

ผมขอขอบพระคุณท่านผู้อ่านทั้งหลายที่ติดตามอ่านมาจนถึงบทความสุดท้ายนี้ และก่อนจากกันไปในบทความสุดท้ายนี้ผมอยากจะขอฝากให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายลองกลับไปสังเกตุรอบๆกายของท่านว่าผู้สูงอายุรอบๆกายท่านนั้นมีพฤติกรรมสุขภาวะหรือกิจกรรมที่เหมาะสมหรือเพียงพอต่อการเสริมสร้างให้เกิดร่างกายที่แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีแล้วหรือไม่และสามารถนำข้อมูลทั้งหมดจากบทความเกี่ยวผู้สูงอายุทั้งสามบทความที่ผมได้เขียนขึ้นมาให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้อ่าน ไปปรับใช้หรือให้ความรู้แก่บุคคลรอบกายอันจะเป็นการส่งเสริมให้บุคคลต่างๆในสังคมมีพฤติกรรมสุขภาวะและประกอบกิจกรรมต่างได้ดีขึ้นและอาจะเป็นส่วนๆเล็กๆที่ทำให้ปัญหาสุขภาพต่างๆในสังคมลดลงเป็นการช่วยลดภาระให้แก่สังคมอีกทางนึง

หากบทความนี้ผิดพลาดประการใดผมขออภัยมาที่นี้ด้วยครับ

แหล่งอ้างอิง

1.http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S...

2.http://www.gettyimages.co.uk/detail/video/young-ma...

หมายเลขบันทึก: 602463เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 03:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 03:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท