หนังสือเล่มเล็กพัฒนาทักษะกระบวนคิดทางคณิตศาสตร์


การนำเสนอผลงาน นวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)

ชื่อนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) หนังสือเล่มเล็กพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ชื่อผู้พัฒนา นางธนารักษ์ยืนยงโรงเรียน ชุมชนวัดราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1

โทรศัพท์ 02 7077076 โทรสาร02 7077076 โทรศัพท์มือถือ089 8126084 e-mail [email protected]

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

1) ความสำคัญของนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ

คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความจำเป็นต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์มากหลักสูตรการศึกษาระดับชาติจึงได้จัดให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาบังคับในกลุ่มวิชาทักษะที่ต้องใช้เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตโดยจัดให้เรียนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาในระดับประถมศึกษานั้นวิชาคณิตศาสตร์จัดเป็นวิชาพื้นฐานที่พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนมีความรู้มีทักษะสามารถคิดแก้ปัญหาเห็นคุณค่าของการเรียนรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้ระดับให้ความสนใจตลอดเวลาโดยเฉพาะผลที่จะเกิดกับผู้เรียนเป็นเหตุให้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการคิดคำนวณสามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆให้สามารถดำรงชีวิตให้มีคุณภาพโดยปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้คือ มีความรู้ความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐานและมีทักษะในการคิดการคำนวณรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และแสดงออกมาอย่างเป็นระบบชัดเจนรัดกุมรู้คุณค่าของคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์สามารถนำประสบการณ์ ความรู้ ความคิดและทักษะที่ได้จากการเรียนรู้คณิตศาสตร์ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน (กรมวิชาการ. 2545 : 18)ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ครูผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและทักษะอย่างแท้จริงโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

แต่ในปัจจุบันการที่นักเรียนไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์นั้นอาจเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ หลายสาเหตุด้วยกันแต่สาเหตุที่สำคัญสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ไม่บรรลุเป้าหมายคือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอน ที่ไม่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญครูบอกกฎเกณฑ์ของคณิตศาสตร์ในแต่ละบทให้นักเรียนจดจำโดยที่นักเรียนไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการคิดปฏิบัติและหาเหตุผลเพื่อสรุปเป็นกฎเกณฑ์ด้วยตนเองครูมักจะให้ตัวอย่างและให้ทำแบบฝึกหัดที่เหมือนกับตัวอย่างซึ่งเมื่อเด็กพบปัญหาที่พลิกแพลงจากที่ครูสอนนักเรียนจะคิดไม่ได้เพราะเรียนด้วยการจำและลอกเลียนแบบมากกว่าความเข้าใจจากการจัดการเรียนการสอนดังนั้นจากการปฏิรูปการศึกษาจึงได้มีการเสนอแนวคิดพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในว่าต้องการให้ผู้สอนเลือกใช้รูปแบบการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาและเหมาะสมกับผู้เรียนในการเรียนรู้เนื้อหาวิชาหนึ่ง ๆ อาจใช้รูปแบบการสอนหลาย ๆ รูปแบบผสมผสานกันเป็นกลุ่มเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมกันคิดร่วมกันแก้ปัญหาปรึกษาหารือ อภิปรายและแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยคำนึงถึงความรู้พื้นฐานของผู้เรียนก่อนเรียนรู้เนื้อหาใหม่และความแตกต่างระหว่างบุคคลจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญในการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในปัจจุบัน ครูไม่ได้จัด กิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพราะฉะนั้นครูต้องเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต้องเตรียมสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเช่น ใบงาน ใบความรู้ แบบฝึกหัดทักษะที่ส่งเสริมทักษะการคิดเกมแผนภูมิฯลฯ

จากแนวคิดดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยซึ่งเป็นผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1จึงคิดให้นักเรียนผลิตหนังสือเล่มเล็ก มาพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น

2) วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

1.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

2.เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6

3.เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

3) ขั้นตอนการดำเนินงาน

3.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 1 วางแผนโดยการวิเคราะห์หลักสูตร เตรียมเนื้อหาสาระการเรียนรู้ เตรียมสื่อ แหล่งเรียนรู้เขียนแผนการจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เตรียมกิจกรรมการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน

ขั้นตอนที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดได้ร่วมคิดร่วมทำ การได้ลงมือปฏิบัติจริง ให้สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนมีการใช้สื่อประกอบประกอบการสอนตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระ
ขั้นตอนที่ 3 มีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นการใช้กระบวนการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย วัดความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้โดยทำการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงอย่างต่อเนื่อง

ขั้นตอนที่ 4 มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

3.2 การสรุปความรู้โดยจัดทำหนังสือเล่มเล็ก

ขั้นตอนที่1เมื่อสอนเนื้อหาความรู้จบแต่ละหน่วยหรือหนึ่งภาคเรียนให้ผู้เรียนสรุปความรู้โดยเลือก
คนละ 1 หน่วยโดยจัดลำดับความสำคัญของเรื่องจากง่ายไปหายาก และสร้างตัวละครเป็นผู้กำหนดเรื่อง
ขั้นตอนที่2ลงมือเขียนตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดรายละเอียดไว้ให้สอดคล้องกับเรื่องหลังจากนั้นลองทบทวนดูเนื้อหาเหมาะสมกับหลักการและทฤษฎีจนครบทุกเรื่องที่วางแผนไว้
ขั้นตอนที่ 3เมื่อเขียนเสร็จแต่ละเรื่องควรอ่านและตรวจสอบเพื่อหาข้อผิดพลาดและแก้ไขปรับปรุงจนพอใจและดีที่สุด
ขั้นตอนที่ 4จัดทำรูปเล่ม เตรียมกระดาษตามขนาดของรูปเล่มที่ผู้เขียนกำหนดขึ้น แล้วลงมือวาดภาพประกอบในแต่ละหน้า ตามที่เขียนเรื่องไว้ โดยเรียงตามลำดับเหตุการณ์ของเรื่องจนจบเรื่อง จากนั้นเป็นขั้นตอนของการลงสี
ขั้นตอนที่ 5จัดทำส่วนประกอบของหนังสือ ดังนี้ ปก คำนำ สารบัญ คณะผู้จัดทำ ปกหลัง พร้อมกับเข้าเล่ม พร้อมกับนักเรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมิน ครูและผู้ปกครองประเมิน

4) ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ละมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

4.2 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหนังสือเล่มเล็กด้วยมือ

4.2 นักเรียนทุกคนทำงานอย่างตั้งใจนักเรียนได้คิดได้แสดงออกอย่างอิสระ

4.4. นักเรียนสามารถบวก ลบ คูณ หาร คล่องขึ้นนักเรียนคิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็น

4.5นักเรียนมีความสุขสนุกสนานในการทำหนังสือเล่มเล็กเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

4.6 นักเรียนได้แสดงศักยภาพในด้านภาษาด้านศิลปะทำให้เกิดคุณค่าคุณประโยชน์

4.7 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

5) ปัจจัยความสำเร็จ

5.1 นักเรียนมีการวางแผนที่ดี ให้ความร่วมมือในการสร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์

5.2 .ครูมีความตั้งใจจริง มุ่งมั่นขยันอดทน ไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรค รักและเข้าใจผู้เรียน

5.3โรงเรียนให้การส่งเสริม สนับสนุนทรัพยากรในสร้างสรรค์ผลงาน

5.4ผู้ปกครองให้การส่งเสริมสนับสนุน ให้ความรู้และกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน

6) บทเรียนที่ได้รับ

ข้อสรุป

6.1 ได้รับองค์ความรู้หลักการจัดทำหนังสือเล่มเล็กด้วยมือในวิชาคณิตศาสตร์

6.2 การมีส่วนร่วมในบทเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีมารยาท มีวินัย มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ น โดยผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้า กระบวนการ ฝึกปฏิบัติ กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ กระบวนการทางภาษา กระบวนการประชาธิปไตย และกระบวนการเขียน สามารถนำทุกกลุ่มสาระมาบูรณาการ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้กับผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ แต่ประการสำคัญที่สุด คือ ครูต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

6.3 หนังสือเล่มเล็ก คือ สื่อประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้แต่งได้แต่งหนังสือตามกรอบเรื่องที่ได้รับและจัดทำเป็นรูปเล่มสำเร็จ โดยมีความเหมาะสมของเนื้อหาภาษาที่ใช้ ขนาดตัวอักษร ภาพประกอบและความสวยงามน่าอ่านการทำหนังสือเล่มเล็ก เป็นการบูรณาการทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน ดู แล้วนำมาสร้างจินตนาการ ถ่ายทอดโดยการเขียน เราสามารถบูรณาการทุกกลุ่มสาระการทำหนังสือเล่มเล็กนอกจากจะครอบคลุมทุกกลุ่มสาระ ยังทำให้เกิดความเพลิดเพลิน เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้เกิดจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์อีกด้ว

ข้อสังเกตในการทำหนังสือเล่มเล็ก

ถ้าต้องการทำหนังสือเล่มเล็กๆ สักเล่ม ประเภทให้เป็นกระดาษขนาด A 5 พับครึ่งดังขั้นตอนต่อไปนี้

เปิดโปรแกรม Word แล้วเมนู “เค้าโครงหน้ากระดาษ” กำหนดหน้ากระดาษแบบแนวนอนกำหนด “ขนาด” กระดาษเป็น A5 หรือตามขนาดกระดาษที่จะใช้กับเครื่องพิมพ์ พิมพ์ไปตามลำดับขั้นตอนของการจัดทำหนังสือ

เล่มเล็ก

ข้อเสนอแนะและข้อควรระวังในการนำผลงานไปประยุกต์ใช้

จัดมุมแนะนำหนังสือเล่มเล็กที่นักเรียนสามารถหยิบอ่านได้อย่างสะดวกสอนให้นักเรียนรู้จักทะนุถนอมหนังสือเล่มเล็กสอนให้นักเรียนรู้จักจัดหนังสือเล่มเล็กให้เป็นระเบียบ

การพัฒนาหนังสือเล่มเล็กให้ประสบความสำเร็จ

พัฒนาหนังสือเล่มเล็กโดยให้นักเรียนได้จัดทำในรูปแบบที่กะทัดรัดน่าหยิบน่าอ่านบูรณาการหนังสือเล่มเล็กกับทุกวิชา สร้างสรรค์งานตามความต้องการของนักเรียนนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดทำ โดยให้นักเรียนเขียนเรื่องสรุปข้อคิดของนักเรียนให้นักเรียนได้ทำงานเป็นกระบวนการกลุ่มฝึกการคิดฝึกทักษะการทำงานให้นักเรียนนำไปคิดที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการช่วยคิดครูคอยชี้แนะช่วยเหลือให้ผลงานหนังสือเล่มเล็กของนักเรียนมีคุณภาพมีประโยชน์แก่ผู้อื่นได้อ่านได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป

7) การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
7.1เผยแพร่ผลงานหนังสือเล่มเล็กวิชาคณิตศาสตร์ในเว็บไซด์ของโรงเรียนชุมชนวัดราษฎร์บำรุงhttp://www.wrbr.ac.th/

7.2เผยแพร่ผลงานหนังสือเล่มเล็กวิชาคณิตศาสตร์ ใน Face book ครูคณิตศาสตร์ สมุทรปราการ เขต 1
7.3เผยแพร่ผลงานหนังสือเล่มเล็กวิชาคณิตศาสตร์ ในงาน งาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้งานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ในหัวข้อ "มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน" และ นวัตกรรม/งานวิจัย" ของ สพท.สมุทรปราการ เขต 1


…………………………

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 602383เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2016 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2016 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท