ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการทำกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี


" แค่ต่างสถานที่ ประสิทธิภาพก็เปลี่ยน "

งานวิจัยชิ้นนี้ดูถึงประสิทธิภาพของการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันในสถานที่ที่แตกต่างกัน โดยเราจะดูถึงการทำงานของระบบความคิดความเข้าใจและความจำในความสามารถในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

ขั้นตอนการทำ สังเกตการณ์ทำกิจกรรมของ ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี30คน โดยให้ทำกิจกรรม 2 กิจกรรม ในสถานที่ที่แตกต่างกัน 2 สถานที่ เราจะประเมินถึงทักษะในการทำงาน เวลาที่ใช้ในการทำงาน ความจำ และการมีเหตุและผล

ผลที่ได้พบว่า ผลจากการทำการทดลองพบว่า ผู้ใหญ่ที่ทำกิจกรรมในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย จะใช้เวลาในการทำกิจกรรมนานกว่า ผู้ใหญ่ที่ทำกิจกรรมในสถานที่ที่มีความคุ้นเคย ทำให้รู้ว่าสิ่งแวดล้อมก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน

ในทางสรุป เราพบว่าสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี จึงควรส่งเสริมการทำโปรแกรมการฟื้นฟูโดยทำกิจกรรมในสถานที่ที่ผู้รับบริการมีความคุ้นเคยดี

สิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางสมองคนหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าสามารถทำกิจวัตรประจำวันในบ้านที่เขามีความคุ้นเคยทำได้ดีกว่าในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย จึงมีการสำรวจจากผู้เข้าร่วมงานวิจัย โดยใช้เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี(เช่น ไม่ได้รับบาดเจ็บทางสมอง) ให้ทำกิจวัตรประจำวันที่บ้านและที่ที่ไม่คุ้นเคย โดยเราจะสังเกตความสามารถทั้งด้านการเคลื่อนไหวและกระบวนการ(ความสามารถด้านการรับรู้และเข้าใจขั้นตอนในการทำ)ในการทำกิจวัตรประจำวันในทั้งสองสถานที่ ความสามารถด้านการเคลื่อนไหวแสดงให้เห็นถึงทักษะการเคลื่อนไหวที่จำเป็นต้องใช้ในการทำกิจกรรม และสามารถทำได้ในทั้งสองสถานที่ ความสามารถทางด้านกระบวนการแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในระบบและการปรับรูปแบบการกระทำตลอดช่วงการทำกิจกรรมที่ได้รับผลกระทบมาจากการเลี่ยนสถานที่ที่ทำกิจกรรม ซึ่งเห็นได้ว่าผู้เข้าร่วมจะทำกิจกรรมที่บ้านได้ดีกว่าการทำกิจกรรมในที่ที่ไม่คุ้นเคย

ผู้เข้าร่วมงานวิจัยชิ้นล่าสุดนี้เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 82 ปี 8 เดือน โดยมีการกล่าวไว้ว่าอายุส่งผลต่อความยืดหยุ่นในประสิทธิภาพในการทำกิจกรรม(Van derElst, Van Boxtel, Van Breukelen, & Jolles, 2006) มันสำคัญต่อการดูว่าผู้สูงอายุที่มีการล้ม ในช่วงอายุนี้ จะสามารถปรับการทำกิจกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงสถานที่ได้อย่างไร

ผู้เข้าร่วมการทดสอบ เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 40 ถึง 75 ปี มีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีข้อใดข้อหนึ่งในต่อไปนี้

  • ไม่สามารถทำกาแฟด้วยเครื่องทำกาแฟได้
  • มีประวัติเคยได้รับบาดเจ็บทางสมอง
  • มีพยาธิสภาพทางระบบประสาท
  • บกพร่องทางการเคลื่อนไหวซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันและประสิทธิภาพในการทำงาน
  • มีพยาธิสภาพทางจิตใจ
  • ติดสารเสพติดหรือแอลกอฮอล์
  • ใช้ยาระงับประสาท
  • ไม่มีความรู้ในการใช้ภาษาดัตช์

วิธีการทดสอบ เราจะสังเกตโดยให้ผู้เข้าร่วมงานวิจัยทำกิจวัตรประจำวัน ชงกาแฟและเตรียมแซนวิซ โดยในครั้งแรกจะให้ผู้เข้าร่วมใช้เครื่องทำกาแฟและเตรียมแซนวิซที่ห้องครัวที่บ้านของผู้เข้าร่วมเอง และครั้งที่สองจะให้ผู้เข้าร่วมใช้เครื่องทำกาแฟและเตรียมแซนวิซในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ให้และไม่คุ้นเคยมาก่อน ซึ่งในสถานที่ที่เตรียมไว้ให้นี้มีเครื่องชงกาแฟที่ต่างไปจากที่บ้านของผู้เข้าร่วม แสดงให้เห็นว่าต้องใช้ทักษะความคิดความเข้าใจและการเคลื่อนไหวที่ต่างไปจากเดิม เหตุผลในการเลือกการชงกาแฟเนื่องจากการชงกาแฟต้องอาศัยทักษะทางการเคลื่อนไหวและทางกระบวนการที่มีความซับซ้อนตามการจำแนกในแบบประเมิน AMPS และเลือกการทำแซนวิซเนื่องจากต้องอาศัยทักษะทางการเคลื่อนไหวและการบวนการในระดับเดียวกันกับการชงกาแฟ ทำการทดสอบพร้อมจับเวลาในการทำและบันทึก พร้อมกับบันทึกลักษณะของผู้เข้าร่วมแต่ละคน และทำการทดสอบโดยใช้ Neuropsychological test เพื่อประเมินถึงการทำงานของความรู้ความเข้าใจ

ในงานวิจัยชิ้นนี้ ประเมินถึง 9 ทักษะกระบวนการดังต่อไปนี้

  • การมองหาวัสดุอุปกรณ์ที่จะต้องใช้
  • ความสามารถในการทำงานที่ตรงตามเป้าหมาย
  • ความสามารถในการหยิบจับ ถือ วัสดุอุปกรณ์อย่างเหมาะสม
  • การสังเกตและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
  • ความสามารถในการปรับพฤติกรรมในการแก้ไขปัญหา
  • ความสามารถในการคงประสิทธิภาพในการทำงาน
  • ความสามารถในการเริ่มต้นทำงาน
  • ความสามารถในการทำงานให้เสร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยเรทการให้คะแนน 1ถึง 4 (1 = ไม่มีทักษะกระบวนการอย่างรุนแรง 2= ไร้ประสิทธิภาพในการทำ 3 = มีปัญหาในการทักษะทางด้านกระบวนการ 4 = มีทักษะทางด้านกระบวนการดี และสามารถทำกิจกรรมได้ง่าย )

พบว่าสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อการชงกาแฟและเตรียมแซนวิซ ต้องใช้เวลาที่นานกว่าในสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย

ซึ่งผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการฟื้นฟูในคลินิกได้ โดยเป็นแหล่งอ้างอิงในการปรับการรักษาให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรประจำวันในชีวิตได้โดยการมีการปรับตัวทั้งในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคยได้อย่างเหมาะสม


Person

Environment

Occupational

Performance

ผู้สูงอายุที่ไม่มีประวัติการได้รับบาดเจ็บทางสมอง

สถานที่ไม่คุ้นเคย

ชงกาแฟ

เตรียมแซนวิช

ใช้เวลานานในการทำกิจกรรม , ประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมลดลง

สถานที่คุ้นเคย

ชงกาแฟ

เตรียมแซนวิช

ใช้เวลาในการทำกิจกรรมน้อย , สามารถทำกิจกรรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

Reference : Chantal A. Geusgens; Caroline M. van Heugten; Edith Hagedoren;Jelle Jolles; Wim J. van den Heuvel American Journal of Occupational Therapy, November/December 2010, Vol. 64, 935-940. doi:10.5014/ajot.2010.07171

หมายเลขบันทึก: 602424เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2016 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 03:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท