บทบาทของธนคารกลางต่อวิกฤตอุทกภัยในไทย


วิกฤติอุทกภัยที่ไทยเผชิญอยู่ในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในวงกว้างอย่างไม่สามารถประเมินค่าได้ และหลายฝ่ายต่างวิตกกังวลกับเงินทุนที่จะนำมาใช้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังน้ำลด และมาตรการหนึ่งที่สาธารณชนคิดถึงเป็นลำดับต้นๆ คือ การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ภาคธุรกิจ(Soft Loan) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ผ่านธนาคารพาณิชย์ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากมาตรการดังกล่าวสามารถจับต้องได้อย่างชัดเจนและอยู่คู่กับสังคมไทยยาวนานถึง 55 ปี และเพิ่งยุติบทบาท1ได้เพียงครึ่งปี (พฤษภาคม 2554) นี้ ประกอบกับตั้งแต่ปี 2548 มาตรการนี้มีบทบาทในการให้ช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ประสบกับปัญหาที่หลากหลาย เช่นไข้หวัดนก สึนามิ ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงธุรกิจ SMEs ที่ประสบกับปัญหาค่าเงินบาทแข็ง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม มาตรการ Soft Loan ของธนาคารกลางเช่นนี้เป็นประเด็นที่มีการโต้เถียงในกลุ่มนักวิชาการในระดับสากล และธนาคารกลางในประเทศพัฒนาแล้วจะพยายามหลีกเลี่ยงที่จะดำเนินมาตรการลักษณะนี้ ดังนั้น FAQ ฉบับนี้ จึงพยายามสร้างความกระจ่างว่า “การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ภาคธุรกิจของธนาคารกลางมีข้อจำกัดอย่างไร” และหากไม่ใช้มาตรการนี้ “ธนาคารกลางจะมีช่องทางในการให้ความช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจในช่วงวิกฤติอย่างไร” ผ่านประสบการณ์ของธนาคารกลางในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา จากนั้นจึงนำมาสู่การวิเคราะห์แนวทางการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป

การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ภาคธุรกิจของธนาคารกลางมีข้อจำกัดอย่างไร?

ในการดำเนินการ กรณี ธปท.ในอดีตจะให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ภาคธุรกิจผ่านธนาคารพาณิชย์โดยมีตั๋วสัญญาใช้เงิน (ตั๋วฯ) ของผู้ประกอบการเป็นหลักประกัน โดย ธปท.ให้แรงจูงใจ (Incentive) กับธนาคารพาณิชย์ด้วยการกำหนดสัดส่วนการให้สินเชื่อระหว่าง ธปท.และธนาคารพาณิชย์และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์และภาคธุรกิจควรได้รับที่จะให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและธนาคารพาณิชย์ยังสามารถสร้างทัศนคติที่ดีต่อลูกค้าอีกทางหนึ่งด้วย

ธนาคารกลางมีช่องทางในการให้ความช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจในช่วงวิกฤติอย่างเหมาะสมได้อย่างไร?

จากประสบการณ์ธนาคารกลางอื่นในส่วนที่2 พบว่า ช่องทางในการให้ความช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจในช่วงวิกฤติสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ

(1) นโยบายการเงิน ได้แก่การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยแบบผ่อนคลาย เพื่อสร้างแรงกดดันให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจลดลงในที่สุด

(2) นโยบายตลาดเงิน ควรอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบการเงินเพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอต่ออุปสงค์ของภาคธุรกิจ และถ้าหากหลักประกันในตลาดการเงินไม่เพียงพอ อาจต้องพิจารณาขยายฐานหลักประกันที่ธนาคารพาณิชย์สามารถนำมาวางค้ำประกันที่ธนาคารกลางได้ เพื่อสามารถอำนวยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจอย่างเต็มที่ (คล้าย BOJ)

(3) นโยบายสถาบันการเงิน โดยผ่อนผันเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินเพื่อเอื้อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อสู่ภาคธุรกิจได้มากขึ้น(คล้ายธนาคารกลางฟิลิปปินส์)

คำสำคัญ (Tags): #ธนาคารกลาง
หมายเลขบันทึก: 602103เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท