การดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย


วิกฤติทางด้านเศรษฐกิจในประเทศไทยซึ่งรู้จักกันในชื่อ “วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง”

ส่วนหนึ่งของปัญหาเกิดมาจากหลายส่วนทั้งในตลาดเงินทุน ตลาดหุ้น ตลาดสินค้าและบริการ

ปัญหาคือการเข้าสู่แนวคิด Globalization ที่รวดเร็วและขาดพื้นฐานที่ดี พยายามเปลี่ยนรากฐานของประเทศจากเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมโดยขาดการวางแผนและการเตรียมความพร้อมที่ดีนำไปสู่กับดักของทุนนิยมในที่สุด ทั้งนี้เรื่องใช้เงินเพื่อพยุงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งเกินไป ทำให้วิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งเป็นฟองสบู่ของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดมาจากปัญหาด้านอุปสงค์และอุปทานในตลาดสินค้าและตลาดหุ้นพร้อมกันช่วยกันผลักดันให้ระดับราคาของสินค้าทั้งระบบสูงขึ้น จนเกิดฟองสบู่ก็ได้แตกในปี พ.ศ.2540 เงินทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศทยอยนำเงินออกนอกประเทศ เมื่อมีเงินออกนอกประเทศมากผลักดันให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างมาก จึงพยายามรักษาระดับโดยใช้เงินเข้าอุดเพื่อพยุงไว้แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถต้านทานกฎของอุปสงค์และอุปทานของเงินทุนได้ ท้ายสุดแล้วทำให้ประเทศไทยต้องทำการกู้เงินจาก IMF เป็นครั้งที่ 5 หลังจากกู้มาแล้วในปี พ.ศ. 2521, 2524, 2525, และ 2528 โดยในครั้งนี้ได้กู้จำนวน 5.1 แสนล้านบาท โดยแลกกับเงื่อนไขมากมายที่รัฐบาล ธนาคารกลาง ภาคเอกชนต้องยอมทำตาม อย่างไรก็ตามเงินที่กู้มานี้ ส่วนใหญ่จะหมดไปกับการเติมเงินทุนสำรองที่เสียไปจากการพยุงค่าเงินบาท ไม่ได้ใช้เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยตรง

จากปัญหาต้มยำกุ้งในครั้งนั้นมีปัจจัยอื่นมากมายทำให้ทิศทางการแก้ไขไม่เป็นไปตามที่กราฟและทฤษฏีว่าไว้

จนทำให้เกิดเป็นปัญหาการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลรวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย

คำสำคัญ (Tags): #ต้มยำกุ้ง
หมายเลขบันทึก: 602087เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท