ทักษะและเทคนิควิธีการสอน


ทักษะและเทคนิควิธีการสอน

ทักษะและเทคนิควิธีการสอน

ทักษะและเทคนิคการสอน ความหมายคือความสามารถในการสอนอย่างมีประสิทธิภาพโดยสารถถ่ายทอดความรู้ต่างๆให้กับผู้เรียนได้ดี

เทคนิคการสอน หมายถึง กลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมกระบวนการสอนการสอนการแบ่งทักษะการสอนมี 18ทักษะด้วยกัน จะแบ่งเหลือ 9 ทักษะ

ความสำคัญของทักษะการสอน

1.ทักษะนับเป็นจุดมุ่งหมายหมวดหนึ่งของการศึกษาซึ่งจะต้องฝึกควบคู่กับความรู้

2.เป็นการส่งเสริมความชำนาญคล่องแคล่ว

3.ช่วยให้เกิดความมั่นใจในตนเองมากขึ้น

4.ช่วยไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการสอน

5.ช่วยให้งานสอนบรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

6.ช่วยให้การทำงานมีประสิมธิภาพและสามารถพัฒนางานสอนขึ้นไปอีก

7.ช่วยทำให้เกิดความชื่นชม ศรัทธาจากผู้เรียน

ทักษะการสอนพื้นฐาน หมายถึง ความสามารถในการสอน ซึ่งทักษะจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เองต้องฝึกฝน ผู้ที่เป็นครูควรได้มีการฝึกฝนเพื่อเป็นพื้นฐานในการสอนต่อไป เป็นที่เชื่อกันว่าการที่ครูจะมีความสารถในการใช้ทักษะให้ได้ผลนั้น

ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน

การนำเข้าสู่เรื่องที่จะเรียน เป็นขั้นการสอน หรือกิจกรรมที่จัขึ้น เพื่อเริ่มต้นทำการสอนเพื่อดึงความสนใจ ให้ผู้เรียนพร้อมที่จะติดตามบทเรียนต่อไป

จุดมุ่งหมาย

1.เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมในการที่จะเรียน

2.เพื่อโยงประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเข้ากับประสบการณ์ที่จะสอน

3.เพื่อจัดบรรยากาศของการเรียนให้เป็นที่น่าสนใจอยากเรียนรู้

4.เพื่อกำหนดขอบเขตของบทเรียนว่าจะเรียนอะไร

5.ผู้ให้ผู้เรียนรู้ความหมายรู้ความคิดรวบยอด

การใช้ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน

  1. ก่อนเริ่มบทเรียนที่จะสอน
  2. ก่อนเริ่มอธิบาย
  3. ก่อนเริ่ม ตั้งคำถาม
  4. ให้นักเรียนอธิบาย

เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน

1.ใช้อุปกรณ์การสอนเช่น รูปภาพ

2.ให้นักเรียนลองทำกิจกรรมบางอย่างที่สัมพันธ์กับบทเรียน

3.ใช้เรื่องเล่า นิทานหรือเหตุการณ์ต่างๆ

4.ตั้งปัญหา ทายปัญหาเพื่อเร้าความสนใจ

5.สนทนาซักถามถึงเรื่องต่างๆ

6.ทบทวนบทเรียนเดิมที่สัมพันธ์กับบทเรียนใหม่

7.แสดงละคร

8.ร้องเพลงซึ่งเป็นเพลงที่เกี่ยวข้อง

9.สาธิต ซึ่งอาจจะสาธิตโดยครู

10.ทำสิ่งที่แปลกไปจากเดิม

11.ให้นักเรียนฟังเสียงต่างๆ

ทักษะการใช้กิริยาวาจา ท่าทางในการสอน

การใช้วาจากิริยา ท่าทางในการสอน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของครูบุคลิกภาพของครูเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง รวมทั้งความสามารถในการสื่อความหมาย

เทคนิคการใช้วาจา กิริยา ท่าทางประกอบการสอนและบุคลิคภาพ

1.การเคลื่อนไหวแหละการเปลี่ยนอิริยาบถ ครูควรเดินด้วยท่าทางที่เหมาะสมสง่างามและดูเป็นธรรมชาติ

2.การใช้มือและแขน ใช้มือประกอบท่าทางในการสอน ซึ่งจะเป็นการดึงดูดความสนใจของนักเรียนเพราะนักเรียนสรใจดูสิ่งที่เคลื่อนไหวมากกว่าสิ่งที่นิ่ง

3.การแสดงออกด้วยสีหน้า สายตา เป็นส่วนกนึ่งที่ใช้สื่อความหมายกับผู้เรียน ผู้เรียนจะเข้าใจความรู้สึก สีหน้าของครูต้องล้อยตามสัมพันธ์กับความรู้สึกดังกล่าวด้วย

4.การทรงตัวและการวางท่าทาง ควรวางท่าทางให้เหมาะสมไม่เครียดเกินไป

5.การใช้น้ำเสียง ต้องใช้ภาษา “ร” ”ล”ต้องชัดเจน ควรพูดด้วยน้ำเสียงที่น่าฟังห้ามเสียงดังหรือตวาด

6.การแต่งกาย การแต่งกายนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญกับครูในการเสริมบุคลิกภาพดึงดูดความสนใจ ผู้สอนต้องแต่งกายให้เรียบร้อยตามสมัยนิยม โดยคำนึงถึงวัย รูปร่างและความเหมาะสม

ทักษะการอธิบาย จะเชื่อมโยงเรื่องที่จะสอนกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมการยกตัวอย่างประกอบการอธิบายเพื่อขยายสาระสำคัญได้ อาจทำได้ 2 ทาง คือ

1.แบบนิรนัย(Deductive System) คือการอธิบายโดยบอกกฎหรือหลักการ

2.แบบอุปนัย(Inductive System) คือเป็นการยกตัวอย่าง รายละเอียดย่อยๆ ซึ่งเข้าใจง่าย

เทคนิคการอธิบาย

1.เวลาที่ใช้ในการอธิบายไม่นานเกินควร

2.ภาษาที่ใช้ง่ายแก่การเข้าใจ

3.สื่อการสอน หรือตัวอย่างน่าสนใจ

4.ครอบครุมใจความสำคัญได้ครบถ้วน

5.การอธิบายเริ่มจากเรื่องที่เข้าใจง่ายไปหาเรื่องยาก

6.ท่าทางในการอธิบายน่าสนใจ

7.ใช้แนวความคิด

8.มีการสรุปผลการอธิบายด้วย

ทักษะการเร้าความสนใจ

การเร้าความสนใจสำคัญอย่างยิ่ง จะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนไม่เบื่อหน่าย เช่น การเล่านิทาน การดูวีดีโอคลิป เป็นต้น

เทคนิคการเร้าความสนใจ

1.การใช้สีหน้า ท่าทางประกอบการสอน เช่น การมอง ยิ้ม ส่ายหน้า โบกมือ ผงกศรีษะ ชี้ กวักมือ เป็นต้น

2.การใช้ถ้อยคำและน้ำเสียง ถ้อยคำที่ครูใช้และน้ำเสียงเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเรียน ควรมีการเน้นหนักเบาในคำพูด

3.การเคลื่อนไหวของครู ครูควรเปลี่ยนจุดนั่งและจุดยืนของตน

4.การเน้นจุดสำคัญของเรื่องและการเว้นระยะการพูดหรืออธิบายครูควรฝึกเน้นคำพูด สำเนียง จังหวะ

ทักษะการใช้คำถาม เวลาถามต้องถมอย่างมีจุดประสงค์ของการถาม ควรรู้ว่าคำถามมีหลายประเภท แต่ละประเภทใช้เพื่ออะไร

ประเภทคำถาม มีอยู่ 3 ประเภท

1.คำถามที่ใช้ความคิดพื้นฐาน เนคำถามง่ายๆไม่ต้องใช้คำถามลึกซึ้งอะไรมากนัก

2.คำถามเพื่อการคิดค้น เช่น ถามความเข้าใจ การนำไปใช้ การเปรียบเทียบ เหตุผล สรุปหลักการ

3.คำถามที่ขยายความคิด

3.1การคาดคะเน เป็นคำถามเชิงสมมุติฐาน คาดการณ์ ซึ่งคำตอบย่อมเป็นไปได้หลายทาง

3.2การวางแผน คำถามที่ผู้เสนอแนวคิด วางโครงการหรือเสนอแผนงานใหม่ๆ

3.3การวิจารณ์ เป็นคำถมที่ผู้ตอบพิจารณาเรื่องราว ชี้ข้อดีข้อเสีย

3.4การประเมินค่า คือ การนำมาเปรียบเทียบกัน

เทคนิคการใช้คำถาม

  1. ถามด้วยความมั่นใจ
  2. ถามอย่างกลมกลืน
  3. ถามโดยใช้ภาษาที่พูดเข้าใจง่าย
  4. ให้นักเรียนมีโอกาสตอบได้หลายคน
  5. การเลือกถาม บางครั้งครูควรเลือกถามเพื่อจุดประสงค์ของครู
  6. การเสริมกำลังใจ หรือให้ผลย้อนกลับ
  7. ใช้คำถามหลายๆประเภทในการสอนแต่ละครั้ง
  8. การใช้กิรกยา ท่าทาง เสียงในการประกอบการถาม
  9. การใช้คำถามรุกหมายถึง การใช้คำถามต่อเนื่อง

ทักษะการใช้อุปกรณ์การสอน

อุปกรณ์การสอนจะเป็นจุดรวมความสนใจ สามารถเพิ่มความเป็นรูปธรรม และความเป็นจริงต่อการเรียนรู้ได้มากขึ้น

ประโยชน์ของอุปกรณ์การสอน

  1. กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดควมสนใจ
  2. ให้โอกาสผู้เรียนได้มีส่วนร่วม
  3. ทำให้ผู้เรียนเกิดแนวคิด
  4. ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการศึกษา
  5. ทำให้ผู้เรียนามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้แม่นยำ
  6. ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์เดิมของผู้เรียน

เทคนิคการใช้อุปกรณ์การสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ใช้อย่างคล่องแคล่ว
  2. แสดงอุปกรณ์ให้เห็นได้ชัดทั่วห้อง
  3. ควรหาที่ตั้ง วาง แขวนอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่
  4. ควรใช้ไม้ยาว ชี้แผนภูมิ แผนที่ กระดารดำ
  5. ควรนำอุปกรณ์มาวางเรียงกันไว้เป็นลำดับ
  6. ควรใช้เครื่องมือประกอบการใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสม
  7. ควรมีการเตรียมผู้เรียนล่วงหน้าก่อนการใช้อุปกรณ์
  8. พยายามเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรม
  9. ควรใช้อุปกรณ์ให้คุ้มค่ากับที่ได้เตรียมมา
  10. ควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์บางชนิด

ทักษะและเทคนิคการใช้กระดานดำ

  1. ครูควรทำความสะอาดกระดานดำทุกครั้งที่สอน
  2. ในการเขียนกระดานดำควรแบ่งครึ่ง แบ่งเป็น 3 ส่วน
  3. ในการเขียนกระดานดำควรเขียนจากซ้ายมือไปขวามือ
  4. หัวข้อเรื่องควรเขียนไว้ตรงกลางกระดานดำ
  5. ขณะเขียนต้องยนห่างกระดานดำพอประมาณ แขนเหยียดตรง ควรทำมุมประมาณ 45 องศา
  6. ในการเขียนตัวหนังสือ ต้องให้เป็นเป็นเส้นตรงไม่คดเคี้ยว
  7. ถ้าต้องการอธิบายข้อความบนกระดานไม่ควรยืนบัง
  8. ถ้ามีข้อความสำคัญควรใช้ชอล์กขีดเส้นใต้
  9. ควรใช้ชอล์กสีเมื่อต้องการเน้นข้อความ
  10. เขียนคำตอบลงนกระดานเพื่อเป็นการเสริมกำลังใจ
  11. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเขียนกระดานดำ
  12. ถ้าจะขึ้นเรื่องใหม่ควรลบของเก่าให้หมดเสียก่อน
  13. การลบกระดานต้องลบจากบนลงล่าง

ทักษะการเสริมกำลัง หมายถึง การให้กำลลังใจผู้เรียน เช่น การให้คำชมเชย หรือแสดงพฤติกรรมที่ปรารถนาดีแก้ผู้เรียน

ประเภทของการเสริมกำลังใจ

  1. การเสริมกำลังใจที่เกิดจากภายใน
  2. การเสริมกำลังใจภายนอก
  3. การเสริมกำลังใจโดยให้นักเรียนมีสวนร่วมในการชมเชย

เทคนิคการเสริมกำลังใจ

  1. เสริมกำลังใจในจังหวะที่เหมาะสม
  2. เสริมกำลังใจย้อนหลัง
  3. ไม่พูดเกินความจริง
  4. ไม่ใช้คำพูดที่จำกัดในวงแคบใช้วิธีเสริมกำลังใจหลายวิธีห้ามใช้ซ้ำๆ
  5. ไม่ควรเสริมกำลังใจบางประเภทบ่อยเกินไป
  6. ใช้วิธีเสริมกำลังใจต่างๆกันและในโอกาสต่างๆกัน
  7. การเสริมกำลังใจควรเป็นไปในทางบวกหรือลบ
  8. เสริมกำลังใจโดยใช้คำพูดให้เหมาะสมกับวัย
  9. การเสริมกำลังใจไม่ควรมาจากครูอย่างเดียวควรมาจากสิ่งแวดล้อมเช่นปรบมือ
  10. หาวิธีเสริมกำลังใจให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน

ทักษะการสรุปบทเรียน

รูปแบบของการสรุปบทเรียน มี 2 รูปแบบ คื อ

  1. การสรุปด้านเนื้อหาสาระ คือ การเชื่อมโยงความรู้ หรือเนื้อหาสาระที่สำคัญเข้าด้วยกัน
  2. การสรุปด้านความคิดเห็น คือ การทำให้เห็นแนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนว่าได้เรียนรู้และเกิดแนวคิดอะไร เพื่อได้เป็นแนวทางการค้นคว้าต่อไป

เทคนิคการสรุปบทเรียน มีดังนี้

  1. สรุปโดยการอธิบายสั้นๆ ชัดเจน ทบทวนสาระสำคัญที่เรียนมา
  2. สรุปโดยใช้อุปกรณ์ หรือรูปภาพประกอบ
  3. สรุปโดยการสนทนาซักถาม
  4. สรุปโดยการสร้างสถานการณ์
  5. สรุปโดยนิทาน หรือการยกสุภาษิต
  6. สรุปโดยการปฏิบัติ เช่น การให้สังเกต การสาธิต เป็นต้น
คำสำคัญ (Tags): #เทคนิคการสอน
หมายเลขบันทึก: 602112เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท